โลงศพไร้กลื่น และสารพัดนวัตกรรม โอโซน ประกวดสี่งประดิษฐ์ปี 54

"โลงศพไร้กลิ่น" และสารพัดนวัตกรรม "โอโซน" ประกวดสิ่งประดิษฐ์ปี 54 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กันยายน 2553 21:39 น.  
บรรยากาศงานประกวดผลงาน ประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2554 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สนง.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.53 มีการจัดแสดงผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่เข้าร่วมประกวดในปีนี้กว่า 106 ผลงานจากนักประดิษฐ์ทั่วประเทศ คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ (สูทดำ) ชมประดิษฐกรรมข้าวเหนียวนึ่ง
ผศ.กาญจนา จันทร์ประเสริฐ (ซ้าย) และนายชวิน สมาธิวัฒน์ กับต้นแบบ "แว่นตาอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางสายตา"
ผศ.ดร.สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์ กับ "โลงศพไร้กลิ่น"
ทพ.สงคราม เวียงธีรวัฒน์ (ซ้าย) ประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง "โอโซ-เดนท์" เพื่อผลิตโอโซนสำหรับงานทันตกรรม
เครื่องปรับสภาพน้ำเสียระดับอะตอม ผลงานนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
เครื่องผลิตเส้นใยนาโน จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จักรยานที่ขับเคลื่อนด้วยระบบสปริง
ชุดเตือนภัยแบบไร้สาย แจ้งเตือนการโจรกรรมพระพุทธรูป
อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก
ชุดอุปกรณ์กันขโมยรถยนต์แจ้งเหตุผ่านมือถือโต้ตอบด้วยเสียงพูด
เครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์และไข่มุกที่เปลี่ยนสีด้วยอนุภาคนาโนของโลหะที่มีค่า
วช. จัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ปีที่ 13 กระตุ้นนักประดิษฐ์ไทยคิดค้นนวัตกรรมนำประเทศให้ก้าวหน้า พร้อมจัดแสดงผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายให้ผู้สนใจเข้าชมกว่า 106 ผลงาน อาทิ โอโซ-เดนท์, โลงศพไร้กลิ่น, แว่นอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น
       
       สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 28-29 ก.ย.53 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาคารสภาวิจัยแห่งชาติ วช. โดยในปีนี้มีผู้เสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัลทั้งสิ้น 174 ผลงาน และผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การประกวดรอบตัดสินจำนวน 106 ผลงาน ใน 9 สาขาด้วยกัน
       
       ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่องกว่า 35 ปี และมีการจัดประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว 12 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13
       
       "การประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นนั้นช่วยกระตุ้นให้คนไทยเกิด ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานเหล่านี้ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมเศรษฐกิจจากความคิดสร้างสรรค์อีกทางหนึ่ง" ศ.นพ.สุทธิพร เผยพร้อมทั้งบอกถึงเกณฑ์การติดสินของคณะกรรมการว่าจะพิจารณาจากความสร้าง สรรค์ แปลกใหม่ การนำไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาต่อยอดยกระดับให้มีคุณภาพสูงขึ้น
       
       "แว่นตาอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางสายตา" เป็นหนึ่งในผลงานที่เข้าร่วมประกวดในปีนี้ที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย ผศ.กาญจนา จันทร์ประเสริฐ อาจารย์ และนายชวิน สมาธิวัฒน์ นักศึกษาชั้นปี 2 คณะแพทยศาสตร์ ม.รังสิต เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้พิการทางสายตาจากเดิมที่ใช้ไม้เท้าในการหา ตรวจหาสิ่งกีดขวางขณะเดินเท้า ซึ่งจะตรวจจับได้เฉพาะสิ่งกีดขวางที่ตั้งอยู่บนพื้นเท่านั้น
       
       "เซ็นเซอร์ที่ติดอยู่กับแว่นตาจะช่วยตรวจจับวัตถุหรือสิ่ง กีดขวางที่อยู่ด้านหน้าด้วยคลื่นอินฟาเรดในระยะ 10 เซนติเมตร ถึง 1.5 เมตร และจะเตือนผู้พิการทางสายตาที่สวมใส่แว่นดังกล่าวด้วยเสียและการสั่นไหวของ แว่นตา ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถพัฒนาให้ เป็นแบบไร้สาย รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์จีพีอาร์เอสเพื่อบอกพิกัดได้" นายชวิน อธิบาย ซึ่งเขาใช้เวลาพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบนี้ราว 1 เดือน
       
