วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 12:30:49 น.
html .fb_share_button { display: inline-block; padding: 1px 20px 0pt 5px; height: 15px; border: 1px solid rgb(216, 223, 234); background: url("http://b.static.ak.fbcdn.net/rsrc.php/zAB5S/hash/4273uaqa.gif") no-repeat scroll right top transparent; }html .fb_share_button:hover { color: rgb(255, 255, 255); border-color: rgb(41, 85, 130); background: url("http://b.static.ak.fbcdn.net/rsrc.php/zAB5S/hash/4273uaqa.gif") no-repeat scroll right top rgb(59, 89, 152); text-decoration: none; }แบ่งปันข่าวนี้บน facebook Share
p { margin: 0px; }
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า หมู่บ้านแลงค์ทางเหนือของอินเดีย ได้ออกกฏให้สตรีที่ยังไม่ได้แต่งงาน "ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ" เนื่องจากเกรงว่าพวกเธออาจ จัดการแต่งงานแบบ"ต้องห้าม" ซึ่งอาจทำให้พวกเธอถูกลงโทษถึงแก่ชีวิต
ขณะเดียวกัน สภาหมู่บ้านแห่งนี้ ได้ลงมติตัดสินให้ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน สามารถใช้โทรศัพท์มือถือโดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มพิทักษ์สตรีในท้องถิ่นซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นการกระทำที่ "ล้าหลังและอยุติธรรม"
สิ่งที่หมู่บ้านดังกล่าวกังวลว่าจะเกิดขึ้น ก็คือ การแต่งงานระหว่างสมาชิกในวงศ์ตระกูลเดียวกัน (Marriages between members of the same clan) ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดธรรมเนียมของศาสนาฮินดู ในบางท้องถิ่นของภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งยังนิยมจัดการแต่งงานแบบ "คลุมถุงชน" ในบางครอบครัว หากมีการกระทำผิดธรรมเนียมดังกล่าว อาจมีการลงโทษที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า "การฆ่าเพื่อเกียรติยศ" ในกรณีที่มีการละเมิดข้อห้ามการแต่งงานอย่างรุนแรง
การตัดสินลงโทษเกิดจากมติของหมู่บ้าน ซึ่งแม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็ไม่สามารถเข้าใปควบคุมอะไรได้มากนัก
สภาหมู่บ้านแลงค์ เกรงว่าชายหนุ่มและหญิงสาวในหมู่บ้าน อาจใช้โทรศัพท์เพื่อจุดประสงค์ในการพากันหนีในทางชู้สาว
เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีคู่หนุ่มสาวหนีตามกันจำนวนกว่า 34 คู่ ในเขตมูซาฟฟาร์นาการ์ ทางตอนเหนือของแคว้นอุตระประเทศ โดยมีหนุ่มสาว 8 คู่ถูกลงโทษด้วยการฆ่าเพื่อเกียรติยศ
พ.อ.บริจ ลาล รองผู้บังคับการตำรวจเมืองลัคนาว กล่าวว่า "หญิงสาว 3 คนถูกสมาชิกฝ่ายชายในครอบครัวของตนเอง ′ตัดศีรษะ′ หลังจากที่จับได้ว่าพวกเธอจัด ′วิวาห์เหาะ′ กับชายหนุ่มจากวงศ์ตระกูลเดียวกัน"
"สมาชิกสภาหมู่บ้านเห็นว่าโทรศัพท์มือถือมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดธรรมเนียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนหนุ่มสาว"
ในหมู่บ้านทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นอุตระประเทศ สมาชิกสภาหมู่บ้านถือเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินมติใดๆ แม้ว่าจะมิชอบด้วยกฏหมาย แต่ก็ถือว่าความเห็นของพวกเขาได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอำนาจในการประกาศว่าชายหนุ่มและหญิงสาวที่มาจากวงศ์ ตระกูลเดียวกัน เป็นพี่น้องกันโดยสมบูรณ์
กรณีการแต่งงานในวงศ์ตระกูลเดียวกัน โดยมีโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว ถือ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในแคว้นอุตระประเทศ ซึ่งการแต่งงานส่วนใหญ่เกิดจากการคลุมถุงชน แต่ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งชายหนุ่มและหญิงสาวต่างอยู่ร่วมในสังคมด้วยความเสมอภาค และสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆได้มากขึ้น และได้เห็นแบบอย่างการใช้ชีวิตจากชาติตะวันตก ซึ่งทุกคนต่างดำรงชีวิตด้วยความเป็นอิสระและมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง