ประเภทหัวกระสุนชนิดต่างๆ ที่น่าสนใจ

ประเภทหัวกระสุนชนิดต่างๆ ที่น่าสนใจ


FMJ = Full Metal Jacket

หัวกระสุนแบบ FMJ (Full Metal Jacket) หรือกระสุนหัวบอลหรือหัวเคลือบเปลือกแข็ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดอันดับ 1 เพราะเกิดการติดขัดในการป้อนกระสุนน้อยกว่าหัวกระสุนแบบอื่น ๆ รวมไปถึงหาซื้อได้ง่ายและราคาถูกมากกว่าหัวกระสุนแบบอื่น ๆ

หัวกระสุน FMJ นี้ มีส่วนประกอบภายในมาจาก ตะกั่ว และทำการเคลือบสารที่มีความแข็งตัวภายนอกของหัวกระสุนครับ

หัวกระสุนที่มีคำว่า Jacket แสดงว่ามีเปลือกหุ้ม โดยมากจะเป็นทองแดง แต่ก็มีโลหะอื่นด้วย เช่นทองเหลือง เหล็ก นิเกิล การหุ้มหัวตะกั่วด้วยเปลือก มักจะทำในกระสุนความเร็วสูง เพราะถ้าไม่หุ้ม ด้วยความเร็วของหัวกระสุน จะทำให้มีคราบตะกั่วติดอยู่ที่ลำกล้อง ทำให้เป็นปัญหาในการใช้งานต่อเนื่อง ... กระสุนปืนกึ่งออโต มักจะหุ้มทั้งนัด (Full Metal Jacket) เพื่อช่วยในการป้อนกระสุนด้วย
หัวกระสุนชนิดนี้ ให้อำนาจในการทะลุทะลวงสูง พลังทำลายระดับมาตรฐานทั่วไป

 

 

 JHP = Jacketed Hollow Point

หัวกระสุนแบบ JHP หรือ Jacketed Hollow Point หรือกระสุนหัวรูหรือหัวรูเคลือบเปลือกแข็งนั้นเอง (อาจมีคำถามต่อมาว่า ใช่หัวระเบิดหรือเปล่า)
หัวกระสุนชนิดนี้ ภายในก็ผลิตมาจากวัสดุเช่นเดียวกันกับหัวกระสุนแบบ FMJ ครับ ได้แก่ ตะกั่วและสารเคลือบแข็งโดยรอบ แต่หัวกระสุนแบบ JHP นั้น จะถูกออกแบบให้มีการแบะบานหรือเสียรูปทรงได้ง่าย เมื่อกระทบกับเป้าหมาย การออกแบบให้หัวกระสุนเสียรูปทรง นั้นอาจทำได้หลายวิธี เช่น การเจาะรูตรงกลางของหัวกระสุน เป็นต้น


หัวกระสุนที่มีคำว่า Hollow point แสดงว่ามีรูที่หัวกระสุน โดยมากจะเป็นกระสุนป้องกันตัว เพราะจะใช้รูนี้ในรวบรวมน้ำในร่างกาย ให้เกิดความดัน ดันให้หัวกระสุนบานออก (ในร่างกาย) ช่วยเพิ่มพื้นที่หน้าตัด ทำให้การถ่ายเทพลังงานในการทำลายเนื้อเยื่อ ได้ดีกว่ากระสุนที่ไม่บาน ... กระสุนแบบนี้เมื่อกระทบของแข็ง ก็มักจะเสียรูป หมดแรงอย่างรวดเร็ว ... กระสุนหัวรูบางแบบก็ยิงได้แม่นยำ ดังนั้นก็มีการนำกระสุนหัวรูมาใช้ในการแข่งกีฬาด้วย

กระสุน JHP นั้น มักมีราคาสูงกว่ากระสุน FMJ อำนาจในการทะลุทะลวงมีต่ำกว่ากระสุนแบบ FMJ แต่จะได้ในการถ่ายเทพลังงานไปยังเป้าหมายได้ดีกว่ากระสุนแบบ FMJ (ในสถานะที่เหมาะสม)

