หนาวนี้เที่ยวไหนดี แนะนําที่นี่เลยครับ


สถานที่แห่งนั้นก็ไม่ใช่ที่ไหนเลย  คือแม่ฮ่องสอนนั่นเอง

ซึ่งท่านที่มาเที่ยวอาจจะได้ผ่าน  อ.ปาย   ด้วยครับ    อากาศดี   ธรรมชาติ   ชอบผจญภัยก็แนะนำให้มาเที่ยวครับ



 

 



น้ำตกผาเสื่อ วันที่น้ำน้อย








ออก จากน้ำตกผาเสื่อเราก็ออกไปทางเดิมที่เรามาเช้านี้ ก่อนจะถึงถนนใหญ่หรือใกล้กับอ่างเก็บน้ำที่สร้างใหม่ จะมีป้ายบอกว่า "ภูโคลน คันทรี คลับ" เราเลี้ยวซ้ายเข้าไปไม่กี่ร้อยเมตร ก็ถึงที่ตั้งสำนักงาน... ว่ากันว่าภูโคลนแบบนี้ มีในโลกแค่ 3 ที่เท่านั้นเอง และ 1 ใน 3 ก็คือภูโลนคันทีคลับนี่แหละ

ภูโคลน คันทรี่ คลับ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านแม่สะงา ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร


ภูโคลน หรือ ภูโคลน คันทรี คลับ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของสถานที่ท่องเที่ยวและการให้บริการด้าน สุขภาพ และความงามด้วยโคลนและน้ำแร่ธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนได้รับการ ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยบรรจุไว้ในโครงการ UNSEEN IN THAILAND และSPA IN PARADISE สุดยอด 1 ใน 50 สปาในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามของเมืองไทย ที่มีการบำบัดเพื่อสุขภาพและความงาม ท่ามกลางบรรยากาศที่งดงาม






 



พอกหน้าด้วยโคลนธรรมชาติ









ภูโคลน เป็นแหล่งน้ำแร่และโคลนธรรมชาติที่มาจากสายน้ำแร่ใต้พื้นดิน ที่มีความร้อนตั้งแต่ 60 - 140 องศาเซลเซียสเป็นโคลนเดือด บริสุทธิ์สีดำ ที่ขึ้นมาพร้อมกับน้ำแร่ธรรมชาติที่สะอาดและไม่มีกลิ่นของกำมะถัน ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์กับผิวหนังและระบบไหลเวียนโลหิตของ มนุษย์เราซึ่งมีเพียงแค่ 3 แห่งในโลกคือ

1. แหล่งโคลนจากทะเลสาบ DEAD SEA ในประเทศอิสราเอลและจอร์แดน เป็นโคลนจากทะเลน้ำเค็ม เกิดจากการละลายตัวของหิมะบนเทือกเขาสูงในประเทศซีเรีย และจอร์แดนได้พาเอาดินโคลนบริสุทธิ์จากเทือกเขาไหลลงมารวมกันที่ทะเลเดดซี สะสมมานานนับพันๆปี

2. แห่งที่สองอยู่ในประเทศโรมาเนียเป็นแหล่งโคลนจากลาวาภูเขาไฟหรือโคลนจากภูเขาไฟ

3. แหล่งโคลนบ่อน้ำพุร้อนที่โป่งเดือดแม่สะงา หรือ ภูโคลน จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย





 



แช่เท้าด้วยน้ำแร่








แหล่ง โคลนบ่อน้ำพุร้อนที่โป่งเดือดแม่สะงา หรือ ภูโคลน จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย เกิดในบริเวณที่มีแหล่งความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Gradients) และมีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แม่ฮ่องสอน, ทำให้น้ำที่อยู่ใต้ดินเคลื่อนที่ขึ้นสู่ผิวดิน ประกอบกับมีแรงดัน และอุณหภูมิที่สูง จึงสามารถละลายเอาแร่ธาตุจากชั้นหินขึ้นมาพร้อมกับน้ำและดินโคลน

