ถูกโคลนนิ่งซิมฯ...จ่ายเพิ่มไม่รู้ตัว

เทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวหน้าขึ้นทุกที ก้าวทันก็ดีไป หากก้าวไม่ทันอาจเสียทีตกเป็นเหยื่อเหล่ามิจฉาชีพเจ็บตัวซ้ำอีก โดยเฉพาะพวกหัวอัจฉริยะมักใช้มันสมองแบบผิด ๆ เอาเปรียบเพื่อนร่วมโลกด้วยการ "โคลนนิ่งซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ" ของคนอื่น แล้วนำไปใช้เองหรือไม่ก็ขาย เอากำไร แบบนี้ไม่รู้จะเรียกอัจฉริยะหรือโจรกันดี?...

แต่ที่แน่ ๆ ขณะนี้มีการประกาศขายเครื่องโคลนนิ่งซิม การ์ดโทรศัพท์มือถือทางเว็บไซต์กันอย่างโจ่งครึ่มด้วยราคาที่ไม่แพงจนเกินไป โดย มีการอธิบายรายละเอียดสรรพคุณและขั้นตอนการทำอย่างเสร็จสรรพ หากใครสนใจซื้อก็มีบริการจัดส่งให้ทางไปรษณีย์อีกต่างหาก ถ้าต้องการเอาไปโคลนนิ่งซิมฯ ของตัวเองเพื่อให้พ่อแม่พี่น้องหรือแฟนใช้ก็ดีไป แต่หากไปขโมยซิมฯ คนอื่นมาโคลนนิ่งแล้วนำไปใช้เองหรือนำไปขายก็แย่สิ..! เพราะ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังถือเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนให้กับ ผู้อื่นด้วย

ผศ.ดร.ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การคัดลอกข้อมูลของซิมการ์ดโทรศัพท์  มือถือ (Cloning Sim Card) เพื่อทำซิมการ์ดอันใหม่ที่เหมือนกันหรือที่เราเรียกว่า การ โคลนนิ่งนั้นในต่างประเทศทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีโทรศัพท์ มือถือจำนวนหลายเครื่องและมีความประสงค์ที่จะโคลนนิ่งซิมการ์ดฯ ใช้เองโดยจะได้ไม่ต้องยุ่งยากคอยถอดเปลี่ยนซิมฯ จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง จึงมีการ อนุญาตให้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่สำหรับในประเทศไทยเองเมื่อก่อนมีกฎหมายห้ามทำซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือซ้ำ ให้มีแค่เบอร์เดียว อันเดียว

แต่ ในปัจจุบันมีเจ้าของบริษัทซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ ขออนุญาตทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเช่นกัน หากลูกค้าต้องการทำก็สามารถทำได้ จึงทำให้มีอุปกรณ์เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอีก 1 ชิ้น เป็นช่องทางในการหากินของพวกมิจฉาชีพเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ช่องทางด้วยการลักลอบนำวิธีนี้มาใช้แบบ ผิด ๆ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า การลักลอบทำซิมการ์ดเถื่อนขาย

การทำโคลนนิ่งซิมการ์ดเถื่อนมีวัตถุประสงค์ 2 แบบ  คือ เพื่อต้องการโทรศัพท์หรือส่งข้อความด่าว่าผู้อื่นด้วยถ้อยคำหยาบคาย โดยที่เจ้าตัวไม่สามารถจับได้ ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดขึ้นกับดาราและมีการแจ้งความจนเป็นข่าวไปแล้ว ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ ทำมาเพื่อขายให้คนอื่นนำไปใช้โดยที่เจ้าของซิมการ์ด โทรศัพท์มือถือ ไม่ทราบทำให้รับเคราะห์มีภาระจ่ายค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งทั้ง 2 วิธีหากเกิดขึ้นโดยเฉพาะวิธีที่ 2 ถือเป็นการทำลายเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

