The girl said they came from a twilight world
เบื้องหลังเรื่องเล่าพิสดารนี้มีความจริงอยู่บ้างไหม ?? หรือมันควรจะถูกจดลงในบัญชีเรื่องเล่าประหลาดมากมายของผู้บันทึกจดหมายเหตุสมัยกลางของอังกฤษ มีแหล่งข้อมูลดั้งเดินอยู่สองแห่งจาก คริสต์วรรษที่ 12 แห่งแรกคือวิลเลียมแห่งนิวเบร์ก (William of Newburgh) มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1136-1198 พระสงฆ์และนักประวัติศาสตร์แห่งเมือง ยอร์ดเชียร์ ในผลงานสำคัญของเขาHistoria rerum Anglicanum ซึ่งกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอังกฤษตั้งแต่ปี 1066-1198 และได้เล่าเรื่องของเด็กผิวเขียวไว้ด้วย อีกแหล่งข้อมูลคือราล์ฟแห่งคอกกีแชล (Ralph of Coggeshall) ผู้เป็นเจ้าอาวาสในอารามคอกกีแชลเมือง เอสเซ็กซ์ ...เรื่องเล่าเกี่ยวกับเด็กผิวเขียวของเขาปรากฏอยู่ในบันทึกเหตุการณ์ของอังกฤษChronicon Anglicanumซึ่งเขียนไว้เมื่อปี 1187-1224
จากแหล่งข้อมูลทั้งสองข้างต้นราล์ฟแห่งคอกกีแชลผู้อาศัยอยู่ในเมืองเอสเซ็กซ์ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับซัฟโฟลค์ (หมู่บ้านวูลพิต)น่าจะเป็นผู้มีโอกาศได้พบปะกับผู้อยู่ในเหตุการณ์โดยตรงเพราะเขาได้กล่าวในบันทึกว่าได้ยินเรื่องเล่านี้อยู่บ่อยครั้งจากเซอร์ริชาร์ดเอง(เจ้าของที่ดินที่รับเด็กเขียวมาเลี้ยง)ซึ่งแอกเนสทำงานเป็นคนรับใช้ของเขา ...ต่างกับของวิลเลียมแห่งนิวเบิร์กผู้อาศัยอยู่ในโบสถ์แห่งยอร์คเชียร์ซึ่งอยู่ไกลจากจุดเกิดเหตุมากดังนั้นจึงไม่น่าใช่ข้อมูลปฐมภูมิ แต่เป็นการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยเห็นได้จากคำกล่าวว่า "ข้าพเจ้าชั่งใจไม่ถูกกับพยานมากมายที่น่ารับฟังด้วยกันทุกฝ่าย"
เรื่องราวของเด็กผิวเขียวยังคงประทับอยู่ในใจของผู้คนมาตลอดจนถึงประวัติศาสตร์ในชั้นหลัง ดังปรากฏมีการบันทึกอยู่ใน กายวิภาคแห่งความขื่นขม (The Anatomy of Melancholy) ของ Robert Burton ซึ่งเขียนเมื่อปี 1621 และอยู่ในคำบรรยายตอนหนึ่งที่อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลศตวรรษที่ 12 ในหนังสือ The Fairy Mythology ของ Thomas Keightley
ภาพวาดเด็กผิวเขียวของชาวสเปน
นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่กล่าวกันว่าเป็นการพบเห็นเด็กผิวเขียวครั้งที่สองในสถานที่ที่เรียกว่า บันโฆส (Banjos) ในประเทศสเปนเมื่อเดิอนสิงหาคม ปี 1887 อย่างไรก็ดีรายละเอียดของเหตุการณ์นี้แทบจะเหมือนที่วูลพิตทุกประการโดยเรื่องเล่านี้ก็ดูเหมือนจะมาจากหนังสือ ลิขิตประหลาดจากสวรรค์ (Strange Destinies) ของ จอห์น แม็คลิน (Jhon Macklin) ตีพิมพ์เมื่อปี 1965 แล้วเอามาแต่งเรื่องใหม่ให้เกิดในปี 1887 ความจริงก็คือไม่มีสถานที่ที่ชื่อบันโฆสในสเปน ส่วนเนื้อหาก็เป็นการนำเอาเรืองเก่าในศตวรรษที่12 ของอังกฤษมาเล่าใหม่เท่านั้น
