การกลับมาของ "แถบเมฆ" บนดาวพฤหัสบดี

การกลับมาของ "แถบเมฆ" บนดาวพฤหัสบดี
 
ภาพถ่ายในย่านอินฟราเรด แสดงให้เห็นการกลับมาของแถบเมฆบนดาวพฤหัส (บีบีซีนิวส์)




สดร.- นัก ดาราศาสตร์พบสัญญาณการกลับมาของ “แถบเมฆ” บนดาวพฤหัสบดี จากปกติใต้เส้นศูนย์สูตรเป็นแถบเมฆสีน้ำตาลแดง กลายเป็นจุดสว่างขาว และเป็นเหตุการณ์น่าตื่นเต้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี

เป็นครั้งที่สองในรอบปีนี้ ที่มีเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นปรากฏขึ้นบนดาวพฤหัสบดี โดยล่าสุด คริสโตเฟอร์ โก (Christopher Go) นักถ่ายภาพดาวเคราะห์จากประเทศฟิลิปปินส์ ได้พบจุดสว่างขาวปรากฏขึ้นที่บริเวณสีอ่อนๆ (pale zone) ทางตอนใต้เส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี ซึ่งปกติบริเวณนี้เป็นแถบเมฆสีน้ำตาลแดง (South Equatorial Belt)

นักสังเกตการณ์ดาวเคราะห์เกือบทั้งหมดต่างมีความเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับแถบเมฆที่หายไปจากดาวพฤหัสในปี พ.ศ.2553 นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 21 แต่เหตุการณ์ก็คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้ง 12 ครั้งในศตวรรษที่ 20 การหายไปของแถบเมฆใต้เส้นศูนย์สูตรในปีนี้เป็นไปตามการทำนายของ เอลเมอร์ รีส (Elmer Reese) เมื่อราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

ดอน พาร์กเกอร์ (Don Parker) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีจาก คอรัล กาเบิลส์ (Coral Gables) รัฐฟลอริดา ซึ่งได้รับแจ้งข้อมูลจากโก เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเมื่อรุ่งเช้า กล่าวว่าระหว่างที่เขากำลังปรับความคมชัดให้กับกล้องโทรทรรศน์ของเขาเองอยู่ นั้น ผมก็ทราบทันทีว่า โกรายงานถูกต้อง เพราะได้ปรากฏจุดสว่างประมาณดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี แต่ดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งอยู่ใกล้สุดได้เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวเคราะห์ไปแล้วราวหนึ่งชั่วโมง”

แอมี ไซมอน -มิลเลอร์ (Amy Simon-Miller) ผู้เชี่ยวชาญด้านชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ให้ข้อสังเกตว่า สิ่งที่พบนี้คือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้เห็นแถบเมฆใต้เส้นศูนย์สูตรของ ดาวพฤหัสบดีกลับมาอีกครั้ง

“การรบกวนถูกสร้างขึ้นจากระดับที่ค่อนข้างลึกลงไปยังดาวพฤหัสบดี และมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบมีเทนที่ลอยสูงจากระดับพื้น จุดที่เกิดขึ้นในแถบมีเทนมีความสว่างมากและมองเห็นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นบนเมฆระดับสูง (สว่าง) หรือต่ำ (มืด) ในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี โดยมีเทนที่สว่างจะลอยอยู่ชั้นบนและอยู่สูงกว่า ส่วนแถบมีเทนจะปรากฏมืดกว่า” ไซมอน-มิลเลอร์กล่าว

จุดที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ที่ลองจิจูด 290 องศา ใน System II (หรือ 150 องศา System III) และมองเห็นได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 11 พ.ย ที่ผ่านมา เวลา 12.28 น. ตามเวลาประเทศไทย นักดาราศาสตร์เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วัน โดยอาศัยข้อมูลจากการสังเกตครั้งก่อน โดยจุดสว่างขาวอาจจะกลับมืดกว่าบริเวณโดยรอบ แล้วกระจายออกไปตามแนวของแถบเมฆทางใต้เส้นศูนย์สูตร ส่วนจุดอื่นๆ ก็จะกระจายไปยังตำแหน่งต่างๆ ในที่สุดสสารที่มืดกว่าก็จะก่อตัวกลายเป็นเข็มขัดกลับมาดังเดิม

การสำรวจอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ย.53 พบว่าจุดขาวนั้นมีการขยายตัวขึ้นปรากฏเป็นแถบสีน้ำเงินแผ่ขยายในแนวนอนตาม ทิศทางลมของแถบเมฆทางตอนใต้ นักสำรวจต่างร่วมลุ้นให้แถบเมฆดังกล่าวกลับมาอีกครั้ง จุดขาวอื่นๆ อาจมีการก่อตัวขึ้นในวันข้างหน้า ส่วนจุดขาวที่กล่าวถึงในปัจจุบัน จะผ่านเมอริเดียนตรงกลางดาวพฤหัส หลังจุดแดงใหญ่ผ่านจุดนั้นไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น ภาพเปรียบเทียบดาวพฤหัสเมื่อปี 2009 (ซ้าย) และ ปี 2010 (ขวา) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจน (บีบีซีนิวส์)
ภาพถ่ายจุดสว่างขาวที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณแถบเข็มขัดใต้เส้นศูนย์สูตรดาวพฤหัสบดี โดยคริสโตเฟอร์ โก เมื่อวันที่ 9 พ.ย.53
ภาพถ่ายจุดสว่างขาวที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณแถบเข็มขัดใต้เส้นศูนย์สูตรดาวพฤหัสบดี โดยคริสโตเฟอร์ โก เมื่อวันที่ 12 พ.ย.53
ภาพถ่ายล่าสุดวันที่ 16 พ.ย.53 เวลา 20.26น.ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ซ.ม.โดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2553 09:51 น.
Credit: http://www.palungjit.com/
#ผี #ประหลาด #อวกาศ
jomhayabua
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
4 ธ.ค. 53 เวลา 12:47 1,773 7 58
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...