หัวกระสุนชนิดนี้ มีพลังทำลายสูงกว่าหัวกระสุน FMJ มากขึ้นในเรื่องหลักการในการถ่ายโอนพลังงานใส่เป้าหมาย  เเต่อำนาจในการทะลุทะลวงต่ำนั้นเอง เป็นหัวกระสุนที่ยิงคนเเล้วปลอดภัยจากคนอื่นที่ใม่เกี่ยวข้องนั้นเอง 

 

JSP = Jacketed Soft Point

    JSP=Jacketed Soft-Point อันนี้จะเป็นลูกผสม ยิงนุ่มนวล จะถูกกับปืนที่ชอบแรงขับต่ำครับ หาอาจจะยากหน่อยครับ เป็นกระสุนหัวอ่อนฐานเคลือบเปลือกแข็ง
    กระสุนที่คล้าย ๆ Hollow point อีกแบบก็คือ Jacketed Soft Point คือเป็นหัวเคลือบ แต่ปลายเปิดให้เห็นตะกั่วไว้  ที่ปลายเป็นตะกั่วจะเสียรูปได้ง่ายกว่าเปลือกที่เคลือบ .... ตามหลักก็น่าจะมีอำนาจในการเจาะลึกมากกว่า Hollow Point และการที่ปลายหัวไม่มีรู ทำให้มีความมั่นใจในการป้อนกระสุนมากกว่า (ปืนกึ่งออโต)

 

 

LRN = Lead Round Nose

กระสุนหัวตะกั่วมน

 

 

LWC = Lead Wadcutter

 

   

LSWC = Lead Semi - Wadcutter

กระสุนหัวตะกั่วล้วนกึ่งตัด 

กระสุนที่เข้าใจผิดกัน แบบหนึ่งคือ Lead Round Nose/Lead Wadcutter ซึ่งภาษาไทยเรียกว่า "ลูกซ้อม" ซึ่งเป็นหัวตะกั่วล้วน เคลือบไขหล่อลื่น โดยมากใช้ในการแข่ง/ซ้อมยิงปืน เพราะหัวตะกั่วราคาต่ำสุด .... แต่บางคนเข้าใจผิดว่า เป็นลูกซ้อม ยิงคนไม่ตาย ... ซึ่งความจริงแล้ว ยิงคนตายได้เหมือน ๆ กัน พลังทำลายต่ำนิยมใช้กับกระสุนขนาด .22 , .38 น่ะครับ เเต่ความเเม่นยำสูงมากครับ

หัวกระสุนที่มีคำว่า LEAD คือลูกตะกั่ว

หัวกระสุนที่มีคำว่า Wadcutter เชื่อได้ว่าใช้ยิงเป้าแน่นอน เพราะจะมีขอบสำหรับตัดเป้ากระดาษให้นับคะแนนให้ชัด

 
FMJ – SWC = Full Metal Jacket Semi - Wadcutter

กระสุนหัวบอลลกึ่งตัด

 

 
JHP-SWC = Jacketed Hollow Point Semi-Wadcutter

กระสุนหัวรูกึ่งตัด

 

 

Hydra-Shock เป็นกระสุนที่ผลิตโดยบริษัท Federal หัวกระสุนเป็นแบบ JHP หรือ เรียกว่า หัวรู  และจะมีแกนตรงกลาง ขนาดกระสุนที่ผลิตออกมาขาย มี ขนาด 9mm, 10mm, 32 ACP, 380 ACP, 38 S&W Special, 357 S&W Magnum, 40 S&W, 45 ACP, 45 GAP, 44 S&W Magnum

