gloomy sunday
เพลงมีอิทธิพลกับจิตใจมนุษย์มากมาย อย่างเช่นเพลงนี้
กลูมมี่ ซันเดย์เป็นเพลงที่แต่งขึ้นโดยนักกวีชาวฮังการีผู้หนึ่ง ชื่อว่า "วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า" แต่งโดยหนุ่มฮังกาเรียนนามเรสโซ เซเรสส์ (Reszo Seress)
มันเริ่มมาจากเมื่อเดือนธันวาคม ปี1932 เรสโซเป็นที่เป็นนักแต่งเพลงยากจน เขาพยายามหาเลี้ยงชีพอยู่ในนครปารีส แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะเพลงแต่ละเพลงของเขาไม่ได้รับความสนใจ อีกทั้งคนรักของเขาก็ไม่เห็นดีเห็นงามด้วยจนทะเลาะกันอยู่หลายครั้ง ในที่สุดในวันหนึ่ง ทั้งคู่ก็ต้องถึงคราวแยกทางกัน
ด้วยเหตุนี้ ในวันอาทิตย์วันหนึ่ง มันเป็นวันฝนตก เรสโซที่ทั้งหดหู่และเศร้าหมองด้วยเหตุการณ์ต่างๆก็ได้แต่งเพลงนี้ขึ้นในวันนั้น ซึ่งเป็นการบรรเลงทำนองด้วยเปียโน เขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็ประพันธ์เพลงเสร็จ จากนั้นจึงได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆแต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ
และสุดท้ายก็มีสำนักพิมพ์บทประพันธ์แห่งหนึ่งรับไว้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเพลงนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังมหานครต่างๆทั่วโลก...
ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมันนี ชายหนุ่มคนหนึ่งได้ขอให้วงดนตรีเล่นเพลงกลูมมี่ซันเดย์ให้ฟัง หลังจากนั้น เขากลับบ้านและระเบิดศีรษะด้วยปืนรีวอลเวอร์หลังจากบ่นกับญาติๆว่าเขารู้สึกกดดันอย่างรุนแรงกับท่วงทำนองเพลงที่เขาไม่อาจลบมันออกไปได้
สัปดาห์ต่อมาที่กรุงเบอร์ลินสาวผู้ช่วยร้านขายของแขวนตัวตายอยู่ในแฟลตที่พัก พบบทเพลงกลูมมี่ซันเดย์อยู่ที่ห้องของเธอด้วย
สองวันหลังจากนั้น เลขานุการิณีในนิวยอร์กได้ฆ่าตัวตายด้วยแก๊ส ในจดหมายลาตายได้ขอร้องให้เล่นเพลงนี้ในงานศพของเธอด้วย
สัปดาห์ถัดมา ชาวนิวยอร์กอีกรายเป็นชายวัย 82 ได้กระโดดหน้าต่างอพาร์ตเมนท์ชั้น 7 ลงมาตาย โดยก่อนตายเขาได้เล่นเพลงนี้
ในเวลาไล่เลี่ยกัน วัยรุ่นกรุงโรมก็กระโดดสะพานฆ่าตัวตายหลังจากที่ได้ฟังเพลงมรณะนี้เช่นเดียวกัน
ไม่นานนักเจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนึ่งก็ได้ยิงตัวตายหลังจากที่ได ้อ่านเนื้อเพลงนี้ รายต่อมาเป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่พยายามกินยาพิษเมื่อได้ยินเพลงน ี้จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งในกรุงบูตาเบส ชายคนหนึ่งก็ไดยิงตัวตายในขณะที่เพลงนี้กำลังบรรเลงอยู่ และรายอื่นๆอีกมากมาย...
