สัตว์ในตำนาน

 

ยูนิคอร์น (Unicorn) เป็นสัตว์ในตำนาน เชื่อว่าพบได้ตามป่าทางตอนเหนือของยุโรป ตัวโตเต็มที่มีลักษณะเป็นม้าสีขาวบริสุทธิ์ สง่างาม มีเขาหนึ่งเขาที่กลางหน้าผาก (โดยมากเขาจะเป็นเกลียวด้วย) ลูกยูนิคอร์นเเรกเกิดมีขนสีทอง เเละจะเปลี่ยนเป็นสีเงินก่อนที่จะโตเต็มวัย. เขา เลือด เเละขนของยูนิคอร์นมีคุณสมบัติทางเวทมนตร์สูง. โดยทั่วไปยูนิคอร์นจะหลีกเลี่ยงการข้องเเวะกับมนุษย์ เเละจะยอมให้เเม่มดเข้าใกล้มากกว่าพ่อมด นอกจากนั้นยูนิคอร์นยังวิ่งได้เร็วมาก จึงยากที่จะจับตัวได้. ในโลกตะวันตก ยูนิคอร์นถือเป็นสัตว์ที่มีความดุร้ายไม่สามารถทำให้เชื่องได้ รักความสันโดษ แต่ในประเทศจีนยูนิคอร์นเป็นสัตว์ที่มีความสุภาพ อ่อนโยน รักสงบ

การกล่าวถึงยูนิคอร์นในโลกตะวันตก มีขึ้นครั้งแรกในหนังสือของอินเดีย ซึ่งเขียนโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เมื่อประมาณ พ.ศ. 14 บรรยายไว้ตอนหนึ่งว่า "ในประเทศอินเดีย มีลาป่าชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่เท่า ๆ กับม้า ลำตัวของพวกมันมีสีขาว ศรีษะมีสีแดงเข้ม และมีดวงตาสีน้ำเงิน พวกมันมีเขาอยู่บนหน้าผากเขาหนึ่ง ซึ่งมีความยาวประมาณครึ่งเมตร" กล่าวกันว่ายูนิคอร์นเป็นสัตว์ผสมระหว่างแรด ละมั่งหิมาลัย และลาป่า เขาของมันมีความแหลมคมมาก โดยมีพื้นสีขาวตรงกลางสีดำ และตรงยอดเป็นสีแดงเลือดหมู

ยูนิคอร์นกับการแปลความหมายทางด้านสัญลักษณ์
ยูนิคอร์นได้รับการแปลความหมายแทนสิ่งต่าง ๆ มากมาย เขาที่อยู่บนหัวถือเป็นสัญลักษณ์ของ พลัง อำนาจ ความเข้มแข็ง และความเป็นลูกผู้ชาย ในบางตำนานยูนิคอร์นเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ สะอาด บางตำนานเชื่อว่ายูนิคอร์นมีสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยง ระหว่างเพศหญิงและเพศชาย นั่นคือ เขาของมันแทนเพศชาย และลำตัวแทนเพศหญิง ชื่อภาษาจีนของยูนิคอร์นคือ ki-lin ซึ่งแปลว่า ผู้ชาย-ผู้หญิง 


ฟีนิกซ์

ฟีนิกซ์ของอียิปต์โบราณ

ฟีนิกซ์ปรากฎตำนานของพวกอียิปต์โบราณ ในฐานะของสัตว์เทพในตำนานซึ่งคู่ควรแก่การบูชา ยกย่อง เคารพ ฟีนิกซ์เกี่ยวข้องกับเทพแห่งไฟ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า ขนนกของฟีนิกซ์นั้นจะออกเป็นประกายเหลืองทองคล้ายเปลวไฟ บ้างก็ว่าปกคลุมด้วยแปลวไฟทั้งตัวทีเดียว