หัวรูภายในมีก้านตะกั่วลักษณะคล้ายเข็มอยู่ตรงกลางเพื่อช่วยการบานตัว เวลากระทบเป้าหมายส่วนด้านนอกเคลือบทองแดงเอาไว้ทุกวันนี้ยังขายไห้กับ ประชาชนตามปรกติอยู่ร้านปืนบ้านเราก็มีขาย(เป็นบางจังหวะ)

จะมีแบบ 

+P  คือ แรงธรรมดา
+P+  คือ  แรงสุด        ทำเพื่อให้ใช้กับ Law Enforcement  แต่คนธรรมดาก็ซื้อได้ครับ
Low recoil    ออกแบบให้คนธรรมดาใช้ป้องกันตัว Personal Defense ครับ

ความร้ายแรงและความแรง  สูสีกับ cor-bon, silver tip

อำนาจในการทะลุทะลวงต่ำเเต่พลังทำลายสูงขึ้นในเรื่องหลักการในการถ่ายโอนพลังงานใส่เป้านั้นเอง

 
BLACK TALON

Black talon ผลิตโดย Winchester เป็นหัวรูกลวงเคลือบด้วยวัสดุอะไรก็ไม่ทราบแข๊งแต่เปราะแตกง่ายและคมมาก เมื่อแตกบากเป็นร่องร่องทางหัวกระสุนเพื่อช่วยให้แตกง่ายเหมือนสะเก็ดระเบิด เข้าไปทำความเสียหายให้เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อของเป้าหมาย ความที่มันคมมากเลยมีปัญหากับหมอเวลาทำผ่าตัดช่วยคนเจ็บสะเก็ดมักบาดมือหมอ เป็นแผลทำให้หมอกลัวว่าจะติดเชื้อโรคจากคนใข้ทำให้ทุกวันนี้ในอเมริกาห้าม ขายให้กับประชาชนทั่วไป

ปัญหาของ BlackTalon ในอเมริการที่ถูกห้ามผลิตต่อเนื่องจาก สร้างปัญหาในการผ่าตัดให้แก่ศัลยแพทย์ที่จะผ่าตัดเอาหัวกระสุนออกเพราะ เปลือกกระสุนมีความคมมาก แพทย์ผู้ผ่าตัดอาจถูกเปลือกกระสุนบาดในขณะที่ทำการผ่าตัดและติดเชื้อได้ ทำให้ถูกห้ามผลิต แต่ทางบริษัทได้ผลิตกระสุน SXT มาทดแทนตลาดส่วน

กระสุน BlackTalon เน้นการบานขยายเป็นหลัก เพื่อสร้างบาดแผลด้วยความแหลมและคมของเปลือกกระสุนที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ เมื่อบานขยายปลายกลีบของหัวกระสุนจะงุ้มกลับเหมือนเล็บเหยี่ยวน่าจะเรียกได้ ว่าเป็นกระสุนฝังโดยตรงเลยมั้งน่ะ 

 

AP = ARMOR PIERCING

หัวกระสุนเเบบ AP หรือชื่อเต็มมัน ARMOR PIERCING หรือหัวกระสุนเจาเกราะนี้เอง ซึ่งหัวกระสุนจะมีขนาดความเเหลมคมเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจาะ เกราะเสื้อเกราะกันกระสุนได้ทะลุทะลวงสูงขึ้น อำนาจในการยิงทะลุทะลวงใส่เป้าหมายก็สุงขึ้นด้วยเช่นกัน ขนาดกระสุนที่ผลิตออกมาขายมีหลายขนาดมาก เเต่ที่นิยมสุดก็คงจะเปนกระสุน 5.7 x 28 MM , 4.6 x 30 MM เป็นต้น

 

METAL PIERCING
หัวกระสุนเจาะโลหะ เพิ่มประสิทธิในการยิงทะลุทะลวงกำเเพงเเละพวกเหล็กเเละโลหะที่สูงขึ้นนั้นเอง  



GOLDEN SABER

เป็นกระสุนหัวรูเเฉกคม GOLDEN SABER เมื่อบานออกจะมีกรงเล็บ เหมือนเหยี่ยว แหลมคม ฉีกเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดีมาก เหมือน BLACK TALON เหมือนกัน หัวกระสุน BLACK TALON เมื่อกระทบกับเป้าหมาย กระสุนหัวรูเเฉกของมันจะบานออกมากขึ้น เเละมีความคมกริบของหัวกระสุนขณะบานมากๆด้วย ให้มีอำนาจในการสร้างบาดเเผลจากข้างในได้กว้างด้วย

BLACK TALON จะมีอำนาจในด้านความคมกริบของหัวกระสุนขณะบานขยายใส่เป้าหมายได้เเรงกว่า GOLDEN SABER นั้นเอง

 

Ranger SXT

คือกระสุนเดียวกันกับ BLACK TALON เพียงแต่ไม่ได้เคลือบหัวดำไว้นั้นเอง 


ลองมาดูหัวกระสุนที่ทดสอบการยิงแล้ว โดยใช้สมุดโทรศัพท์ชุบน้ำจนชุ่ม ( "poor man's ballistic gelatin" )

 

รูปแรกเป็นกระสุน FMJ ขนาด .45 , 9mm ซึ่งจะเห็นได้ว่า หัวยังคงรูปเดิมไว้ เพราะหัวกระสุนทะลุออกไป ถ้าเป็าหมายเป็นคนร้าย และไม่ได้โดนยิงเข้าจุดสำคัญ ก็ยังสามารถต่อสู้ได้ เพราะบาดแผลที่ได้รับจาก หัว FMJ ไม่ใช่บาดแผลฉกรรณ์ 

 ต่อไปมาดูอำนาจการบานของกระสุนหัวรูเเต่ล่ะรุ่นกัน ว่าบานมากเเรงเเค่ไหนกัน
Lead Round Nose 



รูปนี้เป็นกระสุน Winchester Slivertips ขนาด 9mm , .40S&W , .45ACP

 

 รูปนี้กระสุน Hyder shok ผู้ทดสอบบอกว่า ใช้ได้ดีมากๆกับปืนลำกล้องไม่เกิน 3"

 

รูปนี้ Speer Golddot ผู้ที่ทดสอบบอกว่า ใช้ได้กับทุกความยาวของลำกล้อง


 

 

รูปนี้ Winchester Black Talon / Ranger SXT
 


กระสุน Corbon (ซ้าย) Federal EFMJ (ขวา)( Expanding Full Metal Jacket ) ผู้ทดสอบบอกว่า กระสุน Corbon ได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะไม่บานออกเต็มที่
ลูก Fedearl EFMJ สำหรับท่านที่มีความเชื่อว่า กระสุน FMJ เหมาะสมกับปืน semi-auto มากกว่า เพราะไม่ใจในการป้อนลูกเข้ารังเพลิงของลูกกระสุน หัวรู กระสุน Federal EFMJ น่าจะเหมาะกับท่านเพราะ ได้ทั้งความมั่นใจ ในการป้อนลูก และได้ทั้งความมั่นใจในอำนาจการหยุดยั้ง The best of both World !!!

 

นัดซ้าย เรมิงตัน โกลเดลเซเบอร์ แจ๊กเก็ต มักจะแยกจากตะกั่ว บานเต็มที่ ตะกั่วไปทาง แจ๊กเก็ตไปทางนัดกลาง ไฮดร้าช๊อก มักจะขยายหน้าตัด แผ่บานออก โชว์แกนกลาง แบบที่โชว์ข้างกล่อง เรียกว่า ไปทั้งดุ้น 