ถึงแม้ความเสียหายจะ รุนแรงไม่เท่ากับการถูกแก๊งคนร้ายขโมยข้อมูลบัตรเครดิตจากแถบแม่เหล็กที่มี มูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาทก็ตาม แต่การถูกโคลนนิ่งซิมการ์ดฯ  ก็ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเกิด ความเสียหายรำคาญใจและเสียสุขภาพจิตได้เช่นกัน บางครั้งเราหาตัวคนผิดไม่ได้ก็ตัดความรำคาญโดยการเปลี่ยนซิมการ์ดอันใหม่ ทำให้กลุ่มคนพวกนี้ได้ใจยังคงลอยนวลสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นอยู่ เรื่อย ๆ

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะ น้อยเพราะแต่ละบริษัทมีระบบป้องกันให้ผู้ใช้บริการ โดยมีการกำหนดเพดานการใช้โทรศัพท์ให้กับลูกค้า เช่น แบบจดทะเบียน รายเดือนมีวงเงินให้ใช้ได้ไม่เกินจำนวน 2,000-5,000 บาท หากใช้เต็มวงเงินก็ไม่สามารถใช้การได้ต้องชำระค่าบริการเสียก่อนจึงจะสามารถ เปิดใช้บริการได้อีกครั้งหรือบางรายเป็นแบบระบบเติมเงินมีตั้งแต่ราคา 50-500 บาท ถือว่าไม่มาก แต่การที่เราถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยลักษณะดังกล่าวก็ไม่สมควรจะเกิดขึ้น

โดย หลักการแล้ว การโคลนนิ่งซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือแตกต่างจากการทำซ้ำ (Copy) โดยขั้นตอนการทำโคลนนิ่งเป็นวิธีที่สลับซับซ้อนและใช้เวลามากเพราะมีรหัส หลายตัว จึงจะสามารถโคลนนิ่งให้เหมือนกันเพื่อนำมาใช้กับ โทรศัพท์อีกเครื่องหนึ่งได้ ส่วนค่าโทรศัพท์นั้นจะไปรวมกับซิมการ์ดหมายเลขต้นฉบับที่ถูกโคลนนิ่ง ซึ่ง การใช้ความชำนาญเช่นนี้ เชื่อว่าคงหนีไม่พ้นฝีมือ ชาวต่างชาติที่ลักลอบเข้ามา สร้างเครือข่ายและทำกันเป็นขบวนการ แต่ถ้าเป็นคนไทยทำเองก็ถือว่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน ส่วนรูปแบบวิธีการทำนั้นยังคงตรวจสอบกันอยู่ว่าใช้วิธีใด ยิ่งปัจจุบันทราบว่า  มีการประกาศขายเครื่องโคลนนิ่งซิมการ์ดฯ ทางอินเทอร์เน็ตแล้วยิ่งน่ากลัวเพราะถ้าหากเครื่อง   ที่ว่านี้เกิดใช้งานได้จริงอย่างที่กล่าวอ้างก็จะสร้างความเสียหายได้ไม่ น้อยทีเดียว ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเข้ามาดูแลและตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร

สำหรับ การทำซ้ำ (Copy) ข้อมูลในซิมการ์ดแตกต่างจากการโคลนนิ่งตรงที่ทำได้ง่ายเพียงแค่ใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ดูดข้อมูลจากซิมการ์ดฯ มาเก็บไว้ ซึ่งวิธีนี้ไว้ใช้สำหรับคนที่ต้องการเก็บข้อมูลในซิมการ์ดฯ เพื่อป้องกันข้อมูลหาย เพราะเวลาโทรศัพท์มือถือหายข้อมูลใน   ซิมการ์ดก็จะหายตามไปด้วย เช่น หมายเลขโทรศัพท์หรือรูปภาพ บางครั้งเรานำไปให้ร้านที่ ไม่ได้มาตรฐานทำ อาจจะถูกดูดข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดสร้างความ เดือดร้อนให้เราอีกด้วย ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างที่เราทราบกันดี