ขนาดของนกฟีนิกซ์นี้จะมีขนาดเท่านกอินทรีตัวโต จงอยปากและส่วนขาเป็นสีทอง ประกายขนสีแดงถึงเหลืองทอง มีเสียงร้องที่ไพเราะดังเสียงดนตรี รูปร่างสวยสง่างาม บางครั้งหยิ่งผยอง บางครั้งเปี่ยมด้วยความเป็นมิตร บางตำนานเล่าว่านกนี้สามารถฟื้นชีวิตให้กับผู้ตายได้ และสามารถฟื้นพลังทั้งหมดให้กลับสู่ปกติได้ เนื่องจากเป็นสัตว์เวทตัวหนึ่งภายใต้เทพแห่งไฟ บางครั้งจะพบว่าสามารถใช้มนตร์ไฟได้ ฟีนิกซ์เป็นสัตว์ที่นิสัยอ่อนโยน เพลงของฟีนิกซ์มีเวทมนตร์สามารถกระตุ้นความกล้าหาญ แห่งจิตใจบริสุทธิ์ และทำให้เกิดความกลัวในจิตใจที่คิดร้าย น้ำตาของนกฟีนิกซ์มีพลังในการรักษาบาดแผลได้

นกฟีนิกซ์นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอมตะ มีชีวิตยั่งยืนนิรันดร์ เพราะมันสามารถฟื้นคืนชีพได้ เมื่อร่างกายสิ้นอายุขัย (500 ปีหรือ 1461 ปี) ตัวจะลุกเป็นไฟ จากนั้นฟีนิกซ์ก็จะฟื้นจากกองขี้เถ้ามาเป็นลูกนกใหม่



เซนทอร์ 

เซนทอร์ (อังกฤษ: Centaurs ; กรีก: Κ?νταυροι) เซนทอร์มีร่างส่วนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย แต่ส่วนลำตัวลงไปเป็นม้าหนุ่มที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ สง่างาม อาศัยอยู่แถบภูเขาของอาคาเดีย และเทสสาลีในประเทศกรีซ

เซนทอร์มีสองตระกูล โดยตระกูลหนึ่งเกิดจาก อิคซอน อันธพาลแห่งสวรรค์ที่ขึ้นชื่อ กับอีกตระกูลที่เกิดจากโครนัส ฝ่ายหลังมีอุปนิสัยดีแตกต่างจากฝ่ายแรกมาก

เซนทอร์ตระกูลอิคซอน เกิดจากอิคซอนกับเนฟีลี มีพละกำลังมาก ชอบดื่มไวน์กับชอบไล่คว้าผู้หญิง ซ้ำชอบทะเลาะเวลาเมา เซนทอร์จึงถูกมองว่าเป็นพวกขี้เมาไม่กลัวใครทั้งสิ้น

เซนทอร์ตระกูลโครนัสต่างกับตระกูลอิคซอน เป็นเซนทอร์แสนดี โครนัสแต่งงานกับฟีลีร่า นางอัปสรน้ำผู้เลอโฉม มีลูกชื่อไครอน ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน มีความสุขุมรอบคอบจนได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ของเหล่าวีรบุรุษหลายคนในตำนานกรีก เช่น อคิลีส, เฮอร์คิวลีส, เยสัน, พีลูส, อีเนียส และบรรดาลูกศิษย์ของเขาก็ประพฤติตัวตามแบบครูบาอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

ไคเมร่า

ไคเมร่า (อังกฤษ: Chimera ; กรีก: Χιμαιρα [Khimaira] ; ละติน: Chimæra) เป็นสัตว์ในเทพนิยายกรีก

ในตำนานเล่าว่าไคเมร่าเป็นลูกของอีคิดน่าและไทฟอน เป็นพี่ชายของเซอร์เบอรัส ไคเมร่ามีร่างกายกำยำและร่างกายของมันเป็นที่รวม ของสัตว์ร้าย 3 ชนิด คือ ส่วนหัวถึงหน้าอกเป็นสิงโต ลำตัวเป็นแพะ แต่บั้นท้ายกลับเป็นมังกร จะเห็นได้จากรูปว่าสัตว์ทั้งสามที่มารวมอยู่ในร่างเดียวของไคเมร่านี้ ล้วนแต่มีหัวของมันเองอยู่ จึงอย่าได้สงสัยถ้าเห็นหัวแพะโผล่อยู่กลางหลังของมัน และมีหัวงูอยู่ที่ปลายหางอีกด้วย มันยังสามารถพ่นไฟออกมาได้เหมือนมังกรอีกด้วย แต่ถึงยังไงก็ตามไคเมร่าอยู่ได้ไม่นานก็ถูกวีรบุรุษเบลเลอโรฟอนผู้ขี่ม้าบินเพกาซัสยิงตาย