แร่ธาตุ หลักที่ถูกค้นพบจากโคลนธรรมชาติ ภูโคลน

- แคลเซียม (CALSIUM) ช่วยปรับสภาพความสมดุลของผิวไม่ให้เกิดความแห้งกร้าน
- โบรไมน์ (BROMINE) สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ระคายเคืองผิว
- คลอไรน์ (CHLORIDE) สามารถทำความสะอาดผิวได้ลึกถึงรูขุมขน
- โปรแตสเซียม (POTASSIUM) ช่วยบำรุงและควบคุมความชุ่มชื้นของเซลล์ผิว
- แมกนีเซียม (MAGNESIUM) สร้างและซ่อมแซมเซลส์ผิวที่เสื่อมสภาพไป
- โซเดียม (SODIUM) สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา. TLCThai.com






 



นี่ไงบ่อโคลนธรรมชาติ








 



ตักมาให้เห็นชัดๆ








 



ข้อมูล







ออก จากภูโคลน โดยไม่มีใครในกลุ่มพอกหน้ากัน (คงกลัวเครื่องสำอางค์หลุด..มั๊ง) เราก็เข้าเมืองเพื่อหาอะไรทานกัน โดยมื้อนี้น่าจะหาอาหารพื้นเมืองทาน.......

ก็มีร้านหนึ่งเกือบจะถึงประตูเมือง ทางออกไปขุนยวม หรืออยู่ตรงข้ามกับโรงแรม เม๊าท์เท่น อินน์ ที่ทำหลังคาแบบศิลปไทยใหญ่ ชื่อร้านบ้านเพลง ซึ่ง วันนั้นเห็นคนนั่งกันเยอะ เราเลยเลือกเอาที่นี่ ส่วนอาหารก็เป็นแบบพื้นเมืองแท้ๆ โดยเพิ่มพิเศษมาอย่างหนึ่งคือ กบภูเขาทอดกระเทียมพริกไทยที่เราไม่ได้ทานกันที่แม่สะเรียง....แต่ที่ร้าน นี้ทอดทั้งหนังด้วย รถชาดยังใช้ได้เหมือนเดิม





 



ร้านอาหารพื้นเมือง








 



ทานมือเที่ยงด้วยอาหารพื้นเมือง







หลัง มื้อเที่ยงแบบสบายๆ อาหารหลายอย่าง แต่ราคาก็ธรรมดา ร้านนี้เขามีสาขาที่ปายด้วย ถ้าสนใจเรื่องที่พักก็คุยกะเขาได้ครับ..... เราออกจากร้านบ้านเพลงออกไปทางบ้านห้วยเดื่อ เพื่อไปลงเรือหางยาวล่องตามแม่น้ำปายออกไปทางพม่า หรือไปทางบ้านน้ำเพียงดิน กันที่นั่น....




 



ล่องเรือหางยาว ลำใหญ่ๆแบบนี้ ที่ท่าเรือบ้านห้วยเดื่อ








เมื่อ เราไปซื้อตั๋วเรือ เจ้าหน้าที่บอกว่า จะไปส่งแค่หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาวเท่านั้น โดยคิดค่าเรือลำละ 600 บาท ไป-กลับ โดยบอกว่าถ้าจะไปถึงบ้านน้ำเพียงดินก็เพิ่มอีก 200 บาท แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าที่นั่นไม่มีอะไร มีแต่ป้อมเจ้าหน้าที่ เราเลยออกเสียงเป็นเอกฉันท์ว่า .... ไม่ไป เอาแค่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว






 



แม่น้ำปาย....และธรรมชาติ








แม่ น้ำปายไม่ลึกนัก เห็นไกด์บอกนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งว่าประมาณแค่เอวเอง แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็เตรียมชุดชูชีพไว้ให้นักท่องเที่ยวอย่างพอเพียง เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ.... จขบ. เคยไปลงเรือที่บ้านนากะสัง เพื่อไปเกาะดอนคอนในแม่น้ำโขงในประเทศลาว โดยไม่มีชูชีพ กว่าจะถึงที่ต้องทรมานแทบแย่ เพราะกลัว แต่ไปคราวหลังนี้เขามีให้แล้วนะ...

