รถเมล์ไทยโดนใจคนไทย

เรื่องราวของ 'รถเมล์ไทย' ขำดี เอามาเล่าสู่กันฟังนะ


ปอ. 10 (พระประแดง-รังสิต) 

รถเมล์ สายที่ 'หยิ่ง' ที่สุดในประเทศไทย 
คาดว่าคนขับทั้งหลายคงเป็นคนรวยแอบมาขับรถเล่นแก้เซ็งไปวันๆ 
ไม่ง้อผู้โดยสาร ยิ่งรถตัวเองโล่งเท่าไรยิ่งชอบ ไม่จอดรับผู้โดยสาร 
ต่อให้โบกจนมือหัก 
และมีวิธีป้องกันผู้โดยสารจะขึ้น โดยการไปจอดป้ายไกลๆ 
เพื่อให้ผู้โดยสารลงแล้วซิ่งทันที 
ต่อให้คนที่จะขึ้นวิ่งไปถึงประตูก็แล้วเหอะ 
แถมเป็นรถหายากนานๆ มาสักคันนึง ถ้าพลาดแล้วละก็ 
ไปสั่งก๋วยเตี๋ยวกินรอคันต่อไปได้เลย 

สาย 8 (ปากคลองตลาด-แฮปปี้แลนด์) 

รถเมล์สายที่ซิ่งเร็วที่สุดในประเทศไทย 
คาดว่าคนขับส่วนใหญ่จะเป็นพวกนักแข่งรถมือสมัครเล่นที่ตกงาน 
หรือสอบตกจากการเทิร์นโพร เลยหันเหชีวิตมาขับรถเมล์แทน 
แต่มองหน้าแล้วนึกว่าเพิ่งหนีออกมาจากคุก 
ขอแนะนำสำหรับผู้โดยสารหน้าใหม่ว่าอย่านั่งเบาะหน้า (ยาวๆ) เด็ดขาด 
หัวคุณอาจโขกหรือพุ่งชนกระจกหน้ารถได้ 
พึงจับราวให้มั่น ก้าวขึ้น-ลงให้ไว 
เวลาคนโบกให้จอด มันไม่ค่อยจอดตรงที่คนยืนคอย 
มันจะวิ่งเลยไปให้คนวิ่งตาม 
พอคนที่วิ่งเร็วที่สุดตามไปถึงแล้วก้าวขาจะขึ้นไป 
มันจะกระตุกรถทีนึง 
บังเอิญว่าคนโดยสารกระโดดขึ้นไปได้ 
มันจะกระชากรถอีกทีให้หน้าคะมำไปข้างหน้า 
คนขับมันจะหันมามองอย่างสะใจ แล้วกระตุกรถไปเรื่อยๆ 
ให้คนโดยสารคนต่อไปรู้รสชาดอย่างทั่วถีง..... 
ทีนี้อีตอนขาลง ผู้โดยสารกดกริ่งครั้งแรก มันยังวิ่งตะบึงอย่างเมามัน 

ผู้โดยสารกดกริ่งอีก มันจะตะคอกว่า 

"กดครั้งเดียว...รู้แล้ว..เดี๋ยว (เซ็นเซอร์) ไม่จอดซะนี่!" 

แล้วก็เบรคอย่างแรง 

ผู้โดยสารทั้งคันต่างพากันหาหลักจับยึดบ้าง ที่จับไม่ทันก็หน้าคะมำคว่ำเค้เก้ 

รถยังไม่จอดสนิทดี กระเป๋า (ซึ่งหน้า***มพอกัน) มันจะบอก "ลงเร็วๆ ...... ลงเร็วๆ" 

ผู้โดยสารคนต่อไปเพิ่งก้าวขาซ้ายลงไป คนขับมันจะกระชากรถไปเรื่อยๆ 
ใครลงทันก็โชคดีไป ใครไม่ทันก็หน้าจ๋อย ยอมรับสภาพไปลงป้ายหน้าเอา 

ปอ. 6 (พระประแดง-ปากเกร็ด) 

