กลุ่มเมฆที่ 1 : ประเทศไทยตอนบนท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก ไม่มีฝนและอากาศหนาว เนื่องจากมีมวลอากาศเย็นปกคลุมอยู่
กลุ่มเมฆที่ 2 : พายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก เคลื่อนตัวทางตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปมีฝนตกเป็น บริเวณกว้างและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ รวมทั้งคลื่นลมแรง
น้ำท่วม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุตุนิยมวิทยา, ลูกเมย์ Facebook Teerada
ประกาศเตือนภัย "พายุดีเปรสชันในอ่าวไทย" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 02 พฤศจิกายน 2553
เมื่อ เวลา 05.00 น. วันนี้ (2 พ.ย) พายุดีเปรสชันบริเวณ จังหวัดตรัง โดยมีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง คาดว่า จะเคลื่อนตัวในแนวจังหวัดกระบี่ และภูเก็ต ต่อจากนั้นจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามัน ในเช้าวันนี้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปมีฝนตกเป็น บริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ รวมทั้งคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร
ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหล ผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่ทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวัง อันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าสู่ฝั่ง ชาวเรือควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
อนึ่ง ในระยะ 3-4 วันนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปก คลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปกับมีลมแรง สำหรับภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภู อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและเตือนภัย จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
น้ำท่วมพัทลุง
สถานการณ์น้ำท่วมพัทลุง ล่าสุด 4-5 อำเภอซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดสงขลา ได้รับผลกระทบหนัก โดยพายุได้พัดหลังคาบ้านเรือนประชาชนเสียหายหลายหลัง ขณะนี้เจ้าหน้าที่เร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางจังหวัดพัทลุงได้ประกาศเขตภัยพิบัติแล้ว 9 อำเภอ
น้ำท่วมนครศรีธรรมราช
จากสถานการณ์น้ำท่วม จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อคืนที่ผ่านมา ตลอดทั้งคืน ฝนยังคงตกทั่วทั้งจังหวัด พร้อมกับมีลม ซึ่งเป็นผลพวงจากปลายดีเปรสชั่นพัดกรรโชกอย่างรุนแรงตลอดเวลา สำหรับคลื่นลมในทะเลที่พัดเข้าชายฝั่ง ในหลายอำเภอที่อยู่ติดทะเล คลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร โดยเฉพาะแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง ได้ทำการอพยพชาวบ้านออกจากแหลม ตั้งแต่เมื่อเย็นวานนี้ และที่ตัวเมืองเทศบาลเมืองทุ่งสงนั้น เมื่อเช้านี้ น้ำจากเทือกเขาบรรทัด เริ่มไหลหลากเข้าท่วมในเขตเทศบาล ชาวบ้านเริ่มขนของหนีน้ำกันแล้ว และทางเทศบาลพร้อมด้วย ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 อำเภอทุ่งสง พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านตลอดเวลา
น้ำท่วมตรัง
ส่วนที่จังหวัดตรัง น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง และอำเภอรัษฎา ส่งผลให้เส้นทางสาย ตรัง-พัทลุง ถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทำให้หลายพื้นที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
น้ำท่วมปัตตานี
สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ จ.ปัตตานี ล่าสุดมีน้ำท่วมขังทุกพื้นที่ ทั้ง 12 อำเภอของ จังหวัดปัตตานี โดยบางพื้นที่ของ อำเภอมายอ อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง รถไม่สามารถผ่านได้ น้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร และประชาชน อำเภอมายอ ประมาณ 15 ครัวเรือน กำลังต้องการความช่วยเหลือ
เบอร์ติดต่อสอบถามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ - จังหวัดสงขลา
- สายตรง นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ศาลากลางจังหวัดสงขลา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 0-7432-3874, 0-7431-3126 โทรสาร(FAX) 0-743-13126
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา 418 ม.6 ถ.สายสนามบิน ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ 90110 โทรศัพท์ 0-7425-1160-3 โทรสาร(FAX) 0-7425-1166
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา อาคารศาลาประชาคม ถ.ราชดำเนิน อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 0-7431-6380-2 โทรสาร(FAX) 0-7431-6382
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 0-7430-3100
- เทศบาลนครหาดใหญ่ สายด่วนกุญชร 1559
- เทศบาลเมืองคอหงส์ 0-7428-0004
- เทศบาลเมืองคลองแห 0-7458-0888 สายด่วน 1132
- อ.เบตง จ.ยะลาเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ออกช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง โทรศัพท์ 0-7323-0478
- ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. 0-7420-0000, 0-7420-0007 หรือสายด่วน 1559
- นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี ผช.คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ สงขลานครินทร์ 0-8696-91017
- นพ. เกียรติศักดิ์ ราชบรีรักษ์ ผช ผอ รพหาดใหญ๋ 0-8189-79164
อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือ
- ศูนย์วิทยุกู้ภัยมิตรภาพสามัคคีท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง 074-350955
- ศูนย์นเรนทร สงขลา 1669
สถานีวิทยุที่รายงานสถานการณ์น้ำท่วม
- สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม 88.0 ฟังออนไลน์ http://www.psuradio88.com/
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา เอฟเอ็ม 90.50 โทรศัพท์ 0-7433-3220-1 โทรสาร 0-7433-3555 ฟังออนไลน์ region6.prd.go.th
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โทร.1555 และ 0 2248 5115 ตลอด 24 ชั่วโมง
- ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24
การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม
1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
13. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
14. เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
15. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
16. หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง ๆ