และผู้ประพันธ์เพลงนี้เองก็ต้องเจอชะตากรรมอันเลวร้าย เมือคิดจะไปคืนดีกับคนรัก แต่ในเวลาต่อมาเขาก็รู้ว่า คนรักของเขาได้กินยาพิษฆ่าตัวตายไปแล้ว ที่ข้างร่างของเธอคือแผ่นกระดาษบทเพลงกลูมมี่ซันเดย์นั่นเอง
รัฐบาลฮังการีได้สั่งห้ามไม่ให้เปิดเพลงนี้ออกอากาศ แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังเกิดในที่อื่นๆอีก เช่นที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทางบีบีซีก็ได้ถูกสั่งห้ามเปิดเพลงนี้เช่นกัน แต่ในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็ตัดสินใจที่จะไม่ทำอย่างรัฐบาลอังกฤษและฮังการี
โดยสรุปแล้วการฆ่าตัวตายนั้นได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพลงนี้ประม าณ 200 รายทั่วโลก
และในปี 1968 ชาวอังกฤษคนหนึ่งก็ได้กระโดดจากชั้น 8 ของอาคารแห่งหนึ่ง เขาคือ เรสโซ เซเรสส์ ซึ่งไม่สามารถแต่งเพลงได้อีกหลังจากการแต่งทำนองเพลง "วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า"
และนี่เองคือที่มาสำหรับบทเพลงแห่งความตายที่มีชื่อว่า "วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า" หรือ "gloomy sunday"
เพลง "วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า"
แต่งโดย ลาฟโร จาร์วัว
ทำนองโดย เรสโซ เซเรสส์
ได้ยินว่าเป็นเพลงต้องห้าม(บทเพลงแห่งความตาย) ถูกห้ามเปิดทั้งในฮังการีและอังกฤษ มีส่วนเกี่ยวข้องกบการตายของคนถึง 200 คน
วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า
วันอาทิตย์นี้ช่างแสนเศร้า ฉันไม่สามารถจะล้มตัวลงนอนได้
ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความมืดที่ไม่มีวันจบสิ้น
ดอกไม้ขาวหล่าวนั้น จะไม่ช่วยให้เธอฟื้นขึ้นมาได้ (ขอบอกก่อนนิดนึงว่า ชาวตะวันตกเวลางานศพเค้าจะมาไว้อาลัยคนตายด้วยดอกไม้สีขาว)
ไม่แม้กระทั้งที่ที่รถสีดำคันนั้นพาเธอไป (รถขนศพเมืองนอกเค้าจะเป็นเหมือนลิมูซีนคันเล็กสีดำ)
หล่าวเทวดาทั้งหลายจะไม่มีวันคืนเธอกลับมาหาฉันได้
พวกเค้าจะโกรธมั๊ยถ้าฉันจะไปหาเธอแทน (หมายความว่า ถ้าเทวดาคืนเธอมาไม่ได้ ฉันก็จะฆ่าตัวตายไปหาเธอเอง)
วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า
วันอาทิตย์นี้ช่างแสนเศร้า ฉันอยู่แต่ในความมืดมานานพอแล้ว
ฉันและหัวใจของฉันได้ตัดสินใจที่จะจบทุกอย่างแล้ว
อีกไม่นานฉันก็จะห้อมล้อมไปด้วยธูปเทียนและคำภาวนา ฉันรู้ว่ามันเศร้า
แต่อย่าร้องไห้ไปเลย เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่ฉันต้องการทำ
ความตายสำหรับฉันไม่ใช่ความฝัน เพราะว่าฉันจะได้สัมผัสเธออีกครั้ง
ด้วยลมหายใจสุดท้ายของฉัน ฉันจะอยู่เคียงข้างเธอ
วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า
นั่นเป็นเพียงแค่ความฝัน
ฉันตื่นขึ้นมาเห็นเธออยู่เคียงข้างในใจของฉัน
ฉันหวังว่าความฝันของฉันนั้นไม่ได้ทำให้เธอเศร้า
เพราะหัวใจของฉันกำลังบอกเธอว่า ฉันต้องการเธอมากแค่ไหน
วันอาทิตย์ที่แสนเศร้า
------------------------------------------------
Sunday is gloomy, my hours are slumberless
Dearest the shadows I live with are numberless
Little white flowers will never awaken you
Not where the black coach of sorrow has taken you
Angels have no thought of ever returning you
Would they be angry if I thought of joining you?