ก่อนจะเข้าเรื่องกระสุนแบบต่างๆ ของคุณผมขอเกริ่นก่อนว่าข้อมูลที่ผมจะนำมาเสนอต่อไปนี้คัดมาจากหนังสือของ Evan R. Marshall Edwin J. Sanow ชื่อ Street Stopper ฉบับพิมพ์ปี 1996 ซึ่ง 2 นายนี่เขารวบรวมสถิติผมจากการยิงต่อสู้ด้วยปืนในเมกาที่เกินขึ้นจริงแล้วคำ นวนสถิติการยิงโป้งเดียวจอดเป็น % (One Shot Stop-OSS) ของกระสุนขนาด/ยี่ห้อและแบบต่างๆ นับจากการโดนยิงบริเวณลำตัวไม่นับหัวกับคอ (เพราะผลของแต่ละขนาดไม่ต่างกันนัก) โดยผู้ที่โดนยิงโป้งเดียวจอดคือ

1. หยุดการตอบโต้ในทันที

2. ถ้าวิ่งต้องล้มภายใน 3 ก้าวหรือ 10 ฟุตและหยุดการตอบโต้

ดูแล้วก็เข้าท่าดีแต่ก็การวิเคราะห์หาผลของเขามีข้อบกพร่องคือ

1. ปืนที่ใช้ยิงในกรณีต่างๆ ลำกล้องยาวไม่เท่ากัน

2. บริเวณลำตัวก็มีจุดสำคัญต่างกัน การที่ยิงโดนอวัยวะสำคัญย่อมส่งผลต่างออกไป

3. คนที่โดนยิงมีขนาดร่างกาย/ความแข็งแรงและความมุ่งมั่นในการต่อสู้ไม่เท่ากัน

4. บางครั้งข้อมูลของการยิงด้วยกระสุนแบบต่างๆ ของยี่ห้อต่างๆ มีนำมาคำนวณน้อยเกินไป

ดังนั้นผมว่าเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบกระสุนคนละยี่ห้อที่ขนาดเดียวกัน แบบเดียวกัน (เช่น หัวรูหุ้มแข็ง) นน. หัวกระสุนเท่ากัน แต่สามารถสรุปข้อมูลที่พอเชื่อได้คือ

1. กระสุนขนาดเล็กบางแบบมี OSS ดีกว่ากระสุนขนาดใหญ่กว่าบางแบบ

2. กระสุนขนาดเท่ากัน แบบเดียวกัน แต่ นน. หัวกระสุนต่างกัน เช่น JHP 9 มม. พารา 124 เกรน กับ 147 เกรน จะมี OSS ไม่เท่ากัน

3. ในเรื่องการทะลุทะลวงพบว่ากระสุนหัวหนักกว่าความเร็วต่ำกว่ากลับทะลุมากกว่า ครับ เรื่องนี้ต้องเป็นการเปรียบเทียบในช่วงต่างกันระดับหนึ่งนะครับ แต่ผลการเปรียบเทียบกระสุนใช้งานเร็วกว่าเสียงกับซับโซนิกเป็นดังกล่าว เรื่องหลักการทางฟิสิกส์ไม่ทราบแต่เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ถ้าขับรถบรรทุกกับรถเก๋งวิ่งเร็วเท่ากันแล้วดับเครื่องปล่อยให้รถไหลไปหยุด เองรถบรรทุกจะไหลไปไกลมากกว่า ตอนมีเรื่อง FBI ยิงกับผู้ร้าย 2 คน ที่ไมอามี่ก็มีผลเรื่องหนึ่งออกมาคือหัวกระสุน Winchester Silvertip 115 เกรน ที่ FBI ใช้ทะลุเข้าไป "เกือบ" จะทำลายจุดสำคัญได้ ช่วงนั้นเลยนิยมกระสุนซับโซนิกกันมาก

ต่อไปนี้จะแสดงข้อมูลของกระสุน .45 ของคุณดังนี้ (ข้อมูลในส่วนมาจากการทดสอบ “ควร” มาจากปืนลำกล้องยาวเท่ากัน แต่หนังสือไม่ได้แจ้งไว้ครับ)

1. Federal Hydrashok นน. หัวกระสุน 230 เกรน ความเร็ว 850 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 12 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .78 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 369 ฟุต ปาวด์ OSS 94%