นกวายุภักษ์

ปักษาวายุภักษ์ หรือนกการเวกนั้น เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า “นกกรวิค” อธิบายว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินเสียงนกกรวิคแล้วจะต้องหยุดฟังนอกจากนี้ยังปรากฎมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหารจึงตั้งชื่อว่า วายุภักษ์ ก็มีเช่นกัน ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้


ตราปักษาวายุภักษ์

ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง นกวายุภักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ "ถ้าแปลตามคำก็ว่า นกกินลม ข้อยากในนกนี้เกิดขึ้นในที่ประชุมเสนาบดี สั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนผูกตรากระทรวงต่างๆเป็นลายข้อมือเสื้อเครื่องแบบ หากเป็นตราเก่าซึ่งมีตราประจำกระทรวงอยู่แล้ว จะเอามาใช้ได้ให้ใช้ตราเก่า ที่เป็นกระทรวงใหม่ไม่มีตรามาแต่เดิมจึงคิดผูกขึ้นใหม่ โดยคำสั่งอย่างนี้กระทรวงใดก็ไม่ยากเท่ากระทรวงคลัง ซึ่งเดิมพระยาราชภักดีฯทำการในหน้าที่ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง คือตรานกวายุภักษ์ รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์ ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก จึงได้ทรงรำลึกต่อไป ก็ทรงรำลึกได้ว่า มี ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีความว่าทรงพระมาลาปักขนนกวายุภักษ์ ก็ทรงค้นหาพบในหมายท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนริทรเทวี

เมื่อมีคำปรากฏเช่นนั้น นกวายุภักษ์ก็คือ นกการเวก เพราะพระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนก ย่อมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียวเป็นปกติ เมื่อทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน ก็เห็นลงกันได้โดยมีทางเราพูดกันว่า นกการเวกนั้นมีปกติอยู่ในเมฆบนฟ้า กินลมเป็นภักษาหารตามที่ว่าพิสดารเช่นนั้น ก็เพราะนกชนิดนั้นในเมืองเราไม่มีและที่ว่ากินลมก็เพราะในเมฆไม่มีอะไร นอกจากลมจึงให้กินลมเป็นอาหาร แต่เมื่อปกติของมันอยู่ในเมฆแล้วก็ไฉนเล่ามนุษย์จึงได้ขนมันมาปักหมวก เชื่อว่าเพราะเหตุที่น่าสงสัยเช่นนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสสั่งไปต่างประเทศที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามา ก็เป็นนกที่เรียกตามภาษาอังกฤษ Paradise Bird[1] ซึ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นนี้ นึกว่าแปลมาจากภาษาแขก ความก็ว่าเป็นนกฟ้าเราคงได้ฟังแขกเขาว่า จึงละเมอตามไป เมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึงทรงจัดเอาขึ้นเกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงานสมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์ ตามที่ได้พยานมาว่าเป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น ใครจะเชื่อกันหรือไม่ก็หาทราบไม่ แม้ราชสีห์เมื่อได้ตัวจริงมาบอกใครว่า นี่แหละราชสีห์ก็ไม่มีใครเชื่อด้วยไม่เหมือนกับที่เราปั้นเขียนกัน ตามที่เราปั้น เขียนกันนั้น ขาดสิ่งสำคัญที่ไม่มีสร้อยคอ อันจะพึงสมชื่อว่า ไกรสร หรือ ไกรสรสีห์ หรือ ไกรสรราชสีห์

Credit: http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1155.0;wap2
#สัตว์ในตำนาน
tnt869472
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
28 ต.ค. 53 เวลา 18:16 8,995 10 96
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...