ว่า ถึงเรื่องความปลอดภัย เราต้องฝึกคนใกล้ชิดเราให้เป็นนิสัย เช่นใส่ชูชีพเมื่อลงเรือ รัดเข็มขัดนิลภัยเมื่อขับรถ สิ่งเรานี้ต้องทำให้เกิดความเคยชินจนเป็นนิสัยให้ได้ครับ ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อใด.






 



เรือล่องน้ำปาย









การ เดินทางใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่เป็นช่วงเวลาที่สุดยอดมากๆ ได้เห็นทิวเขา ป่าไม้ และกระทบละอองน้ำเย็นๆ ตลอดจนเวลาเรือแล่นผ่านกัน นักท่องเที่ยวจะโบกมือทักทายกันอย่างสนุกสนาน ราวกับว่ารู้จักมักคุ้นกันมานานปี..... ที่หัวเรือจะมีเจ้าหน้าที่เรืออีกคน คอยให้สัญญาณว่ามีเรือกำลังจะผ่านมา ให้เบาเครื่องลง เพื่อลดอันตรายจากคลื่น...

ประมาณ 20 นาทีต่อมาเราก็ถึงบ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่ชื่อ "บ้านห้วยปูแกง" ที่อยู่ทางขวามือ ขาไป แม่น้ำปายนี้จะไหลจากไทยไปที่พม่า ทางด้านตะวันตกของแม่ฮ่องสอน





 



หมู่บ้านห้วยปูแกง







กระเหรี่ยงคอยาว หรือ ปาค่อง

เป็น ชนเผ่าที่อพยพมาจากป่าลึกในเขตประเทศพม่า จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ได้อาศัยอยู่ในเขตแม่ฮ่องสอนมาตั้งแต่ปี 2528 ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตผู้อพยพ 3 หมู่บ้าน คือ บ้านปูแกง บ้านห้วยเสือเฒ่า และบ้านในสอย

คำว่า กระเหรี่ยง หรือ คาเรน [Karen] เป็นกลุ่นชนเผ่ากลุ่มใหญ่ในเขตพม่า และยังสามารถจำแนกออกเป็นสายพันธุ์ย่อยกว่า 10 กลุ่ม

กระ เหรี่ยงคอยาว หรือ ปาด่อง เป็นสายพันธุ์ย่อย ในกลุ่มชนชาวกระเหรี่ยง มีภาษา การดำรงชีวิตและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รวมทั้งตำนานและประวัติเรื่องการใส่ห่วงคอ

มี เรื่องเล่ากันมาแต่โบราณของบรรพบุรุษชาวปาดอง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" ถึงสาเหตุที่ต้องสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้ที่คอว่า ในอดีตกาลภูตผีและวิญญาณสัตว์ร้าย เกิดความไม่พอใจพวกปาดอง จึงได้ส่งเสือร้ายมากัดกินผู้หญิง บรรพบุรุษของชาวปาดองเกรงว่าผู้หญิงจะตายไปจนสูญพันธุ์หมด จึงแก้ปัญหาด้วยการให้ผู้หญิงใส่เกราะทองเหลืองไว้ที่คอเพื่อป้องกันไม่ให้ เสือมากัดกิน






 



