เตือนชายใช้มือถือบ่อย-ระวังหมดน้ำยาผสมพันธุ์

โทรศัพท์มือถืออาจทำลายความสามารถในการผลิตอสุจิ

และทำให้ผู้ชายกลายเป็นหมันไม่รู้ตัว ส่งผลร้ายต่ออัตราเจริญพันธุ์ของโลก

นัก วิจัยระบุคลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือ ทำให้จำนวนอสุจิลดลงครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหว และคุณภาพของอสุจิ ถือเป็นปัญหาร้ายแรงถึงขนาดที่ทำให้ผู้ชายบางคนกลายเป็นหมัน
ปัจจุบัน มีผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้เกือบพันล้านคน

โดย ในบางประเทศจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นปีละ 20-30% นักวิจัยของศูนย์วิจัยการเจริญพันธุ์ จากคลินิก คลีฟแลนด์ ฟาวน์เดชันในโอไฮโอ สหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบอสุจิของผู้ชาย 364 คน ที่เข้ารับการทดสอบเพื่อศึกษาสาเหตุของการมีบุตรยากร่วมกับภรรยา

ผู้ชายเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ

แรกมี 40 คนและไม่เคยใช้โทรศัพท์มือถือ,

กลุ่มที่ 2 มี 107 คน ใช้โทรศัพท์มือถือวันละไม่ถึง 2 ชั่วโมง,

กลุ่มที่ 3 มี 100 คน ใช้มือถือวันละ 2-4 ชั่วโมง

และกลุ่มสุดท้าย 114 คน ใช้วันละ 4 ชั่วโมงขึ้นไป
นักวิจัยพบว่า ผู้ชายที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุดคือ

วันละกว่า 4 ชั่วโมง มีจำนวนอสุจิน้อยที่สุดคือ 50 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร และอสุจิแข็งแรงน้อยที่สุด ในทางกลับกัน ผู้ชายที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือเลยมีจำนวนอสุจิมากที่สุดถึง 86 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร และอสุจิแข็งแรงที่สุด
ผู้ชายทั้งหมดนี้ผลิตอสุจิที่มีความผิดปกติจำนวนมาก

แต่ ในจำนวนนี้มีอสุจิที่พร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์อยู่ด้วย ทว่า ในกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากนั้น ผลิตอสุจิ ´ปกติ´ เพียง 18% ของจำนวนอสุจิทั้งหมด เทียบกับ 40% ของกลุ่มที่ไม่ใช้

การศึกษานี้จัดทำขึ้นในมุมไบ ประเทศอินเดีย ที่ซึ่งโทรศัพท์มือถือเข้าไม่ถึงชนทุกกลุ่มในสังคม
ศาสตราจารย์อโศก อการ์วาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ กล่าวว่า

กลุ่มต่างๆ ในการทดสอบมีความแตกต่างกันในเกณฑ์ทุกด้าน ได้แก่ จำนวน การเคลื่อนไหว การมีชีวิตรอด และรูปร่างลักษณะของอสุจิ

"ยิ่งใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยเท่าไหร่ คุณภาพของเกณฑ์เหล่านี้ยิ่งลดลงเท่านั้น"
ศาสตราจารย์อการ์วาลเสริมว่า

คน เราใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่ได้คิดถึงผลพวงที่อาจเกิดตามมา ซึ่งบางครั้งส่งผลร้ายถึงขั้นทำให้เป็นหมัน แม้เรื่องนี้ยังต้องมีการพิสูจน์กันต่อไป แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า

โทรศัพท์มือถือส่งผลอย่างมหาศาลเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ยุคนี้ไปแล้ว
ผลการวิจัยระบุว่า

บาง คนที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายประเภทนี้บ่อยที่สุดผลิตอสุจิไม่ถึง 20 ตัวต่อล้านมิลลิลิตร ต่ำกว่าเกณฑ์การเจริญพันธุ์ขององค์การอนามัยโลก


 

3 ธ.ค. 53 เวลา 08:44 8,654 33 314
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...