ในบรรดาคำอธิบายอันหลากหลายต่อปริศนาเด็กผิวเขียวนี้ ข้อเสนอแบบสุดกู่สุดโต่งคือ เด็กทั้งสองคนมาจากโลกใต้พิภพหากด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ อาจจะก้าวทะลุช่องทางสักแห่งจากมิติคู่ขนานหรือเด็กคู่นี้เป็นมนุษย์ต่างดาวซึ่งบังเอิญพลัดมาบนโลก ทฤษฎีหลังนี้มีผู้สนับสนุนคือนักดาราศาสตร์ชาวสก็อต ดันแคน ลูนัน (Ducan Lunan) เขาเสนอว่าเด็กสองคนนี้คือมนุษย์ต่างดาวผู้ถูกส่งมายังโลกจากดาวเคาระห์ดวงหนึ่งเนื่องจากความผิดพลาดของเครื่องส่งสสารทำงานขัดข้อง
เรื่องเด็กผิวเขียวยังถูกนำมาผูกโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษานอร์วิชปี 1595 เป็นไปได้ว่าฉากเหตุการณ์ในนิทานเรื่องนี้อยู่ในป่าแวย์แลนด์วูดซึ่งอยู่ใกล้กับป่าเธ็ตฟอร์ดอันเป็นพรมแดนระหว่าง นอร์โฟล์คกับซัฟโฟล์ค ...นิทานมีอยู่ว่า ท่านเอิร์ลชาวนอร์โฟล์ค ในวัยกลางคน มีหลานสองคนเป็นเด็กชายวัยสามขวบกับน้องสาวท่านเอิร์ลผู้เป็นลุงและผู้จัดการมรดกของเด็กทั้งสองหวังฮุบสมบัติด้วยการกำจัดเด็กทั้งสองนี้จึงจ้างวานชายสองคนให้พาหลานของตนเข้าป่าและฆ่าทิ้งเสียทว่ามือสังหารทำงานไม่ลุล่วง จึงทิ้งหลานของเอิร์ลไว้ในป่าเวย์แลนด์วูดจนในที่สุดเด็กน้อยทั้งสองก็สิ้นใจตายเนื่องจากขาดอาหารและปอดบวมเพราะความหนาวต่อมามีผู้ดัดแปลงนิทานเรื่องนี้โดยเปลี่ยนสถานที่เป็นป่าวูลพิตซึ่งอยู่รอบนอกหมู่บ้านวูลพิต(อันเป็นสถานที่เกิดเหตุดั้งเดิม)เนื้อเรื่องเปลี่ยนเป็น ให้เด็กทั้งสองรอดชีวิตจากการวางยาพิษจากสารหนูก่อนมาโผล่ในป่าละเมาะวูลพิตจนกระทั่งชาวไร่มาพบเจอ จากเรื่องเล่าฉบับนี้ทำให้มีผู้เสนอว่าเป็นเพราะสารหนู จึงทำให้เด็กมีผิวสีเขียวแต่ความเป็นไปได้ว่าทั้งสองอาจเป็นเด็กในป่าที่มีตัวตนจริงในศตวรรษที่ 12 จนกลายมาเป็นต้นเค้าของนิทานพื้นบ้านนี้ยังไม่ควรถูกมองข้ามไปเสียทั้งหมด
สมมติฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุด
Thetford Forest of woolpit
คำอธิบายเรื่องเด็กผิวเขียวซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในขณะนี้เป็นของ Paul Harris ทฤษฎีคร่าวๆจาก Fortean Studies หนังสือของเขาที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1998 เป็นดังนี้...ประการแรกวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ควรเลื่อนออกไปเป็นปี 1173 คือจากรัชสมัยของกษัตริย์สตีเฟ่น เป็นรัชสมัยต่อมาคือเฮนรี่ที่ 2 ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมามีกระแสการอพยพอย่างต่อเนื่องของช่างทอผ้าและพ่อค้าชาวเฟลมิช(ชาวแบลเยียมเหนือ)เข้ามายังอังกฤษ แต่เมื่อเฮนรี่ที่สองขึ้นครองราชย์ผู้อพยพเหล่านี้ถูกกวาดล้างก่อนลงเอยด้วยสงคราที่ฟอร์นแฮมในเมืองซัฟโฟล์คเมื่อปี 1173 ผลคือชาวเฟลมิชหลายพันชีวิตถูกสังหาร
แฮริสตั้งสมมติฐานว่าเด็กทั้งสองนี้ก็คือชาวเฟลมิช นั่นเอง !!...เป็นเด็กที่อาจอาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับหมู่บ้านฟอร์แฮมเซนต์มารติน อันเป็นสถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในเรื่องว่าคือ"ดินแดนแห่งเซนต์มาร์ติน"หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ห่างจากวูลพิตไปเพียงไม่กี่ไมล์ ถูกคั่นกลางด้วยแม่น้ำลาร์ค ซึ่งเป็นไปได้ว่าคือ"แม่น้ำสายใหญ่"ที่เด็กหญิงกล่าวถึงนั่นเอง หลังจากพ่อแม่ถูกสังหารหรือพลัดพรากจากกัน เด็กทั้งสองก็หลบหนีเข้าสู่เขตรกทึบของป่าเธ็ตฟอร์ด
แฮริสเสนอว่าหากเด็กทั้งสองยังคงซ่อนตัวอยู่ในป่าสักระยะโดยไม่มีอาหารลงท้องเลยก็อาจกลายเป็นโรคคลอโรซิส Chlorosis หรือ โรคไข้เขียว(Green sickness) เป็นอาการป่วยที่เกิดจากการขาดเม็ดเลือดแดงจนทำให้ผู้ป่วยมีผิวออกสีเขียว....เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้เด็กมีผิวสีเขียวแฮริสยังเชื่ออีกว่าเด็กสองคนนี้เดินตามเสียงของระฆังโบสถ์จากเมืองเบอร์รี่เซนต์เอ้ดมันส์จนพลัดหลง เดินลงไปในอุโมงค์ของเหมืองใต้ดินไกร์มสเกรฟ (Grimes Grave) อันเหมืองหินเหล็กไฟที่มีอายุย้อนหลังไปมากกว่า 4,000 ปีเด็กทั้งสองเดินไปตามอุโมงค์นี้จนมาโผล่ตรงหมู่บ้านวูลพิตสถานที่ตรงนี้เองที่เด็กท่าทางตื่นกลัวสับสนและหิวโหย อีกทั้งสวมใสเสื้อผ้าแปลกตาแถมพูดภาษาเฟลมิช กลายเป็นตัวประหลาดสำหรับชาวบ้านผู้ไม่เคยพบเคยเห็นชาวเฟลมิชมาก่อน
เหมืองใต้ดิน Grimes Grave อาจเป็นอุโมงค์ที่พี่น้องเด็กผิวเขียวใช้เดินทางมาจนถึงหมู่บ้านวูลพิต
แน่นอนว่าสมตติฐานอันเฉียบคมของแฮริสให้คำตอบที่สมเหตุสมผลต่อปริศนาลี้ลับของหมู่บ้านวูลพิตได้ แต่ว่าเมื่อลงลึกในรายละเอียดจริงๆทฤษฎีสองพี่น้องเด็กกำพร้าเฟลมิชที่หนีภัยสงครามนี้ก็ยังไม่อาจตอบคำถามอยู่หลายข้อ กล่าวคือ ทันทีที่กษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ขึ้นครองอำนาจพระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยขับพวกทหารรับจ้างชาวเฟลมิชซึ่งก่อนหน้านี้เข้ามารับใช้กษัตริย์สตีเฟ่น...ทรงขับไล่ออกจากประเทศแต่การกระทำนี้ไม่น่าจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อช่างทอผ้าและพ่อค้าชาวเฟลมิชผู้อาศัยอยู่ในประเทศนี้มาหลายชั่วคน...แต่ก็ไม่มีใครรู้ประวัติศาสตร์จึงไม่มีผลต่อสมมติฐานของแฮริสมากนัก