2. Federal Hydrashok +P นน. หัวกระสุน 185 เกรน ความเร็ว 1,140 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 12.9 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .69 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 534 ฟุต ปาวด์ OSS ไม่บอก

3. Remington Golden Saber นน. หัวกระสุน 230 เกรน ความเร็ว 875 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 14.3 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .75 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 391 ฟุต ปาวด์ OSS 93%

4. Remington Golden Saber นน. หัวกระสุน 185 เกรน ความเร็ว 1,015 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 13 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .70 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 423 ฟุต ปาวด์ OSS ไม่บอก

5. CCI Gold Dot นน. หัวกระสุน 185 เกรน ความเร็ว 1,050 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 12 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .60 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 453 ฟุต ปาวด์ OSS ไม่บอก

6. Winchester Silvertip นน. หัวกระสุน 185 เกรน ความเร็ว 1,000 ฟุต/วิ. ยิงทะลุก้อนเจลาติน 12 นิ้ว กระสุนบานจนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง .79 นิ้ว พลังงานปากกระบอก 411 ฟุต ปาวด์ OSS 82%

ส่วนข้อมูล 9 พารา มีดังนี้ครับ

Federal Hydrashok +P+ นน. หัวกระสุน 124 เกรน ความเร็ว 1220 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาตินเป็นนิ้ว 13.4 นิ้ว % การหยุดยั้ง 84

Federal Hydrashok นน. หัวกระสุน 124 เกรนความเร็ว 1120 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาตินเป็นนิ้ว 13.4 นิ้ว % การหยุดยั้ง 80

Federal Hydrashok นน. หัวกระสุน 147 เกรน ความเร็ว 1000 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 14.3 นิ้ว % การหยุดยั้ง 78

Winchester Silvertip นน. หัวกระสุน 115 เกรนความเร็ว 1225 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 8 นิ้ว % การหยุดยั้ง 84

Federal NYLHP นน. หัวกระสุน 124 เกรน ความเร็ว 1120 ฟุต/วินาที ระยะที่ยิงทะลุเจลาติน 11.5 นิ้ว % การหยุดยั้ง 81

Federal JHP นน. หัวกระสุน 147 เกรน ความเร็ว 975 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 15.9 นิ้ว % การหยุดยั้ง 76

Winchester SXT นน. หัวกระสุน 147 ความเร็ว 990 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 15.8 นิ้ว % การหยุดยั้ง ไม่แจ้ง

CCI Gold dot นน. หัวกระสุน 115 เกรน ความเร็ว 1200 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาตินเป็น 17 นิ้ว % การหยุดยั้ง ไม่แจ้ง

CCI Gold dot นน. หัวกระสุน 124 เกรน ความเร็ว 1150 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 12.8 นิ้ว % การหยุดยั้ง ไม่แจ้ง

Gelser Blue นน. หัวกระสุน 80 เกรน ความเร็ว 1650 ฟุต/วิ ยิงทะลุเจลาติน 6 นิ้ว % การหยุดยั้ง ไม่แจ้ง

CCI Gold dot นน. หัวกระสุน 147 เกรน ความเร็ว 985 ฟุต/วินาที ยิงทะลุเจลาติน 14.5 นิ้ว % การหยุดยั้ง ไม่แจ้ง


ต่อมาเมื่อเขารวบรวมข้อมูลได้ใมากขึ้นก็มักนำมาเขียนในแมกกาซีนปืน ของเมกา ผมกัดฟันซื้อมามั่ง ไปยืนอ่านตามร้านมั่ง พบว่าเมื่อมีข้อมูลมาก OSS จะสูงขึ้นเล็กน้อย เช่น Federal Hydrashok 230 เกรน เกือบ 100 % ผมก็ไม่คิดจะยึดผลของ 2 คนนี่เป็นสรณะแต่เผอิญมีหนังสือเรื่องอำนาจการหยุดยั้งที่ให้ตัวเลขที่ เปรียบเทียบง่ายของ แค่ 2 คนนี้ครับ มีอีกเล่มหนึ่งพิมพ์ก่อนคือ Handgun Stopping Power แต่ข้อมูลคำนวณโดยใช้ข้อมูลน้อยกว่าเล่ม Street Stoppers ซะอีก

