ขณะนี้ในสื่อจีนกำลังมีการกล่าวขวัญถึงศัพท์คำหนึ่งอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในเว็บไซต์
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ หรือแม้แต่ ซีซีทีวี (CCTV) หรือสถานีโทรทัศน์กลาง
แห่งประเทศจีนที่ถึงกับทำเป็นรายงานพิเศษ
ศัพท์คำนั้นคือ วัฒนธรรมซานไจ้ "ซานไจ้" หากแปลตรงตัวแล้วจะมีความหมายว่า
หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา (Small Mountain Village) ทว่า ศัพท์คำนี้ในปัจจุบันมิได้ใช้ตรงตัว
แต่บ่งบอกถึงสินค้าหรือการลอกเลียนแบบของมีชื่อต่างๆ อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือผลิตจากจีนที่
ทำเลียนแบบไอโฟน โนเกีย โซนี่, เครื่องเล่นเพลง mp3 ผลิตจากจีนที่ทำเลียนแบบไอพอด,
รถยนต์จีน ที่ผลิตให้มีรูปลักษณ์เลียนแบบรถยนต์ต่างประเทศ รวมไปถึงการเลียนแบบรูปลักษณ์-
ท่าทางของดาราที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น หลิว เต๋อหัว, เจย์ โจว (โจว เจี๋ยหลุน) เป็นต้น
ซึ่งเหล่านี้ชาวจีนจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซานไจ้ทั้งสิ้น
การนิยมขนส่งมือถือ ก็เป็นที่นิยมกันมากทีเดียว
และที่นี่ก็นิยมเก็บมือถือมารีไซเคิล กันเป็นแถวๆตามท้องถนน
อย่างไรก็ตาม "วัฒนธรรมซานไจ้"ที่หลาย คนให้ความเห็นว่า
ไม่เห็นจะแปลกใหม่อะไรเลย
เพราะคิดว่ามันก็แค่ "วัฒนธรรมการลอกเลียนแบบ" ของจีนที่มีมานมนานหลายสิบปีแล้วนั่นแหละจริงๆ แล้ว
"ซานไจ้" กลับมีนัยสำคัญต่อโลกในปัจจุบัน และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีน มากกว่าที่ใครหลายคนคิด
เนื่องจาก "ซานไจ้" นั้นไม่ได้แปลได้จากความหมายตรงตัวว่า หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา
แต่ศัพท์คำนี้มีรากมาจากมณฑลกวางตุ้งและเกาะฮ่องกง โดยเมื่อหลายสิบปีก่อนคนกวางตุ้งเรียก
บรรดาโรงงานเล็กๆ ที่ผลิตของเลียนแบบ หรือ ของใช้ในชีวิตประจำวันราคาถูกว่า "ซานไจ้"
ขณะที่ชาวฮ่องกงในช่วงทศวรรษ 60 และ 70 ก็เรียกโรงงานเล็กๆ ตามบ้าน-ห้องแถวที่รับช่วง
ผลิตสินค้าอย่างดอกไม้พลาสติก เสื้อผ้า ฯลฯ มาจากโรงงานใหญ่ๆ อีกต่อว่า "ซานไจ้ฉ่าง
(ฉ่าง แปลว่า โรงงาน)" เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบัน "วัฒนธรรมซานไจ้"
ก็มิได้มีความหมายแต่เพียงการ เป็น "วัฒนธรรมของการลอกเลียนแบบ" เท่านั้น
แต่ยังเป็นตัวแทนของบรรดาธุรกิจ/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือที่เรารู้จักกันในชื่อย่อๆ
ว่า เอสเอ็มอี (SMEs; Small and Medium Enterprises) นั่นเอง
เรื่องของมือถือก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนนิยมเรียนรู้
การซ่อมมากขึ้น และนิยมทำการฝึกอบรมกัน
การผลิตก็ใช้คนเป็นจำนวนมาก
ที่มา
wintesla2003.com