คุณรู้หรือไม่ ?? ว่าเมืองในประเทศไทยก็เคยได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว
และไม่น้อยหน้าเมืองหลวง อย่าง กทม..
เฮนรี่จะพาไปรู้จักเมืองๆนี้กันครับ แต่ว่าน่าเสียดายที่สถานการณ์ในบริเวณนั้นอันตรายจริงๆ ไม่งั้นต้องเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวแห่งหนึ่งไม่แพ้เมืองไหนๆในโลกแน่ๆครับ....
ท่ามกลางกระแสวิพากวิจารณ์ถึงความไม่สงบชายแดนใต้ที่เกิดขึ้น เทศบาลนครยะลากลับได้รับรางวัลเมืองเพื่อสันติภาพ UNESCO ปี 2002 – 2003 หลายคนอาจกังขากับรางวัลเกียรติยศที่ได้มา
สำหรับรางวัล UNESCO Cities for Peace Prize ได้ริเริ่มขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1996 ระหว่างการประชุม The Summit of Cities HABITAT 2 ที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเทศบาลเมืองต่าง ๆ (Municipalities) และระหว่างผู้บริหารระดับท้องถิ่น ในการส่งเสริมแนวคิดของความสมานฉันท์บนความแตกต่าง (Diversity in Harmony) ในสังคมเมืองและให้เมืองต่าง ๆ ได้เรียนรู้แบบอย่างของความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคม การปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคม โดยผู้อำนวยการใหญ่ของUNESCO จะเป็นผู้มอบรางวัลทุกสองปี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคัดเลือกเมืองเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย ซึ่งได้มีการพิจารณาจากเทศบาล 4 แห่ง คือ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลเมืองสุโขทัย เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา และเทศบาลนครยะลา ปรากฏว่าเทศบาลนครยะลาได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย และได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการพิจารณาในส่วนของโซนเอเชียและแปซิฟิค เมื่อปี พ.ศ.2546 จนผ่านการตัดสินชนะเลิศจากกรรมการตัดสินชุดใหญ่ของ UNESCO ร่วมกับ 9 เมือง จาก 5 โซน อันได้แก่
§ โซนเอเชียและแปซิฟิค ได้แก่เมือง Dushanbe ประเทศ Tajikistan และ Yala City Municipality (เทศบาลนครยะลา) ของประเทศไทย
§ โซนแอฟริกา ได้แก่ เมือง Harar ประเทศ Ethiopia และ เมือง Ouagadougou ประเทศ Burkina-Faso ex-aequo
§ โซนอาหรับ ได้แก่ เมือง Ras-EI-Matn ประเทศ Labanon และ เมือง Aswan ประเทศ Egypt
§ โซนยุโรป ได้แก่ เมือง Gernika-Lumo ประเทศ Spain และ เมือง Stuttgart ประเทศ Germany
§ โซนละตินอเมริกาและแคริบเบียน ได้แก่ เมือง Bogota ประเทศ Colombia และ เมือง Porto Alegre ประเทศ Brazil
บรรยากาศถนนเมืองยะลา (ถนนพิพิธภักดี)
สวนน้ำของเทศบาลให้เด็กๆ ชาวเมืองยะลาได้ใช้บริการ ฟรี!!!
