ไข่ที่นำมาทำไข่เยี่ยวม้าใช้ได้ทั้งไข่ไก่ไข่เป็ด พอกด้วยส่วนผสมดังนี้คือ ใบชา ปูนขาว เกลือป่น ขี้เถ้า โดยนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกปนกับน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก็ได้ ให้เหนียวขนาดแป้งเปียก แล้วพอกไข่หนา ๗-๑๐ เซนติเมตร หลังจากนั้นก็นำไปคลุกแกลบ บรรจุลงภาชนะ เช่น ไห โอ่ง ถังไม้ ใช้กระดาษน้ำมันหรือพลาสติกปิดฝากันอากาศเข้า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ ๒๔-๒๕ องศาเซลเซียส เปิดฝาทุก ๗ วันเพื่อกลับไข่ให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางเก็บไว้นาน ๔๐-๕๐ วันก็กินได้ หรืออาจบรรจุภาชนะปิดฝาฝังดินไว้นาน ๕-๖ เดือน ไข่ที่ได้ที่แล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน ๑ ปีไข่เยี่ยวม้าที่ดี ไข่ขาวต้องเป็นสีน้ำตาลคล้ำใส
เชื่อกันว่าไข่เยี่ยวม้าเป็นอาหารบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตทำให้เจริญอาหาร ผู้ผลิตบางรายอาจใส่สารตะกั่วลงไปด้วยเพื่อควบคุมความเป็นกรดด่างของไข่ สารตะกั่วนี่เองที่ทำให้ไข่เยี่ยวม้าเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยนัก
การทำไข่เยี่ยวม้า โปรตีนและ ฟอสโฟไลปิด (phospholipids) บางส่วนในไข่จะสลายตัวทำให้เกิดแอมโมเนีย นอกจากนี้ไขมันในไข่แดง (yolk fat) ก็ลดน้อยลงไปด้วย ได้มีการศึกษาเรื่อง การทำไข่เยี่ยวม้าว่าในกระบวนการทำไข่เยี่ยวม้านั้น ไข่ที่ใช้ถ้ามีเชื้อ Salmonella (เป็นเชื้อโรคทำให้เกิดท้องร่วง ท้องเสีย) หรือเชื้อโรคจำพวก พาราไทฟอยด์อยู่ เมื่อทำเป็นไข่เยี่ยวม้าได้ที่แล้วเชื้อนี้จะตายไป
ถึงแม้ว่าไข่เยี่ยวม้ามีประโยชน์ในการบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต ก่อให้เกิดกำลังและเจริญอาหาร แต่ในกระบวนการผลิตไข่เยี่ยวม้าบางครั้ง ผู้ผลิตจะใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้คงที่ ซึ่งช่วยให้ไข่ขาวแข็งตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในไข่เยี่ยวม้า จึงอาจมีสารตะกั่วในรูปของตะกั่วซัลไฟด์อยู่ โดยสังเกตได้จากส่วน ของไข่ขาวจะมีสีดำมาก ลักษณะขุ่น ส่วนไข่เยี่ยวม้าที่ไม่มีตะกั่วซัลไฟด์ ไข่ขาวจะมีสีน้ำตาลคล้ำและมีลักษณะใส ซึ่งถ้าพบไข่เยี่ยวม้ามีลักษณะ ไข่ขาวขุ่นไม่ใสก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน
กล่าวง่าย ๆ คือ การที่ไข่เยี่ยวม้ามีสีดำนั้นมีผลจากการใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) นั่งเองครับ