รถเมล์สายที่วิ่งยาวที่สุด 

เริ่มต้นสายจากจังหวัดสมุทรปราการ พาเที่ยวชมรอบเมืองกรุงเทพฯ อาทิ 
พระปรางค์วัดอรุณฯ สะพานพุทธฯ วัดโพธิ์ ท่าเตียน ท่าช้าง ท่าพระจันทร์ สนามหลวง 
วัดพระแก้ว ฯลฯา 
ไปจนสุดสายที่จังหวัดนนทบุรี ด้วยแพ็คเก็จราคาสุดประหยัด 
(สมุทรปราการ-กรุงเทพฯ-นนทบุรี) เพียง 18 บาท ตลอดการเดินทาง 
(กรุณานำอาหารมาเอง) เหมาะกับการพาคนแก่และเด็กเดินทางเล่น 
เพราะจำกัดความเร็วเพียง 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปลอดภัยแน่ๆ 

สนใจติดต่อ ขสมก. 
เริ่มทัวร์ได้ 5.30 ถึง 21.00 น. 
ปล. เนื่องจากใช้แอร์ระบบ Hottest First ป้องกันผู้โดยสารหนาวจนแข็งตาย 
ไม่จำเป็นต้องเตรียมเสื้อหนาวมาแต่ประการใด 

ปอ. 4 (ซึ่งเราว่าเป็นรถที่แน่นสุดในประเทศไทยแล้วมั้ง) 

ทุกวันเราต้องพบนักห้อยโหนกายกรรมออกมาจากตัวรถ จนหวาดเสียวว่าจะเกิดอันตราย
กับเขาเหล่านั้นหรือเปล่า กระเป๋ารถเมล์ทุกคนได้รับการอบรมให้พูดเหมือนกันคือ 

“ขึ้นบนมาหน่อยสิคะ" 
"เดินหน้าชิดในหน่อย" 
"คนหน้าคนหลังช่วยเดินหน่อยสิคะ" 

บางทีก็ไม่เคยดูเลยว่าสภาพในรถเป็นไง ประมาณว่าโดนตั้งโพแกรมให้พูดยังไงก็พูดตาม 

หากโดนกระเป่ารถถามว่า "ชิดในหน่อย..ที่ข้างๆ จะเอาไว้เตะตะกร้อเหรอ?" 
ก็ตอบไปเลยว่า "เอาลูก (ตะกร้อ) มาให้เด่ะ! จะเตะให้ดู" 

หรือบ้างก็ตะโดนกลับมาว่า "คุณผู้หญิงด้านหลัง ท้องไม่มีพ่อแล้ว!" 
บางคนเกาะไปด้วยมือเดียวเท้าเดียวเท่านั้นเก่งจริงๆ 
วันไหนโชคดีขึ้นได้ จะไปถีงออฟฟิศในสภาพหัวเหอเสื้อผ้ายับเยิน 
จนเพื่อนมันเคยทักว่าไปโดนข่มขืนมาเหรอ!? 

สาย 113 (มีนบุรี-หัวลำโพง) 

รถสภาพโทรมชะมัด ประตูปิดไม่ได้ซักกะคัน 
ในชั่วโมงเร่งด่วนคนอัดแน่นยังกะปลากระป๋อง แถมไม่ชอบจอดรับคนขึ้นด้วย 
ขากลับจากหัวลำโพงแทนที่จะวิ่งเข้าพญาไท มันดันมุดเข้าซอยบ้าอะไรไม่รู้
ไปโผล่เอาบรรทัดทอง 
คนที่รอขึ้นตรงสามย่านก็คอยไปเถอะ ชาตินึงกว่าจะโผล่มาทางพญาไทซักคัน 

ปอ.1 (ปากคลองตลาด-มีนบุรี) 

วิ่งจากมีนบุรี ผ่านหน้ารามฯ ผ่านพระโขนง ผ่านสุขุมวิท ผ่านสยาม แล้วก็ไปปากคลองตลาด 
ด้วยความที่จากหน้ารามฯวิ่งไปสุขุมวิทมีสายเดียว (แต่ก่อนมีสาย 40 ด้วย แต่เดี๋ยวนี้มันไม่
ผ่านรามฯแล้ว) 
ทำให้คนแน่นมากถึงมากกว่าแน่นที่สุด แน่นจนเวลาขึ้นนี่กอดคนข้างๆ ได้สบายมาก 