อีกอย่างแฮริสยังสมมติฐานอีกว่า ในสงครามกลางเมือง ศึกฟอร์นแฮม 1173 ผู้ถูกสังหารล้มตายเป็นจำนวนมากก็คือ ทหารรับจ้างเฟลมิชนี่เองโดยทหารเหล่านี้ถูกจ้างมารบกับกองทัพของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 เคียงข้างกับอัศวินผู้ก่อการกบฏซึ่งก็ถูกปลิดชีวิตไปมากมายในสงครามเช่นกันคงเป็นเรื่องยากถ้าทหารเหล่านี้จะพาลูกเมียมาด้วย หลังจากถูกตีพ่ายทหารเฟลมิชเดนตายก็กระจัดกระจายไปทั่วตามชนบทเมืองอื่นๆหลายคนถูกชาวบ้านทำร้ายและฆ่าทิ้งแน่นอนว่าเจ้าของที่ดินอย่าง ริชาร์ด เดอคาล์นหรือใครสักคนในครอบครับหรืออาคันตุกะของเขาน่าจะได้รับการศึกษามามากพอจะรู้ภาษาที่เด็กพูดนั่นคือ ภาษาเฟลมิชเพราะในสมัยนั้นคนเฟลมิชคงพอมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกของอังกฤษ
ขอสันนิษฐานของแฮริสที่ว่าขณะเด็กซ่อนตัวอยู่ในป่าเธ็ตฟอร์ดแล้วได้ยินเสียงระฆังโบสถ์จากเมืองเบอรี่เซนต์เอ็ดมันส์จึงเดินตามเสียงไปตามอุโมงค์ใต้ดินจนมาถึงหมู่บ้านวูลพิตก็ยังมีปัญหาเรื่องระยะทางประการแรกเมืองเบอรี่เซนต์เอ้ดมันดส์อยู่ห่างจากป่าเธ็ตฟอร์ดถึง 25 ไมล์ฉะนั้นเด็กคงไม่สามรถได้ยินเสียงระฆังโบสถ์จากระยะไกลขนาดนั้นแน่นอดจากนี้เหมืองหินเหล็กไฟจากถูกจำกัดอยู่ในเขตป่าเธ็ตฟอร์ดเท่านั้นไม่มีอุโมงค์ใต้ดินไปถึงหมู่บ้านวูลพิต(แต่เวลามันก็ผ่านมานานทางที่เด็กทั้งสองก็อาจจะไม่มีในปัจจุบัน)หรือถ้าหากมีจริงระยะทางจากป่าไปยังหมู่บ้านก็เกือบ 32 ไมล์ซึ่งไกลเกินกว่าเด็กอดโซสองคนจะเดินได้ถึงหรือแม้เด็กผิวเขียวจะมาจากฟอร์นแฮมเซนต์มาร์ตินจริง ระยะทางเดินก็ยังเป็น 10 ไมล์ ส่วนแม่น้ำลาร์คที่ถูกอ้างว่าคือ "แม่น้ำสายใหญ่" ตามถ้อยคำของเด็กหญิงก็น่าจะอยู่ไกลเกินเข้าข่าพิจารณา (ทั้งนี้แล้วแต่ความคิดส่วนบุคคลของผู้อ่าน)
เสียงระฆังจากโบสถ์ที่สองพี่น้องได้ยิน
เรื่องเล่าของหมู่บ้านวูลพิตยังมีอีกหลายมิติที่พบได้ในความเชื่อท้องถิ่นของอังกฤษ บางคนมองว่าเด็กผิวเขียวคือบุคลาธอษฐานแทนธรรมชาติในลักษณะคล้ายคลึงกับผีป่ากรีนแมน(Jack in the Green) ตามคติพื้นบ้านของอังกฤษหรือกระทั่งอัศวินเขียวในตำนานกษัตริย์อาร์เธอร์...เด็กสองคนนี้อาจเป็นพวกเอลฟ์ หรือพวกรุขเทวดา(หรือเอเลี่ยนที่อยู่บนโลกมาก่อนมนุษย์เป็นผู้ทรงภูมิ) ซึ่งคนพื้นบ้านในหลายประเทศเชื่อว่ามีจริงจนเมื่อหนึ่งหรือสองศตวรรษมานี้เองความเชื่อดังกล่าวเกี่ยวกับพกวเอล์ฟจึงเริ่มรางเลืองไป แต่หากเรื่องเล่าเด็กผิวเขียวเป็นเพียงนิทานภูตไพรกับนับเป็นการหักมุมแบบไม่คาดคิดอย่างเหลือเชื่อที่ให้เด็กหญิงอยู่กินแต่งงานกับมนุษย์คนหนึ่งโดยไม่ย้อนคืนสู่ภพเดิมของเธอ
