.
.
.
.
.
.
ยามอาทิตย์อัสดง
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
รัชกาล ที่ ๒ ทรงพระราชปรารถจะสถาปนาพระปรางค์องค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) ให้งดงาม แต่เมื่องลงมือขุดรากก็เสด็จ สวรรคต รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงดำเนินการต่อจนเสร็จ วัดรอบฐานได้ ๕ เส้น ๑๘ วา(๒๔๓ เมตร)สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑นิ้ว (๘๑ เมตร)ยกยอลำพุขัน (นภศูล) เสริมยอดด้วยมงกุฏ แต่ยังมีได้ทำการฉลองก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔ได้ทรงสร้างมณฑปเพิ่ม เติมอีกเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลนี้
ลักษณะ ทั่วไป จากพื้นฐานขึ้นไปถึงยอดสุด รอบๆ พื้นฐานมีตุ๊กตาจีนสลักด้วยศิลาเป็นรูปคนและ สัตว์ประดับเรียงรายรอบ ล้อมด้วยกำแพง ด้านตะวันออกมี ๓ ประตู ด้านตะวันตก ๒ ประตู ที่ประตู ประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑,๒,๓,๔ และ๕ ตามลำดับ
มี ที่สังเกตช่วงที่แยกเป็น ฐานซ้อนฐาน ๔ ช่วงด้วยกัน ฐานชั้นล่างสุด มีปรางค์เล็กประจำอยู่ ๔ มุม ถัดขึ้นไป เป็น ฐานชั้นที่สอง มีมณฑปประจำอยู่ ๔ ทิศ แต่ละมณฑปมีพระพุทธรูปเนื่องในพุทธประวัติ ประดิษฐานอยู่ภายใน ทิศเหนือเป็นปางประสูติ ทิศให้เป็นปางปฐมเทศนา ทิศตะวันออกเป็นปาง ตรัสรู้ และทิศตะวันตกเป็นปางปรินิพพาน
ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มรูปกินนร เหนือซุ้มทำเป็นรูปกระบี ่โดยรอบ ฐานชั้นบนสุด มีซุ้มประจำทิศทั้ง๔ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในซุ้ม เป็นรูปพรพายทรงม้าขาว เหนือขึ้นไปโดยรอบทำเป็นคุฑแบก พระนารายร์แบก ยอดเป็นนภศูลเสริมยอด ด้วย พระมหามงกุฎปิดทอง ทั้งปรางค์เล็ก ปรางค์องค์ใหญ่ มณฑป กำแพงแก้ว ล้วนแล้วแต่ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายสีต่างๆ
พระอุโบสถวัดอรุณ ฯ
วัด อรุณฯ เดิมทีมาแต่กรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมว่า "วัดมะกอกนอก" แล้วเปลี่ยนมาเป็น "วัดแจ้ง" เมื่อ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ครั้น ขึ้นครองราชย์แล้วได้พระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชธาราม" ภายหลังเปี่ยนใหม่เป็น "วัดอรุณราชวราราม" ถึง ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ รัชกาลที่ ๕ จึงได้ปฏสังขรใหม่เกือบทั้งหมด องค์พระประธานที่ประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถ ณ วัดแห่งนี้มีพระนามว่า "พระพุทธธรณิศรราชโลกนาถดิลก" ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก คืบ หล่อในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่า พระพักตร์เป็นฝีมือพระหัตถ์ของพระองค์ด้วย ในพระพุทธอาสน์บรรจะพระบรม อัฐิรัชกาลที่ ๒ รอบพระอุโบสถและพระระเบียงเรียงรายด้วยตุ๊กตาจีน (ดังที่เห็นในภาพ) ที่นำมากับเรือสำเภาค้าฃ ขายกับจีนในรัชกาลที่ ๒ และ ๓
บุษบกหน้าอุโบสถวัดอรุณ ฯ