คุยกับคนนี้ก่อน








การดำเนินชีวิตของชาวปาดองเป็น กลุ่มชนที่รักสงบและค่อนข้างทำงานหนัก ชีวิตความเป็นอยู่เมื่อเทียบกับกะเหรี่ยงในประเทศไทยแล้ว มีความคล้ายคลึงกันมาก งานหลักคือการปลูกข้าวในนาแบบขั้นบันได นอกจากนี้ ชาวบ้านปาดองยังนิยมเลี้ยงหมู ไก่และวัว บ้านของชาวปะดองจะทำด้วยไม้สัก มุงหลังคาด้วยแฝกยกพื้นสูง บริเวณที่อยู่อาศัยในบ้านจะมีที่ตั้งเตาไฟเหมือนบ้านของกะเหรี่ยงสะกอ มีเสื่อสำหรับปูที่นอน ลักษณะของบ้านเมื่อมองจากภายนอกจะเหมือนกับบ้านของกะเหรี่ยงทั่วไป

การ ดำรงชีวิตทั่วไปก็จะคล้ายกับกลุ่มชนบนภูเขา จะแตกต่างกันเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวเท่า นั้น ซึ่งจะมีระเบียบแบบแผนและใช้เวลาพอสมควร ก็คือ ชายหนุ่มจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก่อนและจากนั้น ต้องส่งแม่สื่อไปขความเห็นชอบจากสมาชิกที่เหลือในครอบครัวฝ่ายหญิง





 



กระติ๊บข้าว








การ แต่งกายของชาวปาดองดูจะเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงาม ผู้ชายปาดองจะสวมกางเกงขายาว เสื้อตัวสั้นมีผ้าสำหรับโพกศีรษะ ส่วนผู้หญิงจะแต่งกายด้วยเสื้อสีขาวมีแขนในตัวยาวลงมาถึงสะโพก แล้วสวมเสื้อแขนยาวสีดำทับอีกที ส่วนกระโปรงเป็นสีดำจะพับทบกันด้านหน้ายาวถึงหัวเข่า ผมรวบเกล้ามวยปักปิ่นเงินหรือไม้ยาวๆ หรือใช้หวีเงินอันใหญ่สับไว้แล้วรัดด้วยผ้าสี จุดเด่นที่สุดอยู่ที่การใส่ห่วงทองเหลือง

การใส่ห่วงทองเหลืองของปา ดองจะเริ่มใส่ตั้งแต่อายุได้ 5-9 ปี โดยผู้ที่เป็นหมอผีประจำหมู่บ้านจะเป็นคนใส่ให้ ก่อนใส่จะต้องมีการเสี่ยงทายโดยการใช้กระดูกไก่ทำนายหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด แต่เดิมผู้ที่จะสวมห่วงทองเหลือง จะต้องเป็นผู้หญิงที่เกิดวันตรงกับวันเพ็ญเท่านั้น และต้องเป็นผู้หญิงที่ไม่มีเชื้อผสมจากเผ่าอื่น ถ้าไม่ยอมสวมห่วงคอก็จะถูกขับไล่ออกจากเผ่าทันที แต่ต่อมาไม่ว่าจะเกิดวันไหนก็จะนิยมใส่ห่วงคอกันหมด

ห่วงที่ใช้สวมคอ แต่เดิมทำมาจากทองคำแท้ แต่ปัจจุบันใช้ทองเหลืองที่นำมาจากเมืองเบลอง ประเทศพม่า ขายเป็นเส้นคิดราคาเป็นกรัม น้ำหนักเมื่อเริ่มสวมครั้งแรกประมาณ 2 กิโลกรัม ถ้าใส่กันเต็มที่จะตกคนละประมาณ 13 - 15 กิโลกรัม ถ้าคิดเป็นเงินแล้วตกประมาณ 6,000 บาทต่อคน






 



กำลังทอผ้า





ผู้หญิง ปาดองจะถอดห่วงคอตามโอกาสต่างๆปีละครั้งทุกปี เพื่อเปลี่ยนขนาดโดยเพิ่มความยาวของขดทองเหลือง บางแห่งก็ว่าการถอดห่วงเพื่อเปลี่ยนขนาดจะทำทุกๆ 4 ปี ในช่วงชีวิตของปาดองนั้นจะเปลี่ยนขนาดทั้งหมดกัน 9 ครั้ง เวลาถอดห่วงจะเริ่มอ้าตรงปลายแล้วค่อยๆ ถ่างทองเหลืองให้คลายขดออกจนสามารถดึงเอาเส้นทองเหลืองออกจากคอได้ ส่วนวิธีการใส่ จะนำเอาทองเหลืองไปอังไฟและชุบด้วยน้ำมะนาวให้อ่อนแล้วนำมาขดรอบคอ ทบขึ้นไปเป็นวงเหมือน ขดลวดสปริง ห่วงที่เป็นขดจะมีอยู่ 2 ชุด ชุดแรกใส่เป็นฐานอยู่บนไหล่ 5 วง ต่อจากนั้น จะใส่เป็นขดรอบคอขึ้นไปอีก 20 วง ส่วนการดูแลรักษาก็คือ เวลาอาบน้ำจะเอาหญ้าแห้งมาขัดห่วงทองเหลืองที่สวมใส่เพื่อให้เกิดความเงางาม

ที่มา. destinythai.com






 



หนูชื่อแมรี่ค่ะ









 



หนูกำลังโกรธแม่อยู่ค่ะ








เราอยู่ในหมู่บ้านและซื้อหาของใช้ที่ทำด้วยมือประมาณเกือบหนึ่งชั่วโมงก็ลาจากบ้าน ห้วยปูแกง ปล่อยให้นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แวะเวียนมาพูดคุย และถามไถ่ความเป็นอยู่กับพวกเขาพอประมาณ

ชีวิต มนุษย์ที่พยามหนีอุปสรรคต่างๆ เพื่อเอาชีวิตรอดในโลกใบนี้ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการใส่ห่วงที่คอเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย หรือคนเมืองที่ติดกรงรอบบ้านกันโจรผู้ร้ายก็ตาม ในที่สุดแล้วทุกคนก็ทำไปเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดปลอดภัยกันทั้งนั้น จะยากดีมีจน ทุกคนก็อยากอยู่ในโลกใบนี้อย่างปลอดภัยและสันติสุขกันทุกคน.... ทำไมเราต้องแบ่งเขา แบ่งเรา แยกชนชั้นแล้วปกครอง ทำไมไม่ทำให้ทุกชีวิตบนโลกนี้เสมอภาคกันหนอ???


เรือหางยาวลำเดิมได้นำเรามาส่งที่ท่าเรือ บ้านห้วยเดื่อ อย่าง ปลอดภัยหลังจากแล่นทวนน้ำขึ้นมาประมาณ 20 นาที. ก่อนที่เราจะขึ้นรถตู้ไปเที่ยวชมวัด และไหว้พระในเมืองแม่ฮ่องสอนในตอนบ่ายวันนั้น.






 



ลุงคนนี้เป็นหัวเรือให้เรา









 



ศาลาวัดจองกลาง








วัดจองคำ และวัดจองกลาง

เป็น วัดที่มีพื้นที่ติดกัน อยู่ติดกับหนองจองคำซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะกลางเมืองแม่ฮ่องสอน หากสงสัยว่าวัดไหนคือวัดจองคำวัดไหนคือวัดจองกลาง วิธีง่าย ๆ คือให้ยืนหันหลังให้หนองจองคำหันหน้าเข้าหาวัด วัดที่อยู่ซ้ายมือจะเป็นวัดจองคำ ส่วนขวามือจะเป็นวัดจองกลาง สองวัดนี้สร้างด้วยศิลปะแบบไทยใหญ่ที่มีความงดงามมากทั้งคู่ โดยเฉพาะศิลปะการสร้างอาคารแบบหลังคาซ้อนชั้นที่เรียกว่า จอง

นอก จากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญที่สวยงาม เมื่อมาที่สองวัดนี้แล้วก็อย่าลืมไปสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่มีขนาด หน้าตักกว้างถึง 4.85 เมตรที่วัดจองคำ







 



