ความเป็นไทย

 

 

ธงชาติไทย

 

ตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน

 

กำเนิดธงสยาม

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้ความแต่เพียงว่า ไทยได้ใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน  ในจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2199-พ.ศ. 2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมแห่งหนึ่งของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย

 

 

ธงผืนแรก ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงเกลี้ยง ใช้ใน สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325(ธงเรือหลวง) สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398(ธงเรือเอกชน)

การบังคับใช้ ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ธงค้าขาย (ถึง พ.ศ. 2398) ธงเรือหลวง (ถึง พ.ศ. 2325)

 

 

ธงผืนที่ 2 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปจักรวงใหญ่สีขาว ธงเรือหลวง

การบังคับใช้ พระบรมราชโองการใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325 - 2360

 

 

ธงผืนที่ 3 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาว ธงเรือหลวง

การบังคับใช้ พระบรมราชโองการใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2360 – 2398

 

 

 

 

ธงผืนที่ 4 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง ธงชาติ ธงค้าขาย และธงราชการ

การบังคับใช้ พระบรมราชโองการใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129

(พ.ศ. 2398 - 2459)

ธงผืนที่ 5 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้า

เข้าหาเสาธง ธงราชการ

การบังคับใช้ พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

(พ.ศ. 2459 - 2460)

 

 

 

ธงผืนที่ 6 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งเป็นแถบสีขาวสลับแดงห้าแถบ แถบสีแดงและสีขาวชั้นนอกกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วน

ธงค้าขาย

การบังคับใช้ พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459(ในชื่อ"ธงค้าขาย") (พ.ศ. 2459-2460)  

 

 

 

ธงผืนที่ 7 ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งเป็นแถบริ้วห้าแถบ แถบกลางสีน้ำเงินกว้าง 2 ส่วน แถบสีแดงและสีขาวชั้นนอกกว้างแถบละ 1 ส่วน

ธงชาติและธงราชการ

 

 

พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479

พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

 

 

ธงชาติแห่งราชอาณาจักรไทยอันมีชื่อเรียกเฉพาะว่า"ธงไตรรงค์" เป็นธงที่ประกาศใช้เป็นธงชาติของประเทศสยาม(และประเทศไทยในยุคหลัง พ.ศ. 2482) เมื่อ พ.ศ. 2460 ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นธงประกอบด้วยสี 3 สี ได้แก่

 

สีแดง หมายถึง โลหิตซึ่งยอมสละได้ เพื่อพิทักษ์ชาติและศาสนา

 

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนาและธรรมในศาสนาต่างๆ

 

สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ สีดังกล่าวนี้เดิมเป็นสีโปรดส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

"ธงชาติไทยและเพลงชาติไทย

เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ

ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช

และความเสียสละของบรรพบรุษไทย"

 

เรามา...

รักประเทศไทย

รักศาสนา

รักพระเจ้าอยู่หัว

รักคนไทยด้วยกันทุกคน

กันนะค่ะ

#ความเป็นไทย
up too me
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
24 ต.ค. 53 เวลา 17:42 7,132 11 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...