บุษบก หรือมณฑปขนาดเล็กนี้สร้างขึ้นระหว่างประตูเข้าทั้งสองข้างของพระอุโบสถด้าน หน้า ตัวบุษบก จำหลักลายวิจิตรปิดทองประดับกระจก ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปนฤมิต เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ ๒ ลักษณะทรงยืนปิดทองอย่างงดงาม รัชกาลที่ ๔ จำลองแบบจากในหอพระสุสาไลยพิมานในพระบรม มหาราชวัง รัชกาลที่ ๕ ทรงนำมาประดิษฐานไว้ ประตูทางเข้าบุษบกเป็นยอดซุ้มทรงมงกุฎลายปูน ปั้น มียักษ์ ๒ ตน ยืนเฝ้า ที่เป็นสีขาวชื่อ สหัสเดชะ อีก ตนหนึ่งสีเขียวชื่อ ทศกัณฐ์ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓ และก็ไป ตรงกันกับประตูหนึ่งของบริเวณโบสถ์วัดพระแก้ว ซึ่งทำไว้เหมือนกันแต่เป็นช่างต่างสมัย
วิจิตรศิลป์แห่งวัดอรุณ ฯ
วัด อรุณฯ หรือที่ปากชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "วัดแจ้ง" เป็นวัดที่มีความสำคัญในอดีจอย่างมาก เพราะเป็น วัดที่มีพระปรางค์ที่งดงามที่สุด นอกเหนือไปจากนั้น รอบๆ บริเวณวัดยังมีพระสถูปลวดลายสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวเนื่อง ในพระศาสนาเรียงรายอยู่โดยรอบพระอาราม สิ่งอันมีค่าล้ำเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาบ่งบอกให้ตระหนักในวัฒนธรรมประจำชาติอย่างชัดแจ้ง
ตาม ระเบียงวัดอรุณฯ ที่เสริมสร้างจากฝีมือช่างในยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่สร้างคุณค่าอย่างสูงส่ง ด้วยวัตถุถาวรเหล่านี้ แม้ตุ๊กตาจีนที่ยืนเฝ้ายามเชิงบันไดที่ทอดไปสู่ชั้นบนของวัด กระเบื้องที่ห่อหุ้ม สีสันอันงามอย่างล้ำค่า ความละเอียดของการประดิดประดอย ที่เป็นฝีมือช่าง ล้วนแล้วเป็นร่องรอย ของอดีตที่จะจารึกให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่อนชมกับงานของช่างบรรพบุรุษเหล่า นี้
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระที่นั่งจักรีมหาประสาท
ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สิงห์แบบเขมร
บริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ใน ภาพนี้มีสิ่งสำคัญ ๓ องค์ ได้แก่ พระศรีรัตนเจดีย์ พระมณฑป และปราสาทพระเทพบิดร พระ ศรีรัตนเจดีย์ สร้างในรัชกาลที่ ๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๙๘ โปรดให้ถ่ายแบบเจดีย์ ๓ องค์ จากวัดพระ ศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา เป็นรูปทรงกลมแบบทรงลังกา สูง ๑ เส้น มีซุมเข้า ๔ ทิศ และ มีเจดีย์เล็กๆ อยู่ ๔ มุม บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประดับกระเบื้องเคลือบสีทอง
พระมณฑป เดิมคือหอมณเฑียรธรรม ตั้งอยู่กลางสระ แต่ได้ถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ ยกย้าย เอาตู้ประดับมุขทรงมณฑป พร้อมทั้งพระไตรปิฎหฉบับทองใหญ่ซึ่งได้ทำการสังคายนาในสมัยรัชกาล ที่ ๑ ออกมาได้ จึงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก โดยถมสระเดิมแล้วสร้างฐานขึ้น ใหม่ ทำเครื่องยอดด้วยไม้ประดับกระจก มีซุ้มประตูเข้า ๔ ด้าน เชิงฐานมีรูปยักษ์ ครุฑ และเทพนม ประดับกระจก อยู่บนฐานสิงห์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง
ปราสาทพระเทพบิดร
สร้าง ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมชื่อว่า พุทธปรางค์ปราสาท ลักษณะเป็นปราสาท จตรุมุข ยอดเป็นพระปรางค์ นภศูงมีมงกุฎเสริมยอด ประดับกระเบื้องเคลือบ เป็นปราสาทยอดปรางค์ องค์เดียวในประเทศไทย เมื่อแรกนั้นรัชกาลที่ ๔ มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ แต่ เห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี ถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระเจดีย์ได้ละลายหายสูญ จึงให้ซ่อม แซม แล้วให้เปลี่ยนนามเป็น ปราสาทพระเทพบิดร โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบูรพกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๕ มาไว้ ปัจจุบันเพิ่มถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว
นครวัดจำลอง
สร้าง ในรัชกาลที่ ๔ อยู่บาลานพระมณฑปด้านเหนือ โปรดให้พระยาสามภพพ่ายไปจำลองแบบมา จากนครวัดในเสียมราฐเมื่อ ๒/ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๙ สร้างด้วยศิลาล้วนๆ
วิหารมุข วัดราชบพิตร
วิหาร มุขเป็นส่วนหนึ่งในเขตพุทธาสาววัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งประกอบด้วย พระอุ โบสถ พระเจดีย์ วิหารคด และศาลาทราย ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสูง ๑ เมตร มีการวางผัง ที่แปลกไปอีกแบบหนึ่ง กล่าวคือ วิหารมุขอยู่หน้าพระอุโบสถ คั่นด้วยพระเจดีย์ ความวิจิตรอยู่ที่ การใช้กระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ พระอาจารย์แดงช่างเขียนรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้ออกแบบลาย แล้วส่งไปทำเป็นกระเบื้องที่เมืองจีนนำมาประดับหมดทุกอย่าง
รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นเฉลิมพระเกียรติให้เป็นวัดประจำพระองค์ และเป็นวัดสุดท้ายที่ ถือเป็นคติสร้างประจำพระองค์ ต่อมารัชกาลที่ ๗ ทรงรับภาระปฏิสังขรณ์เสมือนวัดประจำพระองค์ด้วย
คลองมหานาค
หลัง จากที่รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดย้ายพระนครมาสร้างทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาและ ขุดคลองคูพระนครล้อมรอบตัวเมือง สร้างป้อมปราการเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้โปรด ให้ขุดคลองต่อจากคลองคูตรงข้างเหนือวัดสะแก ตรงไปทางตะวันออกอีกคลองหนึ่ง พระราชทาน นามว่าคลองมหานาค ตามแบบอย่างคลองมหานาคที่วัดภูเขาทองนอกเขคพระนครที่กรุงเก่า ต่อมา เมื่อสถาปนาวัดสระแกเป็นพระอารามหลวง จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ จุดประสงค์ การขุดคลองนี้ก็เพื่อให้ชาวประชาได้ใช้เล่นเพลงเรือดอกสร้อยสักวา
ปี พ.ศ. ๒๓๔๔ ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้แต่งคลองมหานาคตอนริมวัดสระเกศ และคลองเดิมข้าง หน้าให้กว้างขวาง และให้ทำเป็นเกาะหลายเกาะสำหรับเป็นที่ชาวพระนครประชุมเรือ เล่นนักขัต ฤกษ์ในฤดูน้ำเพ็ญเดือน ๑๒ เมื่อการสำเร็จในปีนั้นก็โปรดให้มีมหกรรมฉลองวัดสระเกศ แล้วยัง โปรดให้พระราชวงศ์แต่งเรือประพาสร้องดอกสร้อยสักวา
เมื่อ รัชกาลที่ ๔ ขยายตัวพระนคร ได้ขุดคลองผดุงเกษมให้เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก จึงบรรจบ กับคลองมหานาค ซึ่งต่อจากคลองนี้ตรงไปก็จะเป็นคลองบางกะปิที่เลียบวังสระปทุมวัน เชื่อมต่อเป็น คลองแสนแสบ
มีที่สังเกตปากคลองมหานาคก็คือ ป้อมมหากาฬที่สร้างแต่รัชกาลที่ ๑ แล้วในรัชกาลที่ ๖ ได้สร้าง สะพานมหาดไทยอุทิศตรงบริเวณปากคลองด้วย แต่ก่อนคลองอำนวยความสะดวกในการสัญจรและค้า ขายทางน้ำ ในภาพจึงคับคั่งด้วยเรือแพนาวา ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป หาดูอย่างในภาพนี้ไม่ได้อีกแล้ว
