7ปฏิทินเกิดขึ้นมาจากการที่นักวิทยาศาสตร์สังเกต และบันทึกการเปลี่ยนแปลง การขึ้น-ลงของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการผ่านพ้นไปในแต่ละวัน และกลายเป็นเดือน เป็นปี ปฏิทินในยุคแรก ใน 1 เดือน จะมี 29-30 วัน และในช่วง 1 เดือนนั้น ดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงจากข้างขึ้นไปเป็นข้างแรม 1 รอบ เมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดครบ 12 รอบ จึงเกิดเป็น 12 เดือนใน 1 ปี แต่ในช่วง 1 ปีของปฏิทินที่เทียบจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์จะสั้นกว่าที่เป็นจริง ชาวอียิปต์จึงสร้างปฏิทินขึ้นใหม่โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์แทน ซึ่งจะได้ปฏิทินใหม่ที่มี 30-31 วัน ใน 1 เดือน และมี 365 วัน หรือ 12 เดือนใน 1 ปี
เมื่อมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ต่างๆ มนุษย์จึงเริ่มมีการทำกิจกรรมมากขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่ตามมาก็คือความต้องการในการกำหนดเวลา เพื่อให้มีบทบาทในการกำหนดขอบเขตในการทำกิจกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ เช่น การศึกษา การทำงาน การเล่นกีฬา เป็นต้น มนุษย์ใช้การสังเกตเงาจากดวงอาทิตย์ที่ทาบลงวัตถุบนพื้นโลกใน 1 วัน จึงเกิดการนับช่วงเวลาเป็น ชั่วโมง นาที และวินาทีขึ้น
แล้วทำไมถึงต้องมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันพิเศษอีก 1 วัน ซึ่งจะเวียนมาในทุกๆ 4 ปี ทำให้ในปีนั้นมี 366 วันเกิดขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าจริงๆ แล้วโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบใช้เวลา 365 วันกับอีก 5 ชั่วโมง 48 นาที และ 45 วินาที เมื่อนำเวลาที่เกินมาในแต่ละปีนั้นมารวมเข้าด้วยกันในทุกรอบ 4 ปี ก็จะได้วันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน จึงเกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ขึ้น การกำหนดให้ในช่วงรอบ 4 ปี โดยที่ 3 ปีมี 365 วัน และอีก 1 ปีมี 366 วัน ทำให้ปฏิทินที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำขึ้น
1 วัน มีกี่ชั่วโมงนั้นก็เพราะกำหนดจากระยะเวลาการหมุนของโลกรอบตัวเอง ส่วนหนึ่งปีมีกี่วันนั้นก็คิดมาจากระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ใครเป็นผู้กำหนดวันเวลานั้นไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ เพราะเวลานั้นเกิดจากการพัฒนาและเรียนรู้ของมนุษย์มานานหลายพันปี
มนุษย์สมัยโบราณเรียนรู้และกำหนดเวลาจากวงรอบทางดาราศาสตร์ โดย "วัน" มาจากการหมุนของโลกรอบแกนใน 24 ชั่วโมง (ปัจจุบันโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.56. 1 ชั่วโมง) "เดือน" มาจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อนับวันเทียบกับการโคจรของดวงอาทิตย์ก็พบว่าจันทร์เต็มดวงจะเวียนมาครบรอบใหม่ทุกๆ 29 .5 วัน ส่วนปีก็คือเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ (365.242199 วัน)
ที่มา เว็บไซต์ icphysics.com