ยิ่งวันเสาร์หรือวันธรรมดาตอนชั่วโมงเร่งด่วนนะ....ฮึ่ม.....อย่าฝันเลยจะได้นั่ ง 
แต่พอถึงสุขุมวิท 24 (เอ็มโพเรียม-สวนเบญจสิริ) คนลงเกือบหมดรถเลย 

สาย 33 (ปทุมธานี-สนามหลวง) 

ที่จริงน่าจะเปลี่ยนเป็น นรก-อเวจี ดีกว่าค่ะ เร็วสุดๆ เคยนั่งช่วง 6 โมง จากปากเกร็ดถีงสนามหลวง 25 นาที 
ตื่นไปเรียนไม่เคยนั่งหลับบนรถสายนี้เลย เพราะเคยมีคนนั่งหลับแล้วรถเข้าโค้งหน้าวัดสร้อยทอง ไม่รู้เจ้าที่แรงหรือเหตุอันใด 

ชายผู้นั้นได้กระเด็นตกจากเบาะมาอยู่ที่พื้นรถโดยไม่รู้ตัว 

แต่สามารถกลับขึ้นไปนั่งหลับต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 
เคยขึ้นสะพานแล้วลอยตัวอยู่ประมาณ 3 วินาที 
พอตกลงมากระจกข้างๆ เราร้าวหมดทั้งแผ่นนึกว่ามอเตอร์ครอส 

เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ขอแนะนำนะค่ะ

คนในรถนั่งมองหน้ากันแบบ ... 
สงสัยว่าตูจะมีชีวิตรอดมั้ยนี่?! 

ปอ. 356 (ปากเกร็ด-รังสิต) 

ถ้าคิดจะทำหนังย้อนยุคสัก 30 ปี แนะนำให้ใช้ประกอบฉากได้ 
ความเร็วไม่เกิน 40 กม. ขับไม่เกินเกียร์ 3 
วิ่งจากปากเกร็ด-หลักสี่ ใช้เวลาเกือบชั่วโมง 
แม้ไม่ใช่ชั่วโมงเร่งด่วน เวลาเย็นรับสาวโรงงานกลับบ้าน 
จะจอดรอกันหน้าโรงงานมั่ง เหมือนประหนึ่งเป็นอู่รถ 
แถมซ้อนกัน 3 คันอีกต่างหาก 
จากสภาพรถไม่น่าเชื่อว่าจะไปถึง ม.ธรรมศาสตร์รังสิตได้ 
เคยเสียกลางทางคนขับบอกให้ช่วยเข็นหน่อย 

สาย 57 (ตลิ่งชัน - คลองสาน) 

เนื่องจากสายนี้ต้องผ่านสถานที่หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่เก่ามีประวัติและเคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
เช่น เมื่อผ่านโพธิ์สามต้นคนขับจะถูกผีมอเตอร์วินเข้าสิง ซอกเล็กซอกน้อยพี่แกจะมุด เบียด 
ปาด แซงซ้ายขวาเป็นที่หวาดเสียว 

ครั้นออกถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีจะถูกผีรถบรรทุกเมายาบ้าเข้าสิง 
แข่งกันไล่บี้ชนิดไม่กลัวอุบัติเหตุ จะจอดก็ตอนชนท้ายกับรถเก๋งหรือรถพัง 
และเคยไหมขึ้นไปนั่งบนรถแล้วมองเห็นล้อวิ่งอยู่เพราะใต้ท้องรถมันทะลุ! 

ปอ. 126 

สายนี้สนับสนุนโดย The Mall เพราะวิ่งผ่าน The Mall ถึง 3 แห่ง คือ 
ตั้งแต่งามวงศ์วาน บางกะปิ แล้วก็รามคำแหง 
ส่วนสปอนเซอร์อีกรายคาดว่าจะเป็นเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 
ตอนนี้ผ่าน 2 เมเจอร์ คือเมเจอรร์รามฯ กะรัชโยธิน 
แล้วก็อีกนิดนึงจะผ่านเมเจอร์เอกมัย 
.....โชคดีที่มาทะลุตรงพระโขนง... 