สถานี รถไฟกรุงเทพฯ หรือสามัญเรียกกันว่า "สถานีรถไฟหัวลำโพง" สร้างเสร็จและเปิดใช้ เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๙ในรัชกาลที่ ๖ ลักษณะการก่อสร้างเป็นรูปโดมแบบ Italian Renaissance เดิม เป็นสถานีรวม มีทั้งกิจการคนโดยสารและขนถ่ายสินค้า ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและ สินค้ามีมากขึ้น แต่พื้นที่ย่านสถานีซึ่งมีเพียง ๑๒๐ ไร่ ไม่สามารถขยายออกได้อีก ประกอบกับความคับ คั่งของการจราจรในท้องถนนหน้าสถานีทวีขึ้นด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้พิจารณาย้ายกิจการ สินค้าไปอยู่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และดำเนินการปรับปรุงย่านสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ใหม่ แต่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบไว้คงเดิม
สพานพุทธ ฯ
สะพาน พระพุทธยอดฟ้า (สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์) ได้สร้างขึ้นในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร ์มีอายุครบ ๑๕๐ ปี ในพ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชวินิจฉัยว่านอก จากจะเป็นสะพานที่ทอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมให้กรุงเทพฯกับกรุงธนฯ เป็นผืนแผ่นเดียวกันแล้ว สมควรจะสร้างพระพบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐมบรม กษัตริย์มหา ราชวงศ์จักรีไว้เป็นอนุสรณ์
บริษัท ดอร์แมนลอง เป็นผู้ประมูลได้ สัญญาการก่อสร้างสะพานตามแบบรายละเอียดได้กระทำ เมื่อวันที่ ๓ๆ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่กรุงลอนดอนในจำนวนเงิน ๒๕๕,๑๔๑ ปอนด์ ๗ ชิลลิง กับ ๑ เพนนี
สัญญานี้ระบุว่าจะต้องกระทำการให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔
วัน ที่ระลึกมหาจักรีที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพุทธยอดฟ้า ท่ามกลางประชาชนที่แห่กันเฝ้าชมพระบารมีอย่างแน่น ขนัดทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี
สุภาพสตรีในภาพไว้ผมยาว ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ก่อนหน้านี้ผู้หญิง ไทยมีทรงผมคล้ายผู้ชายแต่ยาวกว่า เรียกว่าทรงดอกกระทุ่ม
อาคาร สวยงามแห่งนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมแผนที่ทหาร เดิมเป็นโรงเรียนนาย ร้อยทหารบก ต่อมาย้ายมาอยู่ถนนราชดำเนินนอก และเขาชะโงก จ.นครยายก ในปัจจุบัน
ในพระราชพิธีมังคลาภิเษก พ.ศ.๒๔๕๐
เมื่อ คราวรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งนี้ ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล
ภาพนี้ ไม่ใกล้ไม่ไกลกรมทหารแถวคลองบางซื่อ คลองสามเสน ชาวบ้านอาศัย ในเรือนมุงจากใช้ระแทะเทียมควายลำเลียงฟ่อนข้าว
เดิม รัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริให้สร้างในแบบสถาปัตยกรรมยุโรปเต็มตัว แต่มีผู้ทัก ท้วงขอให้พระที่นั่งสามองค์มียอดปราสาท ตามพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์มีที่ประทับตามฤดูกาล ๓ แห่ง
ไอ ติมไล้เหลี่ยวฮ้า" เป็นเสียงร้องของเจ็กขายไอติมหาบเร่ ไอติมแบบเดิมไม่มี อะไรมาก เป็นส่วนผสมของน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำตาลทราย เนื้อไอติมออกเป็นทราย
รัชกาล ที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนนี้ใน พ.ศ.๒๔๐๔ ภาพนี้ถ่ายหลังการ เปลี่ยนจากรถม้าลากเป็นรถรางใช้พลังไฟฟ้า ตึกสองฟากยังเป็นแบบจีนเต็มตัว