เจดีย์ที่วัดจองคำ







เดิน ถัดมาอีกหน่อยบริเวณวัดจองกลาง มีจุดเด่นคือเจดีย์ทรงมอญที่ประดับสวยงามตามรูปแบบของไทยใหญ่ บนจองจะประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลองปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ และมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งด้านในจัดแสดงของเก่าที่หาชมยาก มีตุ๊กตาไม้แกะสลักที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวชสันดรชาดก ที่นำมาจากประเทศพม่า

ถนนด้านหน้าของวัดจะจัดเป็นถนนคนเดินในช่วง ฤดูกาลท่องเที่ยว ตอนกลางคืนจะมีของมาวางขายมากมาย โซนหน้าวัดจะเป็นของพวกของกิน แต่ละร้านจะมีเสื่อปูให้นั่งทานริมหนองจองคำบรรยากาศดีเยี่ยม ตอนกลางคืนภายในวัดทั้งสองจะประดับไฟสวยงาม โดยเฉพาะเจดีย์ภายในวัดจะประดับไฟมองเห็นเป็นรูปทรงเจดีย์มาแต่ไกล ภาพแสงไฟระยิบระยับที่ประดับในวัดสะท้อนเป็นเงาในน้ำบริเวณหนองจองคำยามค่ำ คืนสวยงามยิ่ง





 



วัดจองกลางทางขวามือ








วัดก้ำก่อ

ชื่อ วัดเป็นภาษาไทใหญ่แปลว่า ดอกบุนนาค ซึ่งถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่พระศรีอริย เมตไตรยประทับตอนตรัสรู้ วัดถ้ำก่อเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองแม่ฮ่องสอน สร้างเมื่อปี พ . ศ . 2443 ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่งดงาม มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษต่างจากวัดอื่น คือ ทางเดินตั้งแต่ซุ้มทางเข้าวัดจนถึงจองคลุมด้วยหลังคาที่เล่นระดับลดหลั่นลง มาตามความลาดเอียงของพื้นที่






 



วัดถ้ำก่อ








วัดหัวเวียง หรือ วัดกลางเวียง

ตั้งอยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406 เป็นที่ประดิษฐานของ พระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่ง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก มีประวัติว่าหล่อจำลองจาก พระมหามุนี ซึ่งเป็นเจ้าพาราละแข่งองค์จริง ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยลุงจองโพหย่า เดินทางไปนิมนต์มา พระเจ้าพาราละแข่งองค์นี้สร้างเป็นท่อนๆ ทั้งหมด 9 ท่อน ล่องมาตามแม่น้ำปาย แล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอนและนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง หรือวัดกลางเวียง ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง ปัจจุบันวิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง

จุดเด่นของวัดหัว เวียง ได้แก่ พระเจ้าพาราละแข่ง วิหารพระเจ้าพาราละแข่ง ทำด้วยไม้สักทั้งหลังมีลักษณะเป็นจองพาลาหลายชั้น แกะสลักด้วยลวดลายสวยงามแบบศิลปะไทยใหญ่





 



วิหารพระเจ้าพาราละแข่ง....วัดหัวเวียง







 



โบถส์วัดหัวเวียง








 



พระเจ้าพาราละแข่ง








 



วัดพระธาตุดอยกองมู








วัดพระธาตุดอยกองมู

ชื่อ เรียกแต่เดิมว่าวัดปลายดอย พระธาตุเจดีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของแม่ฮ่องสอน ชาวเมืองนับถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระธาตุดอยกองมูตามนามพระธาตุ ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย “พระยาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้ สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจนและสวยงาม มาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวัดออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะด้วย





 



ที่จุดชมวิวร้าน Befores unset Cafe







สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระธาตุดองกองมูสร้างโดยพ่อค้าชาวไทยใหญ่ชื่อ "จองต่องสู่" เมื่อ พ.ศ. 2403 ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ ประดับลวดลายปูนปั้น มีฐานแปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น บริเวณฐานด้านล่างประดับด้วยซุ้มพระตามทิศทั้งแปด