สวนขวัญเมือง เคยมีตำแหน่งสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สวนคณิตศาสตร์ ตั้งภายในสวนขวัญเมือง
สวนคณิตศาสตร์ในมุมสูง
สนามนกเขาชวาอาเซียน ตั้งภายใน สวนขวัญเมือง
สวนสาธารณะริมแม่น้ำปัตตานี สวนมิ่งเมือง
ผังเมืองยะลา ที่สวยที่สุดในประเทศไทย ในกลางคือศาลหลักเมือง
ใจกลางของใยแมงมุม
รางวัลที่ได้รับ
นอกจากนี้ เทศบาลนครยะลาได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นเมืองนำร่อง 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทย ในการดำเนินโครงการเมืองน่าอยู่ (Healthy City)โดยได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งสวนหรือ Garden
ยะลายังเป็น 1 ใน 5 เมืองหลักที่ รัฐบาลเตรียมจัดตั้ง TK PARK (Thailand Knowlage park) โดย Tk Park มีแค่ภาคละ 1 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ยะลา ชลบุรี และจังหวัดมหาสารคาม
ยะลายังเป็นเมืองที่มีผังเมืองสวยที่สุดของประเทศไทยด้วยการวางผังเมืองเป็นรูปวงแหวน 3 วงซ้อนกันแล้วมีกิ่งแตกแขนงออกมาคล้ายใยแมงมุม ใจกลางเป็นศาสหลักเมือง รอบนอกเป็นส่วนของราชการทั้งหมดอยู่ที่นั้น หากต้องการติดต่อกับราชการก็ตรงไปยังใจกลางของเมือง เป็น One stop service เลย นั่นคือความคิดของ พระครูรัฐกิจวิจารณ์ เจ้าเมืองยะลา(ผู้ว่าราชการ) เกือบ 30 ปีที่แล้วโดยหลายจังหวัดยึดยะลาตามเป็นแบบอย่าง
ยะลายังเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่า สะอาดที่สุดในประเทศ ด้วยการชนะเลิศได้รับรางวัลพระราชทาน 3 ปีซ้อน จนปีต่อๆมายะลาไม่ส่งเข้าประกวด ด้วยเป็นที่รู้กันว่า ถ้ายะลาลงประกวดได้ตำแหน่งแน่นอน
ยะลายังมีสวนสาธารณะติดริมแม่น้ำปัตตานี สวนศรีเมือง ด้วยข้อด้อยของเมืองยะลาคือไม่ติดทะเลแต่เมืองยะลา ก็ขุดสระน้ำขนาดใหญ่เป็น100 ไร่ จนกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อหลาย 10 ปีที่แล้ว คือ สวนขวัญเมือง และสวนสาธารณะน้องใหม่ล่าสุดก็คือ สวนมิ่งเมืองสวนสาธารณะใจกลางเมือง ขวัญเมือง ศรีเมือง มิ่งเมือง
ยะลายังสร้าง ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย(5ปีที่แล้ว) ให้บริการ ฟิตเนต แอร์โรบิค ระดับสากล ครบวงจรโดยไม่คิดสตางค์แม้แต่บาทเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีพร้อมของคนเมืองยะลา
ยะลาเป็นเมืองที่มีคำขวัญสั้นที่สุดในประเทศไทย ใต้สุดสยาม เมืองงานชายแดน
ยะลาถูกแยกตัวจากอาณาจักรลังกาสุกะ(อาณาจักรลังกาสุกะคือจังหวัด ปัตตานี สมัยสุโขทัยต้องซื้อปืนใหญ่ทำศึกกับพม่าจากอาณาจักรลังกาสุกะ) และก่อแยกตัวเป็นเมืองยะลาหลังจาก กรุงรัตนโกสินทร์ก่อตั้งได้ 8 ปี (พศ 2332 - 2333)
ยะลาเมืองที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยไม้ใหญ่ที่โค้งเมืองซุ้มประตูงดงาม ทัดเทียม มหานครใหญ่อย่าง กรุงปารีส
เฮนรี่ขอเสริม ความหมายของชื่อจังหวัด นิดนึงครับ
เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลาเป็นชื่อเรียกสำเนียงภาษามลายูพื้นเมือง มาจากคำว่า “ยาลอ” (???) แปลว่า “แห” แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมือง ซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
ทั้งหมดคือความเป็นเมืองยะลา “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” แผ่นดินผืนเล็ก ๆ ที่ยังคงมีความสวยงามให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ประจักษ์ อย่าทำให้โลกแคบเพียงเพราะใจเราแคบ แค่ลองหยิบเอาสิ่งที่เป็นด้านบวกออกมาชื่นชมและกล่าวถึงกันบ้าง โลกคงน่าอยู่ขึ้นกว่านี้หลายเท่า
ขอขอบคุณ