ภาพ นี้คือสถานีตำรวจในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ คนทั่วไปเรียกว่า โรงพักพลตระเวน ยุคนั้น เราขังจ้างแขกอินเดียบ้าง มลายูบ้าง เป็น "โปลิส"
สตรีนำสมัยในราชสำนัก เริ่มหันมาสวมเสื้อแบบ "แหม่ม" แต่ยังคงนุ่งโจง กระเบนอยู่อย่างเดิม
เมื่อ ๘๐-๙๐ ปีมาแล้ว ชาวสวนจะใช้ชีวิตสมถะ บ้านช่องอยู่ในสวนริมคลอง มีแมก ไม้บดบัง แต่บ้านเรือนไทยสวยงาม มีความสงบร่มรื่น
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สารคลั่นครั่นครื้นฟอง
บทกาพย์เห่เรือนี้เป็นของเก่าที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ หรือเรียกกันว่าเจ้าฟ้ากุ้งมหาอุปราชแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกศทรงพระราชนิพนธ์
การ แห่พระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตรา มีทั้งทางบกและทางเรือ แต่กระบวนต่างกันทั้งสอง อย่าง คือ พยุหตราทางสถลมารคนั้น มีใหญ่อย่างหนึ่ง น้อยอย่างหนึ่งกระบวนการแห่พระกฐินโดย พยุหยาตราอย่างใหญ่มีแบบมาตั้งแต่กรุงเก่า ถือเป็นกระบวนแห่ใหญ่อย่างเป็นพระ เกียรติยศงดงาม ถึง เอารูปริ้วกระบวนแห่อย่างนี้
กระบวนพระ กฐินพยุหยาตราทางชลมารคนั้นก็เป็นอย่างใหญ่อย่างน้อยเหมือนกัน แต่กระบวนแห่ ผ้าไตรกับกระบวนเสด็จ เป็นกระบวนเดียวกัน ชั่วแต่มีเรือเอกไชยทรงผ้าไตรพระกฐินนำหน้าเรือพระ ที่นั่งไป กระบวนอย่างใหญ่กับอย่างน้อยแต่ก่อนมาไม่สู้ผิดกันมากนัก
การ แต่งกายของสตรีสยามได้เปลี่ยนแปลงมาทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับชาติที่เจริญแล้วทาง ยุโรป ความงดงามของเครื่องนุ่งห่มที่ดัดแปลงซึ่งเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันงดงาม ประจำชาติย่อม เป็นเกียรติภูมิที่น่าภูมิใจ เมืองไทยเรามีเครื่องแต่งกายสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรี อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์
การแต่งกาย ในภาพนี้เป็นสตรีที่ทันสมัยทั้งเสื้อผ้าและทรงผม เป็นระยะเวลาที่เริ่มในสมัยแผ่น ดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฆเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปแบบของเสื้อผ้า อาภรณ์ประดับกายก็ได้เปลี่ยน เรื่อยมาจนถึงสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ดังภาพที่ได้เห็นอยู่นี้
ใน สมัยโบราณแต่ก่อนมาชาวไทยทุกถาคส่วนมากจำใช้การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง เพราะยัง ไม่มีโรงสีที่จะกลั่นข้าวเปลือกเป็นข้าวสารได้ ข้าวที่ใช้ตำนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะ ข้าวที่ใช้วิธีตำข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เรียกว่า ข้าวแดงหรือข้าวซ้อมมือนี้ ยิ่งเป็นความนิยมของผู้ บริโภคจำนวนมากเหมือนกัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ในอาณาเขต ของย่านสำเพ็งนั้นเริ่มคับแคบ เพราะผู้คนคับคั่งมากขึ้นด้วย เป็นสถานที่ค้าขายสินค้า ประชาชนเข้า มาอยู่กันแออัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเยาวราช โดยให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินอาคารบ้านเรือนได้ ีรับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ถนนเยาวราชสำเร็จลงด้วยดีทุกประการ มีความยาว ๑,๕๓๒ เมตร กว้าง ๒๐ เมตร นับเป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
พระพุทธมหามนีรัตนปฏิมากร