พระธาตุเจดีย์องค์เล็ก พระธาตุเจดีย์องค์เล็ก ของวัดพระธาตุดอยกองมูสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย "พญาสิงหนาทราชา" เจ้าผู้ครอง แม่ฮ่องสอนคนแรกเพื่อเป็นที่ระลึกในการขึ้นครองแม่ฮ่องสอน เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากพม่า ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนสามชั้น ตรงมุมทั้งสี่ของฐานมีปูนปั้นรูปสิงห์ประดับอยู่ บริเวณฐานด้านล่างประดับด้วยซุ้มพระแบบศิลปะมอญ ซุ้มประธานมีหลังคาประดับเรือนยอดสามยอด แต่ละยอดเป็นทรงประสาทซ้อนสามชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นสวยงาม

วิหารวัดพระธาตุดอยกองมู อยู่ติดกับพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ สร้างขึ้นพร้อมกัน มีลักษณะเป็นอาคารทรงโรงเปิดโล่ง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาซ้อนสามชั้นมุงด้วยกระเบื้องไม้ และตกแต่งโลหะฉลุลวดลายตามแบบศิลปะไทใหญ่





 



แสงทองสุดท้ายที่ดอยกองมู







ด้าน ทิศตะวันตกจะมีจุดชมวิวข้างๆร้านกาแฟ เมื่อนักท่องเที่ยวมาถึง มักจะขึ้นมาที่วัดพระธาตุดอยกองมูนี้ตอนเย็น เพื่อจะได้ชมแสงทองสุดท้ายของวัน ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับเหลี่ยมเขาที่นี่

หลัง จากนั้นก็จะได้ชมภาพเมืองแม่ฮ่องสอนยามค่ำคืนที่ประดับประดาด้วยแสงสี เมื่อมองจากบริเวณพระธาตุลงไป ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามยิ่งนัก...






 



มาถึงแล้ว แม่ฮ่องสอน








 



เสื้อยืด สุดฮิต









 



พระธาตุดอยกองมู ยามค่ำคืน









 



ปล่อยโคมลอย









 



ล่องลอยสู่ท้องฟ้า








 



ภาพของวัด และพระธาตุ








 



แม่ฮ่องสอยยามค่ำคืน








 



พระธาตุดอยกองมูอีกภาพ








 



ถนนคนเดินแม่ฮ่องสอน





เมื่องลงมา จากพระธาตุดอยกองมู กิจกรรมอันต่อเนื่องของนักท่องเที่ยว คือ การไปเดินชมสินค้าที่ถนนคนเดิน ซึ่งเริ่มกันตั้งแต่เย็นแล้ว ประมาณ 1730 น. ก็มีอะไรวางขายกันเกือบเต็มพื้นที่ ที่สำคัญคือที่จอดรถ ต้องวางแผนให้ดี .....

ถนนคนเดินจะทอดยาวไปถึงหน้าวัดจองกลาง-จองคำ โน่น ส่วนสินค้ามีมากมายหลายอย่าง บางอย่างเราก็ไปเห็นมาจาก บ้านกะเหรี่ยงคอยาวและที่อื่นๆแล้ว..... สิ่งที่เห็นอีกอย่างที่นี่คือ การแสดงดนตรีกลางแจ้งของนักเรียน นักศึกษาเพื่อรับบริจาคเงินจากนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนในที่ห่างไกล

เราเดินเที่ยวชมสินค้าจนประมาณ 2130 น. ก็เรียกรถมารับเพื่อกลับไปพักผ่อนที่ ริมน้ำกลางดอยรีสอร์ท เตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อเดินทางผ่านเส้นทางลอยฟ้า แม่ฮ่องสอน - ปาย ในวันรุ่งขึ้น...




 



ลากันด้วยเจดีย์วัดจองคำยามราตรี



 

ขอบคุณที่ตามอ่านครับ

Credit: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=travelsomewhere&month=01-2010&date=18&group=34&gblog=4
3 ธ.ค. 53 เวลา 16:56 4,629 6 96
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...