ปอ. 157 (ปอ.32 เดิม บางประกอก-หมอชิต) 

เราคิดว่าเป็นรถเมล์สายที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลมากที่สุดเลยก็ว่าได้ 
ทั้งศิริราช รามาฯ พระมงกุฎ ราชวิถี โรงพยาบาลเด็ก ศูนย์วิจัยมะเร็งโรคปอด เปาโล 

อภิธานศัพท์ 'ความจริงเกี่ยวกับรถโดยสารในเมืองไทย' 

1. รถเมล์ = ก. รถประจำทาง พาหนะสำหรับผู้รักการผจญภัย 
ข. พาหนะที่มักจะไม่มาเมื่อคุณรอ และวิ่งให้ว่อนเมื่อไม่ต้องการ 

2. พขร. = พนักงานแข่งรถ 

3. พกส. = พนักงานเก็บเงินผู้ใหญ่ที่สุด มีอำนาจสั่งการให้ผู้โดยสารไปไหนก็ได้ 
และ เป็นคนเดียวที่คุยกับ พขร. รู้เรื่อง 

4. ผู้โดยสาร = บุคคลผู้เจียมเนื้อเจียมตัว บางครั้งถูกเปรียบให้เป็นปลา (กระป๋อง) 

5. นายตรวจ = คนเดียวที่ พกส. กลัว 

6. ค่าโดยสาร = จำนวนเงินที่ต้องจ่าย กรุณาจ่ายเป็นเศษสตางค์ ไม่รับเหรียญสลึงและแบงค์ ใหญ่กว่า 100 ฝ่าฝืนอาจถูกสรรเสริญจาก พกส. และอาจลามปามไปถึงบุพการีที่นอนอยู่ได้

7. ป้าย = ไป (สันนิษฐานว่าเลยไปเลย สังเกตจาก พกส. จะพูดคำนี้ทุกครั้งที่ถึงป้าย) 

8. ที่นั่งสำหรับ ภิกษุ สามเณร = ที่นั่งสำหรับป้าตาถั่วหรือตาบอดสี โดยเฉพาะสีเหลือง 

9. ที่นั่งสำหรับ คนพิการ = ดูข้อ 8 (คล้ายๆ กัน) 

10. เด็ก สตรี และคนชรา = ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประชาชนส่วนน้อยต้องเอื้อเฟื้อ จึงมักจะ (ดูต่อข้อ 11) 

11. แกล้งหลับ = วิธีหลีกเลี่ยงจากข้อ 10 

12. คนดีมีน้ำใจ = คนประหลาดในสายตาข้อ 11 

13. กริ่ง = กดสองที ฟรีสองป้าย 

14. รถไฟฟ้า = เครื่องช่วยหายใจคนกรุงฯ สามารถไปได้ทุกๆ ที่ยกเว้นบ้านคุณ 

15. เรือด่วน = เครื่องช่วยหายใจอีกอย่างหนึ่ง เหมาะสำหรับคนว่ายน้ำเป็นและน้ำหนักตัวน้อย 

16. แท็กซี่ = พาหนะที่พาคุณอ้อมไปจากเส้นทางจริง 

17. สามล้อ = พาหนะสำหรับผู้มีสุขภาพปอดดี เคลื่อนที่ทุกๆครั้งที่มีที่ว่างมากกว่า 2 นิ้ว 

18. ไมโครบัส = สูงสุดคืนสู่สามัญ (จากราคา 15 เป็น 20 เป็น 25 เป็น 30 และกลับมาเป็น 20 และเป็น 25 ในปัจจุบัน) 

19. ครีมน้ำเงิน = วิธีการรีไซเคิล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงขึ้น (จากเดิม 2.50 บาท ปัจจุบัน 5 บาท)

20. ยูโร = วิธีการขึ้นราคาค่าโดยสารแบบมัดมือชก ราคามากกว่า แต่คุณภาพ เหมือนเดิม เฮ้อ สาธุ!! 

Credit: http://www.thaireaderclub.com/read.php?id=481
18 ต.ค. 53 เวลา 19:51 22,220 13 118
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...