เลข 13 หลัก แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 มี1 หลัก หมายถึง ประเภทของบุคคล ซึ่งมี 8 ประเภท
ส่วนที่ 2 มี4 หลัก หมายถึง สำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวให้กับประชาชน
ส่วนที่ 3 และส่วนที่4 รวมกันมี7 หลัก หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน
ส่วนที่ 5 มี1 หลัก หมายถึง เลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด
เลขบัตรประชาชนแต่ละหลักหมายความว่าอย่างไร
ประเภทของบุคคลที่อยู่ในทะเบียนราษฎร แบ่งออกเป็น 8 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งการเกิดภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิด และสัญชาติไทย ได้แจ้งการเกิด เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งมีชื่อแต่ละรายการ บุคคลในทะเบียนบ้านก่อนวันที่31 พ.ค. 2527
ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและได้มีการย้ายเข้าใน ทะเบียนบ้านขณะยังไม่มีเลขประจำตัว(ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่5 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่ได้อนุมัตให้เพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน
ประเภทที่ 6 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวและคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
ประเภทที่ 8 ได้แก่ บุคคล ต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่น ที่อยู่ในประเทศไทยหรือบุคคลที่ได้รับสัญชาติ