 

 

 

MAGSAFE DEFENDER

ปกติ กระสุนแม็กเซฟ จะเป็นกระสุนหัวเบา ใช้ดินขับแรงสูงมาก แรงรีคอยสูง และเป็นกระสุนที่ทำความเร็วได้สูงสุด ในบรรดากระสุนปืนสั้น ใช้ยิงในระยะใกล้ เพื่ออยุดคู่ต่อสู้อย่างฉับพลัน ไม่ควรใช้ในปืนที่เราไม่มั่นใจ ในความแข็งแรง เป็นกระสุนคล้ายๆกระสุนเกลเซอร์ ในหัวกระสุนบรรจุด้วยลูกปลายขนาดต่างๆ คล้ายๆลูกปรายในปืนลูกซอง ปิดทับด้วยอีป็อคซี่เรซิน หยอดเข้าไว้ในโพรงหัวกระสุน เพื่อยึดจับเม็ดลูกปรายไม่ให้แตกตัวก่อนกระทบเป้าหรือก่อนที่ผู้ผลิตต้องการ ให้แตกตัว ในที่บรรจุกระสุนจะมีคำเตือนหรือข้อห้าม ในการใช้กระสุนแม็กเซฟ ท่านลองไปอ่านดูครับ ปกติจะราคาสูงมาก ท่านซื้อมาในราคาเท่าไรครับ

กระสุน Magsafe จุดมุ่งหมายการออกแบบมาคือ อำนาจการหยุดยั้ง และ ไม่ทะลุเป้าไปโดนสิ่งที่ไม่ต้องการให้โดน เป็นลุกที่ไว้เฝ้าบ้านดี ยิงแล้วไม่ทะลุไปโดนเพื่อนบ้าน เป็นกระสุนแบบ Defensive โดยแท้ แต่ก็มีนำไปใช้ในกรณี ตัวประกัน เป็นลูกความเร็วสูงแต่แรง recoil ต่ำ

กระสุนแม็กเซฟ ผมผ่าหัวกระสุนดู ลูกปรายจะมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในหัวเดียวกัน ซึ่งไม่เหมือนกระสุนเกลเซอร์ ลูกปรายจะเท่ากันหมด

ในบรรดาหัวกระสุนปืนพกชนิดต่าง กระสุน Magsafe เป็นกระสุนที่มีอำนาจในการหยุดยั้งคนได้ 100% มีอำนาจในการทำลายล้างสูงมาก เเละตัวกระสุนจะไม่ไปยิงถูกคนอื่นที่ใม่เกี่ยวข้องอีกด้วย อำนาจการทำลายของมันเหนือกว่าพวกกระสุนของ BLACK TALON , GLASER SAFETY SLUG อีก

 

 


Glaser Safety Slug

กระสุนแบบเกลเซ่อร์ ซิลเวอร์ ( Glaser Safety Slug) ถูกผลิตออกมาครั้งแรก ในปี ค.ศ.1974 หรือ พ.ศ.2517
โดย มีวัตถุประสงค์ที่ค่อนชัดเจนเพื่อลดการแฉลบหรือสะท้อนกลับและลดอำนาจการทะลุ ให้น้อยลง เมื่อกระสุนได้กระทบต่อเป้าหมายแล้วแต่ในขณะเดียวกัน….ยังต้องคงไว้ซึ่ง อำนาจการหยุดยั้งที่เหนือกว่ากระสุนแบบเดิม ๆ ทั่วไปที่เคยใช้ ๆ กันอยู่

