เพื่อนเจ้าสาว มีไว้ทำไม มาหาคำตอบกัน!
เพื่อน เจ้าสาวเขาก็มีไว้ยืนเฉย ๆ นั่นแหละ เพราะสมัยก่อนผู้หญิงไทยมักถูกเลี้ยงให้อยู่แต่ในบ้าน จึงออกจะเก้อเขินหรือตกประหม่าเมื่อต้องออกงานสังคม โดยเฉพาะในพิธีสมรสซึ่งเป็นวันสำคัญของชีวิต การมีเพื่อนเจ้าสาวจึงทำให้สาวเจ้าอุ่นใจและไม่เคอะเขินจนเป็นลมไปเสียก่อน ---นี่ว่าตามคอนเสปต์แบบไทย ๆ
ส่วนทางตะวันตกในยุคโบราณนั้น เจ้าสาวกับเพื่อนเจ้าสาวมองดูเหมือนกันมากจนแทบจะแยกไม่ออก เจ้าสาวเลือกเพื่อนเจ้าสาวที่รูปร่างหน้าตาคล้ายเธอที่สุด และในวันงานเจ้าสาวกับเพื่อนเจ้าสาวก็ยังแต่งตัวด้วยชุดที่เหมือนกันไม่ผิด เพี้ยน
ความเหมือนนี้เป็นอุบายที่คนโบราณคิดขึ้นเพื่อลวงให้ วิญญาณ ชั่วร้ายสับสน เนื่องจากเชื่อกันว่าวิญญาณชั่วร้ายอาจริษยาในความสุขและโชคลาภที่กำลังจะมา สู่เจ้าสาว ดังนั้นเจ้าสาวจึงแวดล้อมตัวเองด้วยเพื่อนเจ้าสาวซึ่งเหมือนเธอราวกับแกะ ยิ่งเพื่อนเจ้าสาวมีจำนวนมากเท่าใด ยิ่งประกันความปลอดภัยของเจ้าสาวเพิ่มขึ้นเท่านั้น (คล้ายกับคติความเชื่อของคนไทยที่ว่า "คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย")
ตามกฎของอาณาจักรโรมัน การ แต่งงานจำต้องมีสักขีพยาน 10 คน นักประวัติศาสตร์บางคนจึงเชื่อว่า ธรรมเนียมเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวในปัจจุบันน่าจะสืบทอดมาจากยุคโรมันโบราณ
ใน เวลาต่อมาเพื่อนเจ้าบ่าวเพื่อนเจ้าสาวมีภารกิจเพิ่มขึ้น โดยต้องทำหน้าที่บอดี้การ์ดให้แก่คู่สมรสด้วย ทั้งนี้ดังปรากฏหลักฐานว่า ในสมัยกลางนั้นถือเป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่ชายผู้หมายปองเจ้าสาวแต่ไม่สม หวัง มักพาสมัครพรรคพวกบุกเข้าชิงตัวเจ้าสาวไปในระหว่างพิธีแต่งงาน
เชื่อกันว่าหญิงสาวผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวนั้น จะนำทั้งลางดีและลางร้ายมาสู่ตนเอง ตัวอย่างเช่น
ถ้า เธอสะดุดล้มระหว่างทางเดินไปยังแท่นพิธี เธอจะหมดโอกาสแต่งงานโดยสิ้นเชิง และถ้าหญิงสาวคนใดทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวครบสามครั้ง เธอต้องอยู่เป็นโสดไปตลอดชีวิต ยกเว้นแต่ว่าเธอจะทำหน้าที่เพื่อนเจ้าสาวอีกสี่ครั้งรวมเป็นเจ็ดครั้ง ทั้งนี้เพราะสำหรับผู้ที่เชื่อถือโชคลางแล้ว เลขเจ็ด---จำนวนวันของสัปดาห์ถือเป็นเลขนำโชค เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงของระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์
ส่วน ผู้ที่ไม่เชื่อถือโชคลางก็แย้งว่า สำหรับหญิงสาวผู้บากบั่นทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวมาถึงเจ็ดครั้งเจ็ดครา แล้ว การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อตัวเธอนั้นย่อมต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอน
ขอบคุณที่มา 108 ซองคำถาม