จิตวิทยากับการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

จิตวิทยากับชีวิตประจำวันในสังคม

1. ความหมายและความสำคัญของจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

 

“คนเราเกิดมามีชีวิตอยู่กับคน

    เรียนรู้  และทำงานร่วมกับคน

       ใช้สิ่งต่าง ๆ ในสังคม  ร่วมกับคน

                   มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้    ก็เพราะคน     ...”

 

                จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าทุกชีวิตจะต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าทุกคนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม  คนเราจะต้องดิ้นรนและมีพฤติกรรมต่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุดการกระทำหรือที่เรียกว่าพฤติกรรมนี้เอง  เป็นสิ่งที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาทางจิตวิทยา  และศึกษาบุคคลแต่ละคน  การกระทำของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน  ทั้งนี้เพราะคนมีความคิด  และแรงจูงใจที่แตกต่างกัน

                ดังนั้นจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน จึงหมายถึง  การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์  เพื่ออธิบาย  คาดการณ์  หรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์  เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนำชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเฉลียวฉลาด  และยังมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับเราด้วย  ถ้าเรามีจิตวิทยาดี  เราย่อมจะเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้อื่นได้  และถ้าเรามีความจำเป็นต้องไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น  เราก็ย่อมได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเช่นกัน

                จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน  มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล  ดังต่อไปนี้

                1. ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์  เช่น  รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  มนุษย์เกิดความรู้สึกอย่างไรเมื่อไม่สามารถสนองตอบความต้องการของตนเองได้  และอะไรเป็นแรงผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างกัน

                2. ช่วยในการปรับตัวและแก้ปัญหาทางจิตใจของตนเอง  เช่น รู้วิธีรักษาสุขภาพจิตของตนเอง  รู้วิธีเอาชนะปมด้อย  วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  และขจัดความวิตกกังวลต่าง ๆ ได้

                3. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น  สามารถเข้าใจและรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น

                ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจิตวิทยามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  เราจึงควรเรียนรู้  และนำหลักจิตวิทยามาใช้  เพื่อชีวิตของเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากขึ้น  ในทางจิตวิทยาถือว่าผู้ที่สามารถใช้จิตวิทยาในการดำเนินชีวิต  ควรมีลักษณะดังนี้

 

                1. สนใจและเข้าใจในความคิด  ความรู้สึกของคนรอบข้าง

                2. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้อื่นได้ดี

                3. รู้  เข้าใจศักยภาพและส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้อื่นได้อย่างถูกทาง

                4. มีความจริงใจต่อกัน  เพราะความจริงใจเป็นรากฐานของความผูกพันที่ลึกซึ้ง

 

2. การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

                คนที่มีความสุข  คือคนที่มีความสมหวัง  เป็นคนที่สามารถประกอบกิจการงานประสบความสำเร็จตามความปรารถนา  มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล  มีอารมณ์มั่นคง  มีความอดทนและมีความสามารถต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ  ได้  เป็นคนที่ยอมรับความจริงในชีวิต  ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                กล่าวโดยสรุป  คนที่มีความสุขก็คือ  คนที่มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้อย่างดีในการดำรงชีวิตประจำวัน

                ความสุขเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ  เป็นการมองชีวิต  มองตัวเอง  และมองผู้อื่น  ดังนั้นความสุขจึงเกิดขึ้นได้กับคนทุกชั้นไม่ว่า  ผู้ดี  มั่งมี  หรือยากจน  แนวความคิดทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  อาจกล่าวสรุปได้เป็นข้อ ๆ  ดังนี้  คือ

                1. พยายามรักษาสุขภาพทางกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

                    เป็นที่ทราบกันแล้วว่า  สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด  คนที่มีร่างกายแข็งแรง  สุขภาพดี  ย่อมมีจิตใจร่าเริง  สนุกสนาน  ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่แข็งแรง  ย่อมเจ็บป่วยเสมอ  ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด  รำคาญใจ  ดังนั้นเราจึงควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์  มีการพักผ่อนเพียงพอ  รักษาความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้  ตลอดจนหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ

                2. รู้จักตนเองอย่างแท้จริง

                     ควรสำรวจตัวเองว่า  เป็นคนอย่างไร  มีความสามารถทางใด  แค่ไหน  มีความสนใจและต้องการสิ่งใด   มีอะไรเป็นข้อดีและข้อเสีย  พยายามทางแก้ไขข้อบกพร้องและส่งเสริมส่วนที่ดี  จะทำให้เราตั้งเป้าหมายของชีวิตได้เหมาะสมกับความเป็นจริง   ตลอดจนมีโอกาสพบกับความสำเร็จและความสมหวังได้มาก

               

                 3. จงเป็นผู้มีความหวัง

                   เราควรตั้งความหวังไว้เสมอ  แม้เวลาที่ตกต่ำก็อย่าทอดอาลัย  จงคิดหวังเสมอว่าเราจะไม่อยู่ในสภาพเช่นนี้ตลอดไป  สักวันหนึ่งเราอาจจะดีขึ้นได้

