ทีมนักบรรพชีวินวิทยาฝรั่งเศสกำลังสำรวจรอยเท้าของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่ถูก ค้นพบเมื่อเดือน เม.ย. 52 บนที่ราบสูงของเทือกเขาจูราทางตะวันออกของฝรั่งเศส ใกล้กับสวิตเซอร์แลนด์ (เอเอฟพี)นักล่าฟอสซิลสมัครเล่น พบรอยเท้าไดโนเสาร์กว่า 20 รอย บนที่ราบสูงใกล้เมืองลียงของฝรั่งเศส นักบรรพชีวินลงพื้นที่สำรวจ พบเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็น และยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ คาดเป็นของไดโนเสาร์กินพืชคอยาวยุคจูราสสิค ปีหน้าสำรวจต่ออาจพบอีกเยอะในบริเวณใกล้เคียง
นักบรรพชีวินวิทยาฝรั่งเศส เปิดเผยการสำรวจพบกลุ่มรอยเท้าไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่หรือซอโรพอด (sauropod) เมื่อวันที่ 6 ต.ค.52 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ และเชื่อว่าหากสำรวจต่อน่าจะพบอีกหลายร้อยหรือหลายพันรอยเท้าที่ยังซ่อนอยู่ ในบริเวณใกล้เคียง
เอพีและเอเอฟพีระบุว่า สองนักล่าฟอสซิลสมัครเล่นได้สำรวจพบรอยเท้าไดโนเสาร์ดังกล่าวเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ในบริเวณพื้นราบสูงของเทือกเขายูรา (Jura plateau at Plagne) ใกล้กับทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองลียงในฝรั่งเศส โดยพบรอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอดกว่า 20 รอย กินบริเวณกว้างราว 10 เฮคตาร์ (0.1 ตารางกิโลเมตร)
รอย เท้าแต่ละรอย ฝังอยู่ในดินตะกอนยุคจูราสสิค วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1.2-1.5 เมตร คาดว่าเจ้าของรอยเท้าเหล่านี้ น่าจะมีน้ำหนักประมาณ 30-40 ตัน มีความยาวกว่า 25 เมตร และทิ้งรอยเท้าไว้ตั้งแต่เมื่อ 150 ล้านปีก่อน ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่บริเวณนี้มีสภาพเป็นทะเลที่ไม่ลึกนัก และคาดว่ายังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ในบริเวณนี้ ที่ยังสำรวจไม่พบอีกนับร้อยหรือพันรอยเท้าได้ ซึ่งทีมวิจัยจะสำรวจต่อในปีหน้า และหากค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เพิ่มเติมดังที่คาด บริเวณนี้จะกลายเป็นบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบรอยสัตว์โลกดึกดำ บรรพ์
"รอยเท้าเหล่านี้สังเกตเห็นได้ยากมาก เนื่องจากว่าบริเวณนั้นมีก้อนหินเล็กๆ จำนวนมาก และมีหญ้าขึ้นปกคลุม ซึ่งคุณต้องผ่านการฝึกทักษะการสังเกตมาอย่างดีจึงจะสังเกตเห็นรอยเท้าเหล่า นี้ได้ไม่ยาก" ฌอง-มิเชล มาซิน (Jean-Michel Mazin) นักบรรพชีวินวิทยาของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (France's National Center of Scientific Research) กล่าวในเอพี
มาซินอธิบายอีกว่า ทีมวิจัยเชื่อว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดทิ้งรอยเท้าเหล่านี้ไว้ในดินโคลน เมื่อดินโคลนบริเวณนั้นแห้ง ทำให้เกิดเป็นรอยเท้าคล้ายพิมพ์ลงบนปูนปลาสเตอร์ ซึ่งต่อมาน้ำทะเลได้พัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมยังบริเวณดังกล่าวและปกปิดรอย เท้านี้ไว้ จนเวลาล่วงเลยผ่านไปหลายล้านปี และเกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ แต่รอยเท้าเหล่านี้ก็ยังคงถูกรักษาไว้ในสภาพดีเช่นเดิม
"รอยเท้าที่ถูกรักษาไว้อย่าง สมบูรณ์ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์กินพืชคอ ยาวได้มาก จาก ขนาดรอยเท้าที่พบ ทำให้เราสามารถคำนวณขนาดและความเร็วของเจ้าของรอยเท้าได้ ไปจนถึงสืบเสาะพฤติกรรมและศึกษาว่าพวกมันอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบอย่างไร" มาซิน อธิบาย
ด้านแอนดรูว์ มิลเนอร์ (Andrew Milner) นักบรรพชีวินวิทยาสหรัฐฯ และ แดเนียล มาร์ตี (Daniel Marty) นักบรรพชีวินวิทยาชาวสวิส ซึ่งมิได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยดังกล่าว แต่ได้เห็นภาพรอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอดที่ถูกพบในฝรั่งเศสและแสดงความเห็นว่า บริเวณพื้นที่บริเวณนั้นน่าสนใจมาก และน่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การขุดค้นสำรวจหาฟอสซิลไดโนเสาร์เป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอดที่พบนี้ จะเป็นรอยเท้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา ทว่าไดโนเสาร์เจ้าของรอยเท้านี้ ก็ยังมิใช่ไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอยู่จากหลักฐานฟอสซิลที่พบเพียงไม่กี่ ชิ้นว่า สัตว์ดึกดำบรรพ์ตัวใหญ่สุดจะเป็น แอมฟิซีเลียส ฟราจิลลิมัส (Amphicoelias fragillimus) ที่มีน้ำหนักราว 122 ตัน และยาวประมาณ 40-60 เมตร หรืออาจเป็นซอโรพอดสกุลอาร์เจนติโนซอรัสArgentinosaurus) ที่หนัก 80-100 ตัน และยาว 30-35 เมตร. (