เกลเซอร์ ซิลเวอร์ บอกเล่ากันง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ ลูกกระสุนปืนพกสั้น ทั้งลูกโม่และออโตฯ
ซึ่ง หัวกระสุนมีเปลือกหุ้มไว้ด้วยทองแดง และบรรจุลูกปรายเม็ดเล็ก ๆ ไว้ข้างในโดยมีสารแบบพลาสติก ซึ่งแตกตัวได้ง่าย (Plastic tip) ทำหน้าที่เป็นจุกอุดลูกปรายนั้นไว้ในขณะที่กระสุนยังไม่ถูกใช้งาน

หลักการทำงานของ เกลเซอร์ ซิลเวอร์ ง่าย ๆ ก็คือเมื่อกระสุนกระทบเป้าหมาย ส่วนที่เป็นจุกอุดลูกปรายไว้ ก็จะแตกออกพร้อม ๆ กับการฉีกตัวของเปลือกทองแดงที่หุ้มอยู่เม็ดลูกปรายซึ่งยังคงมีแรงเฉื่อย อยู่ ก็จะพุ่งตัวออกจากหัวกระสุนทะลวงเข้าไปในเป้าหมาย(คล้ายกับกระสุนลูกซอง) โดยที่ทั้งเปลือกทองแดงและเม็ดลูกปรายก็จะหมดพลังงานลงอย่างรวดเร็วหลังจาก ที่กระสุนวิ่งเข้าไปในเป้าหมายไม่ลึกนัก ก่อให้เกิดอำนาจการหยุดยั้งอย่างมาก

ต่อมาในปี ค.ศ.1987 หรือ พ.ศ.2530 ได้มีการพัฒนากระสุนเกลเซอร์ฯ นี้ ขึ้นมาใหม่โดยออกแบบให้หัวกระสุนมีความกลมมนมากขึ้นซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจาก การป้อนกระสุนเข้าสู่รังเพลิงของปืนออโตฯและเมื่อหัวกระสุนถูกออกแบบมาให้มี ความโค้งมนของส่วนปลายมากขึ้นสิ่งที่ตามมาก็คือ…..มันกลับกลายเป็นตัวหน่วง เวลาให้เกิดการแตกตัวของลูกปรายได้ช้าลงสามารถสร้างความยับเยินและเพิ่ม อำนาจการเจาะลึกต่อเป้าหมายมากขึ้น
กระสุนที่ถูกออกแบบขึ้นใหม่นี้ เรียกกันว่า เกลเซอร์ บูลทิป (Glaser Bule tip)และกระสุนเกลเซอร์ฯ นี้ ก็ยังถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขนาดของลูกปราย หรือทำให้กระสุนมีความเร็วต้นสูงขึ้น

หน่วยงานที่ชอบใช้ หรือมีความจำเป็นต้องใช้ กระสุนเกลเซอร์ฯ นี้ มักจะเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่พิเศษทางอากาศ อาทิ หน่วยของอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ซึ่งถูกฝึกมาให้ต่อต้านการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเครื่องบิน หรือในอเมริกานั้น ก็มีหน่วยของ Sky Marshals Service ก็เพราะว่า กระสุนเกลเซอร์ฯ นี้ มีคุณสมบัติเด่น ๆ คือ….เมื่อหัวกระสุนกระทบต่อของแข็ง (ซึ่งอาจไม่ใช่เป้าหมาย) การแฉลบออกนอกทิศทางจะเกิดขึ้นน้อยมาก
เนื่อง จากหัวกระสุนจะแตกตัวออกและหมดพลังงานในทันทีที่กระทบสิ่งกีดขวาง ไม่ว่าจะโดนแง่มุมไหนก็ตามแต่…ซึ่งเป็นความปลอดภัยต่อตัวประกันและตัว เครื่องบินโดยสารอย่างยิ่ง


ที่มาของข้อมูล 50000000VOLT /ขอบคุณบทความเขียนโดย พ.จ.อ.คณาธิป ผมทำ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...