              4. ต้องกล้าเผชิญกับความกลัวและความกังวลใจต่าง  ๆ 

                    ในชีวิตของเรานี้มีสิ่งต่าง ๆ มากมาย  ที่ทำให้กลัวเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก  ดังนั้น เมื่อรู้สึกกลัวอะไรต้องพยายามค้นหาความจริงว่าสิ่งนั้นคืออะไร  อย่าปล่อยจิตใจให้หวาดกลัวโดยไม่มีเหตุผล

              5. ไม่ควรเก็บกดอารมณ์ที่ตึงเครียด

                     ควรหาทางระบายอารมณ์ที่ขุ่นมัวหรือไม่สบายใจ  โดยหาทางออกในสิ่งที่สังคมยอมรับและเป็นไปในทางที่พึงปรารถนา

                6. จงเป็นผู้มีอารมณ์ขัน

                    การมีอารมณ์ขันช่วยให้มีอารมณ์ผ่อนคลาย  ไม่ควรมองการไกลในแง่เอาเป็นเอาตายมากเกินไป

                7. การยอมรับข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของตนเอง

                    การรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง  จะช่วยให้เรายอมรับข้อบกพร่อง  หรือความผิดพลาดของตนเอง  และให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่นได้

                8. ต้องรู้จักพอใจในสิ่งที่ตนทำอยู่

                    การรู้จักพอใจในงานหรือสิ่งที่ตนทำอยู่  จะทำให้บุคคลนั้นเกิดอารมณ์สนุก  ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ทำให้ชีวิตน่าสนใจ  มีความกระตือรือร้นในการทำงาน  มีกำลังใจเข้มแข็งในการต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ  มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส  ทำให้ชีวิตมีความสุขและสดชื่นอยู่เสมอ

                9. มีความต้องการพอเหมาะพอควรและมีความยืดหยุ่นได้

                    ต้องมีเหตุผล  รู้จักความพอดีเกี่ยวกับความต้องการ  ความปรารถนา  ความทะเยอทะยาน  ควรมีความคิดใฝ่ฝันที่ใกล้เคียงกับความสามารถและความเป็นจริง  จะช่วยให้เราวางแผนต่าง ๆ  ไว้เป็นระยะ ๆ  เพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้

                10. อย่าพะวงเกี่ยวกับตนเองมากเกินไปหรืออย่าคิดถึงแต่ตัวเองตลอดเวลา

                     เช่น  คิดว่าตัวเองจะต้องเด่น  ต้องดี  ต้องสำคัญกว่าผู้อื่น  การคิดแต่เรื่องของตัวเองจะทำให้เราไม่มีความสุขเลย  เพราะไม่ว่าเราจะคิดอะไร  ทำอะไรหรือไปที่ไหน  จะต้องตกอยู่ในภาวะของการแข่งขันตลอดเวลา

                11. การยอมรับสภาพของตัวเองโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น

                     เพราะการเปรียบเทียบจะทำให้เราเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า ทำไมเราจึงไม่โชคดีอย่างคนอื่น  แต่เราอาจไม่ทราบว่า  คนอื่นเขาก็มีความทุกข์เหมือนกัน

               

 

 

                   12. การยึดคติว่า  จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ

                     การทำสิ่งใดให้ใครโดยหวังผลตอบแทน  ย่อมจะทำให้ผิดหวังได้มากเพราะมัวแต่กังวลอยู่ว่าเราจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทนหรือไม่  มากน้อยเพียงใด  เมื่อไม่ได้รับตามที่ตนคาดหวังก็จะผิดหวังทำให้ไม่มีความสุข  คิดว่าตนได้รับความอยุติธรรมอยู่เสมอ

                13. การหาเพื่อนสนิทสักคนหนึ่ง  หรือใครก็ได้ที่สามารถระบายความทุกข์และปรึกษาหารือได้   

                     เพราะการมีเพื่อนจะทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวในโลก

                14. จงปล่อยให้เหตุการณ์บางอย่างผ่านไปตามแนวทางของมัน

                      อย่าไปฝืนหรือเอาจริงเอาจังเกินไป  เมื่อทำอะไรไม่สำเร็จก็เกิดอารมณ์ตึงเครียด  จงหยุดพักเสียระยะหนึ่ง  แล้วค่อยหันกลับมาทำใหม่  หรือเปลี่ยนแนวทางการกระทำเสียใหม่

                15. จงตระหนักว่า   เวลาเป็นยารักษาความเจ็บปวด  เมื่อพลาดหวังหรือผิดหวัง

                       จงอดทนและมีความหวังต่อไป  ไม่ควรใช้วิธีถอยหนีหรือหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการทำลายตัวเองต้องนึกไว้เสมอว่า  ถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม   ความเจ็บปวดต่าง ๆ  จะค่อย ๆ  ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด

                16. อย่าปล่อยให้เวลาว่างไปวันหนึ่ง ๆ  โดยไม่ทำอะไร

Credit: Sol http://board.postjung.com/517056.html
22 พ.ย. 53 เวลา 23:31 32,852
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...