Gloomy Sunday
Gloomy is Sunday, with shadows I spend it all
My heart and I have decided to end it all
Soon there’ll be candles and prayers that are sad I know
Let them not weep let them know that I’m glad to go
Death is no dream for in death I’m caressing you
With the last breath of my soul I’ll be blessing you
Gloomy Sunday
Dreaming, I was only dreaming
I wake and I find you asleep in the deep of my heart, here
Darling, I hope that my dream never haunted you
My heart is telling you how much I wanted you
Gloomy Sunday
ลองโหลดไปฟังกัน
------------------------------------
พูดถึงเพลงมีอิทธิพลกับจิตใจเราแล้ว เลยอยากพูดถึงซบลิมินัลหรือการสื่อสารผ่านจิตใต้สำนึกซักนิดหน่อย แม้ไทยเราการวิจัยเรื่องนี้จะยังไม่กว้างขวางนักก็จริง แต่หลังๆนี่ก็มีการวิจัยเพิ่มขึ้น มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา...
จากทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิเคราะห์ชาวเยอรมัน เขาได้บอกว่าคนเรามีการรับรู้อยู่สองระดับ คือ จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก จิตสำนึก คือ การรับฟังข้อมูลแล้วได้ติดตามไป แต่สำหรับจิตใต้สำนึกนั้นก็คือ การับรูที่เราไม่รู้ตัว และการรับรู้พวกนี้มีทั้งหมด 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรารับรู้ในขณะที่เราไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่าง ขณะที่คน 2 คนคุยกัน การรับรู้โดยจิตใต้สำนึกก็จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว อย่างความรู้สึกถึงความนุ่ม ความแข็งของเก้าอี้ อากาศในห้อง ซึ่งถ้าไม่มีใครบอกก็จะไม่มีใครรู้ตัว แต่พอพูดปั๊บก็จะนึกถึงเสื้อผ้า ที่เราสวมใส่ว่ามีความนุ่มหรือแข็งขนาดไหน ซึ่งจริงๆ แล้ว เพราะโดยธรรมชาติสมองของเราจะรับรู้ได้ทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อที่เราจะได้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
การสื่อสารผ่านจิตใต้สำนึก (subliminal processing) หรือการรับรู้ที่ไม่อยู่ในความตั้งใจ (preconscious processing) นั้น มีการศึกษากันมานานแล้วว่า สามารถเข้าสู่สมองและมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด รวมทั้งสามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามที่ต้องการได้ มีหลายการทดลองที่พบว่า subliminal stimulus มีผลทำให้ผู้ป่วยคลายจากอาการวิตกกังวล ลดอาการย้ำคิดย้ำทำ ลดอาการซึมเศร้า ลดการใช้ยาในผู้ป่วยโรคจิต รวมทั้งช่วยให้การรักษามาตรฐานสำหรับการเลิกบุหรี่และเฮโรอีนได้ผลดีขึ้น
subliminal stimuli ที่นิยมวิจัยกันมี 2 รูปแบบ คือ visual subliminal และ auditory subliminal การสื่อสารผ่านจิตใต้สำนึกทางการมองนั้นต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อน เพราะจะต้องเป็นเครื่องฉายภาพที่ฉาย visual subliminal ได้เร็วระดับ 10-50 millisecond อีกทั้งต้องการให้อาสาสมัครมองภาพที่ฉายด้วย ตรงข้ามกับการสื่อสารผ่านจิตใต้สำนึกที่ผ่านทางหู (auditory subliminal) การสื่อสารวิธีนี้ไม่ต้องการความสนใจ อาสาสมัครไม่ต้องมอง เครื่องมือที่ใช้ก็ไม่ยุ่งยาก เป็นเพียงเครื่องเล่นเทปธรรมดาที่หาได้ทั่วไป ดังนั้น auditory subliminal จึงเหมาะสมทั้งสำหรับผู้วิจัยและผู้นำไปใช้ ด้วยความสะดวกหลายประการดังกล่าว