       ด้าน ผศ.ดร.สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป ม.ศรีปทุม ได้ประดิษฐ์ "เครื่องกำจัดกลิ่นและแก๊สพิษ" พร้อมต่อยอดสู่ "โลงศพไร้กลิ่น" โดยใช้หลักการสร้างโอโซนจากออกซิเจนในอากาศ จากนั้นผ่านโอโซนเข้าไปในโลงศพ ช่วยฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่นจากศพได้ โดยเปิดใช้งานเครื่องเป็นเวลาเพียง 10 นาที วันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น
       
       ขณะเดียวกันก็มีการหมุนเวียนอากาศออกจากโลงศพโดยผ่านเข้าสู่กระบอก ที่บรรจุถ่านกัมมันต์ประสิทธิภาพสูง ช่วยดูดซับกลิ่นและแก๊สพิษต่างๆ ได้ก่อนปล่อยอากาศสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเครื่องกำจัดกลิ่นและแก๊สพิษนี้ยังสามารถใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในโรง พยาบาลหรือห้องหับต่างๆ ได้ด้วย
       
       ส่วน ทพ.สงคราม เวียงธีรวัฒน์ เจ้าของคลินิคทันตกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ได้นำโอโซนมาใช้ในทางทันตกรรมโดยการประดิษฐ์เครื่อง "โอโซ-เดนท์" เพื่อผลิตโอโซนจากอากาศและทำให้อยู่ในรูปน้ำผสมโอโซนและอากาศผสมโอโซน สำหรับนำมาใช้เพื่อการรักษาและฆ่าเชื้อโรคในช่องปากแทนการใช้น้ำและลมธรรมดา ที่ทันตแพทย์ต้องใช้ในงานทันตกรรมอยู่แล้ว รวมทั้งใช้อบฆ่าเชื้อเครื่องมือแพทย์ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
       
       "โอโซนเป็นสารธรรมชาติที่ทั่วโลกยอมรับในการนำมาใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อใช้อย่างถูก วิธี ซึ่งการนำโอโซนมาใช้ในงานทันตกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่ง ขึ้น ช่วยกำจัดเชื้อโรคและเชื้อราในช่องปากได้ผลเกือบ 100 จึงช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ และช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น" ทพ.สงคราม เผยต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งเขาประดิษฐ์เครื่องโอโซ-เดนท์ขึ้นเพื่อใช้งานที่คลินิคทันกรรมของตนเอง ได้ราวปีหนึ่งแล้ว พร้อมทั้งเผยแพร่สู่โรงพยาบาลบางแห่งแล้ว และจะพัฒนาต่อไปให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานภาคสนาม 
       
       "เครื่องปรับสภาพน้ำเสียระดับอะตอม" ผลงานของ ผศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ และนายกนก นาแก้ว นักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งผลงานประดิษฐ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการของสนามแม่เหล็กทำให้ตะกอนและสารแขวนลอยต่างๆ ในน้ำรวมตัวกันและแยกออกจากน้ำเสีย จากนั้นทำการแตกโมเลกุลของน้ำให้เป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน เสมือนเติมออกซิเจนในน้ำเสียเพื่อกำจัดกลิ่น และสุดท้ายฆ่าเชื้อด้วยโอโซนที่ผลิตจากออกซิเจนในอากาศ
       
       นอกจากนี้ยังมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ชุดหุ่นช่วยฝึกทักษะการปฏิบัติพยาบาล เครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ กังหันร่ม หมึกนำไฟฟ้า หุ่นยนต์ตัดโฟม จักรยานที่ขับขี่ด้วยระบบสปริง โดเรม่อนสอนอ่าน ประดิษฐกรรมข้าวเหนียวนึ่ง ชุดเตือนภัยการโจรกรรมพระพุทธรูป เครื่องผลิตเส้นใยนาโน เป็นต้น โดยจะมีการประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลในวันที่ 2 ก.พ. 2554 ภายในงานวันนักประดิษฐ์ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
Credit: ผุ้จัดการออนไลน์
#ของใช้ #ไฮแทค
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
20 ต.ค. 53 เวลา 05:40 1,820 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...