ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้

แสดงลักษณะของพื้นผิวใบบัวที่เป็นปุ่ม

หลายคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้ พื้นผิวของใบบัวมีลักษณะพิเศษ ตรงที่มีความขรุขระเกิดจากการมีปุ่มขนาดประมาณ 10 ไมครอนกระจายอยู่ตามผิวใบบัว โดยที่แต่ละปุ่มก็จะมีปุ่มเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ไมครอนกระจายอยู่รอบ ๆ ปุ่มใหญ่ ดังแสดงในรูป ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้การสัมผัสของหยดน้ำกับพื้นผิวใบบัวน้อยกว่าที่จะเป็น เป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์การไม่ชอบน้ำของใบบัวเกิดขึ้น (Lotus Effect)


กล่าวง่าย ๆ คือ เพราะโมเลกุลของน้ำเป็นทรงกลมและใบบัวมีลักษณะขรุขระเล็กแค่10ไมครอนโมเลกุลของน้ำจึงไม่สามารถจับผิวของใบบัวได้   ถ้ามีการขยับใบบัวไปมาโมเลกุลของน้ำจะพยายามอยู่เสมอจึงกลิ้งไปมาได้ครับ ว่ากันว่าแนวความคิดแบบนี้ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำมาพัฒนาเป็นกะทะที่น้ำมันหรืออาหารก็ไหม้ไม่ติดกะทะ และตอนนี้ก็ได้มีการนำมาพัฒนาเป็นสีทาบ้านที่เคลือบเทฟลอน ซึ่งฝุ่นและสิ่งสกปรกจะไม่เกาะติดผนังบ้านทำความสะอาดก็ง่ายและล้างคราบไคล์ได้ครับ อย่างที่เราเห็นในโฆษณาที่มีกบสองตัวสู้กันน่ะแหละครับ

Credit: ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้
3 ต.ค. 52 เวลา 18:17 16,726 15 56
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...