ตำ นานรัตนพิมพวงศ์กล่าวความว่าได้ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรภายในสถูปองค์ หนึ่งใน เมืองเชียงราย เมื่อปีพ.ศ. ๑๙๗๓ ภายหลังที่สถูปแห่งนี้ถูกอสุนีบาตฟาดลง ชาวเมืองเชียงรายได้ เห็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองสำคัญว่าเป็นพระพุทธรูปสามัญจึงอัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ในวิหารแห่งหนึ่ง ต่อมาราว ๓ เดือนปรากฎว่า ปูนปั้นลงรักปิดทองนั้นได้กะเทาะออก ที่ปลายพระนาสิกเป็นเป็นแก้วส ีเขียวงดงาม เจ้าอาวาสจึงงได้กะเทาะปูนนั้นออกทั้งสององค์ จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นพระพุทธรูป แก้วทึบบริสุทธิ์ทั้งแท่ง ทำให้ประชาชนทั้งปวงพากันมาสักการะ
หลังจากนั้นพระพุทธรูปมหามณีรัตนปฏิมากรได้รับการเคลื่อนย้ายไปประดิษฐาน ณ เมือง ต่างๆ ดังนี้ เมืองลำปาง เป็นระยะเวลา ๓๒ ปี เมืองเชียงใหม่ ๘๔ ปี เมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี และเมือง เวียงจันทร์ ๒๑๔ ปี จน กระทั่งถึงแผ่นดินกรุงธนบุรี ในปีพ.ศ. ๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นจอมทัพยกขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้เมืองเวียงจันทร์แล้ว จึงอัญ เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรกลับมายังสยามประเทศอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรด ให้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงผ่านพิภพสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระอารามหลวงขึ้นในพระบรม มหาราชวัง แล้ว จึงได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗ พระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสร้างเครื่องทรงคิมหันตฤดูและ วสันตฤดู และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเครื่องเหมันตฤดูถวายพระ พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ส่วนพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปลี่ยนเครื่องทรง ของพระพุทธ มหามณีรัตนปฎิมากรถวายเป็นประจำทุกฤดูกาล ปัจจุบันพระ พุทธมหามณีรัตนปฎิมากรหรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในการพระราช พิธีทั้งปวงที่กระทำในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อาทิ พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราช พิธีมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา รวมทั้งพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอื่นๆ ถือเป็นพระพุทธรูปคู่ บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนคนไทย และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
เป็น เรือประทุนมีท้านยกงอนสูง ท้องเรือขุด ทนแรงกระแทกกับโขดหินได้ดีกว่าเรือต่อชาวเวียงเหนือ ใช้เป็นพาหนะขึ้นล่องติดต่อกับกรุงเทพฯ ก่อนทีจะมีรถไฟ
คลอง นี้ขุดมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ณ ที่นี้เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียน "ราชวิทยาลัย" ปัจจุบันเป็นสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เรือ เดินสมุทรขนาดใหญ่ที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการระดับสูง สร้างขึ้น น้อมเกล้าฯ ถวายัรชกาลที่ ๕ เพื่อใช้ในการเสด็จประพาสยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ (ครั้งที่ ๑)