ส่วนคำวิจารณ์เจือปริศนาของราล์ฟแห่งคอกกีแชลที่ว่าเด็กหญิงเมื่อเติบโตรุ่นสาวเป็นผู้มี"พฤติกรรมฉาว คบผู้ชายไม่เลือก"มีนัยยะถึงสัญชาติญานดิบเถื่อนบางอย่างแบบภูตไพร? นอกจากนี้ในคติพื้นบ้านอังกฤษสีเขียวยังมักเกี่ยวโยงกับปรโลกและอำนาจลี้ลับความชอบถั่วสีเขียวของเด็กจึงเป็นอีกข้อสังเกตที่ถูกนำมาผูกกับความเชื่อดังกล่าวเพราะเชื่อกันว่าถั่วคืออาหารของคนตายในบางลัทธิของชาวโรมันจะมีเทศกาลประจำปีเรียกว่า เลอมูเรีย (Lemuria) ซึ่งใช้ถั่วเป็นเครื่องเซ่นเพื่อขับไล่ผีร้ายของคนตายออกจากบ้าน ในสมัยกรีกโรมัน และอียิปต์โบราณรวมทั้งอังกฤษสมัยกลางมีความเชื่อคล้ายกันว่าในถั่วมีวิญญานผู้ตายสิงอยู่
แม้เรื่องเล่าแห่งหมู่บ้านวูลพิตจะปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลเมื่อศตวรรศที่12 แต่ก็ควรพึงระลึกว่าจดหมายเหตุในเวลานั้นนอกจากจะบันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองและศาสนาแล้วยังมีอีกมากมายหลายกรณีที่ได้จดจำถึงเรื่องประหลาด ปาฏิหาริย์และโชคชะตาราศี อันเป็นสิ่งที่คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยยอมรับแต่เป็นความเชื่อกันอย่างกว้างขวางในสมัยนั้นแม้แต่ผู้มีการศึกษาทั้งชายและหญิง...ถ้าเช่นั้นวิญานประหลาดของเด็กผิวเขียวก็อาจเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงและขมขื่นผสมผสานเข้ากับนิทานปรัมปราและคติความเชื่อท้องถิ่นเรื่องผีสาวนางไม้ไปจนถึงชัวิตหลังความตาย
ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไรเรื่องเล่าเด็กผิวเขียวยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาลี้ลับที่สุดของอังกฤษตลอดไปเว้นเสียแต่ว่าเชื้อสายของแอกเนส แบร์เรจะถูกสืบเสาระได้หรือค้นพบเอกสารหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมอีก...(แต่ยังไงซะเรื่องไหนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องลี้ลับติดอันดับ Top ten แล้วนั้นต่อให้หาคำตอบได้ ยังไงเราก็ต้องสงสัยในคำตอนนั้นอยู่ดี.)
พูดถึง Green Children of Woolpit รู้สึกจะติดอันดับ1 ใน10อันดับบุคลลึกลับ
แล้วก็เป็น 1 ในอันดับ 10 เหตุการณ์ที่ทำให้เชื่อว่ามนุษย์ต่างดาวมีจริง
พูดถึงเด็กเขียว แล้ว ก็นึกถึง "โรค" เพราะโรคที่เป็นแล้วผิวเขียวมันก็มีอยู่นา
โรค Green Sickness (โรค ไข้เขียว)
http://chestofbooks.com/referenc ... Green-Sickness.html