แง่คิดดีๆๆๆ เอาไปไช้ได้ นะขอรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสังยุตตพระบาลีว่า
ดูกรมหาราชา ในโลกนี้ผู้ใดเคยทำให้คนอื่นตายลงด้วยการอดข้าว ผู้นั้นแม้ยังอยู่ในวัยเด็กก็ตาม วัยหนุ่มสาวก็ตาม วัยแก่ก็ตาม ย่อมได้รับการเบียดเบียนด้วยการอดข้าวและตายลงด้วยการหิวข้าวนั้นเอง เป็นดังนี้ตลอดแสนชาติ และผู้ที่เคยทำให้คนอื่นตายลงด้วยการอดน้ำ ให้งูกัด วางยาพิษ เอาไฟเผา ถ่วงน้ำ ฆ่าโดยใช้อาวุธ เหล่านี้เป็นต้น ผู้นั้นก็ย่อมตายลงด้วยการอดน้ำ ถูกงูกัด ถูกวางยา ถูกไฟครอก จมน้ำ ถูกอาวุธ เช่นเดียวกัน
ว่าโดยเวลาให้ผล มี ๔ อย่าง คือ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ทิฏฺโฐ ธมฺโม = ทิฏฺฐธมฺโม สภาพที่เป็นไปอันพึงประจักษ์ได้ในภพนี้ ชื่อว่าทิฏฐธัมมะ ทิฏฺฐธมฺเม เวทนียนฺติ = ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ กรรมที่พึงได้เสวยในอัตตภาพที่ปรากฏในภพนี้ ฉะนั้นกรรมนั้นชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนีย ได้แก่ อกุศลกรรมและมหากุศลกรรมที่ในชวนะดวงที่ ๑ ทิฏฺฐธมฺเม เวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ = ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ ผลที่พึงได้เสวยในอัตตภาพนี้ที่ปรากฏในภพนี้ จึงชื่อว่า ทิฏฐธัมมเวทนีย ได้แก่ อกุศลกรรม และมหากุศลกรรมเจตนาที่ในชวนะดวงที่ ๑
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ ปฐมํ ชวนํ ภเว
อลทฺธา เสวนตฺตา วา อสมตฺตํ ภวนฺตเรฯ
แปลความว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ เจตนานี้ไม่สามารถส่งผลในภพที่ ๒ ได้ เพราะไม่ได้รับอุปการะจากอาเสวนปัจจัย
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม ทิฏฺฐธมฺมสฺส สมีเป อนนฺตเร ปชฺชิตพฺโพ คนฺตพฺโพติ = อุปปชฺโช ภพที่ได้เข้าถึงติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นที่ใกล้ที่สุดของปัจจุบันภพ ฉะนั้นภพนั้นชื่อว่า อุปปัชช ได้แก่ ภพที่ ๒ อุปปชฺชเวทนียํ ผลํ เอตสฺสาติ = อุปปชฺชเวทนียํ ผลที่ได้รับในภพที่ ๒ มีอยู่แก่กรรมนั้น ฉะนั้นกรรมนั้นชื่อว่า อุปปัชชเวทนีย หรือ อุปปชฺช เวทนียํ = อุปปชฺชเวทนียํ กรรมที่พึงได้รับเมื่อเข้าสู่ภพที่ ๒ ที่ใกล้กับปัจจุบันภพ แล้วชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม ได้แก่เจตนาที่อยู่ในอกุศลชวนะและมหากุศลชวนะดวงที่ ๗
๓. อปราปริยเวทนียกรรม อปราปริยเวทนียํ ปน วิปากํ อทตฺวา น นสฺสติ แปลว่า อปราปริยเวทนียกรรมย่อมไม่สูญหายไป ถ้ายังไม่ได้ส่งผล
๔. อโหสิกรรม พระบาลีแสดงไว้ว่า อโหสิ กมฺมํ นาโหสิ กมฺมวิปาโก, อโหสิ กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก, อโหสิ กมฺมํ นภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก’
แปลความว่า สำหรับกรรมนั้นสำเร็จแล้ว แต่ผลของกรรมนั้นหาใช่เกิดแล้วไม่ กรรมนั้นสำเร็จแล้ว แต่ของกรรมนั้นไม่ใช่กำลังเกิด กรรมนั้นสำเร็จแล้ว แต่ผลของกรรมนั้นจะไม่เกิด ดังแสดงวจนัตถะว่า อโหสิ จ ตํ กมฺมญฺจาติ = อโหสิกมฺมํ กรรมที่ชื่อว่า อโหสิก็ใช่ เป็นกรรมก็ใช่ ฉะนั้นกรรมนั้นชื่อว่า อโหสิกรรม