ชื่อ ทางราชการคือ ลองผดุงกรุงเกษม รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดเป็นคูพระ นครชั้นนอก ใช้ประโยชน์ในการเอินทาง ต่อมากลายเป็นย่านการท้าทางเรือที่สำคัญ
ทหาร ปืนใหญ่ แต่งเครื่องแบบเต็มยศบริเวณ "ถนนน่าห้างหมอรัมซัน" ในคราวที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จ พระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินราวปี พ.ศ. ๒๔๔๗
ป้อม นี้อยู่ตรงมุมวัดพระแก้ว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำเสาธงขึ้น เพื่อชักธงเช่นเดียวกับฝรั่ง โดยเชิญธงตราพระมงกุฎ ซึ่งเป็นธงประจำพระองค์
ละครหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
การฝึกฝนตัวโขนละคร ไม่ว่าจะเป็นตัวพระ ตัวนาง หรือตัวยกษ์ และลิงตัวนั้นจะต้องใช้เวลาไม่ น้อยกว่าสองปี
ครูละครในยุดนั้น ครูผู้เลือกได้แก่ พระยานัฎกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) และคุณหญิง เทศ นัฎกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)
เมื่อ เกือบ ๑๐๐ ปีก่อนนั้น ถนนหนทางในกรุงสยามมีย้อยสาย การดำรงชีวิตของประชาชนทั่ว ไปนั้นสัญจรกันตามลำน้ำเป็นส่วนใหญ่ แม้ในบางกอก การตดต่อค้าขาย การไปมาหาสู่ก็ใช้ เรือแจว และเรือพาย ดังนั้นการสร้างบ้านตามริมคลองและแม่น้ำจึงเป็นความนิยมของชาวกรุง จนกรุงสยาม ได้รับสมญานามว่าเป็น เวนิสแห่งตะวันออก เพราะชาวต่างประเทศได้มาเห็น "เรือแพ" เรือนใน น้ำของชาวสยามสมัยนั้นปรากฎอยู่ทั่วไปเหนือน่านน้ำ
สร้าง เป็นปราสาทแบบไทย ตั้งอยู่กลางสรพน้ำ งามเด่นเป็นสง่าแก่พระราชวังบางปะอิน ภาย ในมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าพระองค์ จริง ในฉลองพระองค์ชุดจอมทัพบกประดิษฐานอยู่
มูล เหตุที่จะทรงสร้างพระที่นั่งองค์นี้ กล่าวว่าขณะที่สร้างพระราชวัง คนงานขุดสระได้พบเสา ๑๒๐ ต้น และมียอดปราสาทฝังจมดินอยู่ เชื่อว่าบริเวณนั้นแต่เดิมเป็นพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ของพระเจ้า ปราสาททอง ซึ่งทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสามแบบไทยด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์ อุทิศถวายพระเจ้าปราสาททองและ พระราชทานนามว่าไอศวรรย์ทิพยอาสน์เหมือนเดิม
**********************************
๑. อยุธยาดาเด่นด้าว แดนสวรรค์ นี้เฮย
สายป่านเพียงเพ็ญจันทร์ เจิดจ้า
ข้าศึกบุกโรมรัน เข้าฝ่า ตีเมือง
สดับสำเนียงอ้า อาบทั่ว ธรนินทร์
๒. ผ่านพ้นเพียงอโยธ- ยายิ่ง ยศนา
เอิบอิ่มเอมแอบอิง โอบเอื้อ
เทียมเทียบดั่งขวัญมิ่ง เมืองเอก นี้แล
รัตน-โกสินทร์เครื้อ อวดอ้าง ฤาไฉน
๓. เวียงวังดุจดั่งเมือง เรืองรุ้ง แลนา
เกริกเกียรติกำจายฟุ้ง ฟูเฟื่อง
กอบกู้ก่อนกาลกรุง ศรีเอก(ะ) ราชแล
โดดเด่นว-น-เรื่อง เก่งกล้า เกินใคร
๔. ร่มเย็นทั่วแหล่งหล้า บารมี
อาบอิ่มพระภูมี ปกป้อง
ชโลมหลั่งดั่งวารี อุ้มโอบ มัจฉา
พสกเปล่งประกายก้อง แซ่สร้อง สรรเสริญ
๕. รำลึกกลอนก่อนแก้ว ก่อเกิด
โสมส่องสร้องเสียงเลิศ เด่นฟ้า
สดับดั่ง ธ ทูนเทิด เอื้อนเอ่ย มธุรินทร์
รัตน-โกสินทร์ข้า ห่อนรู้ คุณธรรม
๖. งามสตรีหนึ่งนี้ ศรีสยาม เจ้าเอย
ผิวผ่องผิเพียงสาม ภพหล้า
ประดุจดั่งหญิงงาม งดเด่น ดื่นด้าว
มารยาทอวดอ้างอ้า เด่นยิ่ง...หญิงไทย....
หมายเหตุ :
ขอบคุณภาพและข้อมูล จากโรงเรียนสวนกุหลาบ นนทบุ