ถึง แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบวิธีที่ชัดเจนว่า การลักลอบขโมยข้อมูลจากซิมการ์ดโทรศัพท์เพื่อโคลนนิ่งในรูปแบบใด แต่ ควรป้องกันไว้ก่อน โดยก่อนนำโทรศัพท์ส่งซ่อมควรถอดซิมการ์ดฯ เก็บไว้เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งการนำโทรศัพท์ไปโหลดโปรแกรมเพื่อความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นการโหลดเพลง รูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือ เกมตามร้านต่าง ๆ รวมทั้ง  ซื้อเปลี่ยนเครื่องใหม่ ทาง ที่ดีถ้าไม่จำเป็นอย่านำโทรศัพท์มือถือวางทิ้งไว้ห่างตัว หรืออยู่กับทางร้านโทรศัพท์เป็นเวลานานเกินไป

นอก จากนี้เราต้องรู้จักสังเกตการใช้โทรศัพท์ในแต่ละเดือนว่าเราใช้อยู่ที่จำนวน เงินเท่าใด หากรู้สึกว่ามากเกินกว่าปกติควรติดต่อยังบริษัทเจ้าของ ซิมการ์ดฯ เพื่อขอข้อมูลการใช้ โทรศัพท์ว่าเราใช้โทรฯ ไปที่ใดบ้าง เช่น ในรายการบอกว่าใช้โทรศัพท์ที่กรุงเทพฯ แต่อีก 5 นาที   ต่อมากลับไปใช้ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งไม่มีความเป็นไปได้ เชื่อว่าน่าจะถูกโคลนนิ่งซิมการ์ดฯ และ  มีผู้นำไปใช้ที่ต่างจังหวัด กรณีนี้ต้องรีบแจ้งความเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายหรือไปร้องเรียน สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค  และเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์เสียใหม่

ใน ขณะที่ค่ายโทรศัพท์ยักษ์ใหญ่ได้ออกมายืนยัน "ระบบ ซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือของบริษัทเรามีระบบป้องกันการโคลนนิ่งอยู่แล้ว" ฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ "เอไอเอส" ยืนยันเพิ่มเติม พร้อมให้ความรู้ว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ต้องพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้นสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน เราจึงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาระบบการป้องกันความปลอดภัยให้ลูกค้า โดยระบบซิม การ์ดฯ ของบริษัทไม่สามารถโคลนนิ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะเรามีสเปกของซิมการ์ดที่แน่นอนและมีระบบเน็ตเวิร์กที่ป้องกันไม่ให้ เกิดการโคลนนิ่งได้ ลูกค้าจึงไม่ต้องประสบปัญหานี้ ถึงแม้บริษัทจะมีบริการการขายแบบ  1 เบอร์มีหลายซิมการ์ดก็ตาม ซึ่งตรงนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว

โดย ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าการใช้โทรศัพท์มือถือของประชาชนในปัจจุบันส่วนมากจะใช้ แบบระบบเติมเงินกันเป็นส่วนใหญ่ หากถูกโคลนนิ่ง  ซิมการ์ดจริงจะต้องทราบเพราะในเมื่อเราไม่ได้ใช้แต่ยอดเงินกลับหมดไป จึงสังเกตเองได้ง่าย ๆ  อย่างไรก็ตามแม้จะมีกลุ่มบุคคลพยายามนำเทคโนโลยีมาใช้ในแบบผิด ๆ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการพัฒนา เพื่อสร้าง ความปลอดภัยได้เช่นกัน

เทคโนโลยี ที่ทันสมัยเปรียบเสมือนดาบสองคม หากเรารู้จักนำมาใช้ให้ถูก วิธีจะเกิดประโยชน์มากมาย มหาศาล แต่ถ้านำมาใช้แบบผิด ๆ สร้างความเดือดร้อน ให้ผู้อื่นถือว่าผิดกฎหมาย หากจับได้ต้องถูกดำเนินคดี ลองคิดดูว่าคุ้มกันหรือไม่กับการที่ได้กำไรเพียงน้อยนิดแต่แลกกับการเสีย อนาคตและทำลายประเทศชาติ!!

ข้อมูลจาก :

Credit: thaiza
17 มิ.ย. 52 เวลา 07:38 4,564 3 38
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...