พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
การเผยแผ่ศาสนาพุทธในปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์มักจะมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา ผ่านการเผยแผ่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่แต่ละภิกษุรูปสร้างสรรค์ขึ้น โดยเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประชาชนส่วนใหญ่ล้วนยอมรับแนวทางการเผยแผ่ศาสนาในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ดังอย่างเฟซบุ๊ก
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระ ไพศาล วิสาโล พระภิกษุในวัย 53 ปี เจ้าอาวาสแห่งวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ หนึ่งในพระภิกษุสงฆ์ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในทางธรรม ซึ่งท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่เผยแผ่ศาสนาผ่านสื่อหลายรูปแบบ ไปพร้อม ๆ กับการช่วยเหลือผู้คน และที่สำคัญพระไพศาล คือภิกษุผู้เป็นนักเขียนที่มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ในแนวคิดสันติวิธี
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระไพศาล ในวัยเยาว์
ด.ช.ไพศาล วงศ์วรวิสุทธิ์ หรือ อั้งยี่ ชื่อที่คนในครอบครัวเรียกกัน เติบโตมาในครอบครัวระดับกลาง มีพี่น้อง 5 คน ซึ่ง ด.ช.ไพศาล เป็นคนที่ 4 บิดาของเขาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ทว่ากลับเลือกที่จะทำธุรกิจเป็นเจ้าของสถานบันเทิง จนทำให้มีภรรยาน้อย และติดการพนันด้วย ด.ช.ไพศาล จึงเติบโตมาท่ามกลางความขัดแย้งของครอบครัว และสถานะการเงินที่ไม่ค่อยดีนัก
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
ด.ช.ไพศาล เรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบุคลิกเป็นนักเรียนที่เรียนดี ตั้งใจเรียน และไม่เคยเกเร ยิ่งตอนเรียนอยู่ชั้น ม.2 เขาลองตรึกตรองดูแล้วพบว่า การเรียนไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเรียนเพื่อให้ได้คะแนนเท่านั้น แต่มันคือการเรียนเพื่อให้ได้ความรู้ต่างหาก ด.ช.ไพศาล จึงตั้งอกตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทำคะแนนดียิ่งขึ้น ท่ามกลางความหวังของครอบครัวในยุคนั้นว่า เขาจะต้องเป็นหมอ หรือวิศวกร จากนั้นเป็นต้นมาด.ช.ไพศาล ก็เริ่มแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองจากห้องสมุด อ่านหนังสือหลายต่อหลายเล่ม เรียกได้ว่าอยากรู้เรื่องอะไร ก็อ่านเรื่องนั้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ชื่นชอบมาก และตั้งใจว่าเขาจะเป็นวิศวกรให้ได้
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
แต่ แล้วชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อได้อ่าน หนังสือสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับภัยเหลืองต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ที่เขาอ่านแล้วรู้สึกว่าประเทศไทยถูกเอาเปรียบจากญี่ปุ่น จึงทำให้เขาสนใจในด้านการเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังชอบช่วยเหลือชุมชน เขาจึงเข้าร่วมชมรมอาสาพัฒนาของอัสสัมชัญ จนกลายเป็นเด็กกิจกรรมที่มักโดดเรียนเพื่อไปทำกิจกรรมอยู่เสมอประจวบ กับขณะนั้นกระแสการเมืองช่วง 14 ตุลา แรงมาก นักศึกษาส่วนใหญ่ก่อตัวกับแนวคิดทางการเมือง ความคิดที่จะเป็นวิศวกรของเขาจึงถูกโยนทิ้งไป และเบนเข็มมามุ่งหมายจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทน โดยเขาตัดสินใจย้ายแผนการเรียน จาก มศ.4 สายวิทย์ ไปเป็น มศ.5 สายศิลป์ ตั้งแต่นั้นมา
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระไพศาล กับ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
ความ มุ่งมั่นที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่มีอุดมการณ์ทางด้านการเมืองแรงกล้า ทำให้นายไพศาล ในขณะนั้นเข้าเป็นนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดังหวัง เพราะในช่วงเวลานั้น เริ่มมีการศึกษาประวัติศาสตร์ในรูปแบบใหม่ ๆ แบบที่นายไพศาลสนใจ เขาจึงเลือกเรียนเอกประวัติศาสตร์ ในระหว่างกำลังศึกษาอยู่ เขาทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย รวมถึงการตัดสินใจเลือกข้างว่าเขาจะเป็น "ฝ่ายซ้าย" เช่นเดียวกับเหล่านักศึกษาส่วนใหญ่ที่นั่น
แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น นายไพศาลในเวลานั้น ไม่ได้เป็นซ้ายจัดเหมือนกับคนอื่น ๆ เขาเป็นเพียงฝ่ายซ้ายแบบอหิงสา หรือวิธีการสันติวิธี โดยร่วมก๊วนกันกับกลุ่มเพื่อนรวมตัวกันที่ชมรมพุทธศาสตร์ และเป็นกองบรรณาธิการ วารสารปาจารยสาร ที่ให้ความสำคัญกับการใช้สันติวิธี อหิงสา มากกว่าการปฏิรูปการศึกษา
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
ใน ที่สุดเหตุการณ์ปะทะครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง นักศึกษากับรัฐบาลก็มาถึง เมื่อเหล่านักศึกษาพยายามรวมตัวกันขับไล่ จอมพลถนอม กิตติขจร ให้ออกนอกประเทศจนกลายเป็นความบาดหมางครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งในขณะ นั้นกลุ่มของนายไพศาลเอง ก็มีการประกาศอดอาหารประท้วง เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขเรื่องดังกล่าว อย่างอหิงสา แต่เรื่องราวกลับไม่ได้เป็นดังใจคาดหมาย เมื่อกลุ่มของนายไพศาล 5 คน ที่อดอาหารประท้วงอยู่บริเวณสนามฟุตบอลภายในมหาวิทยาลัย ถูกกลุ่มตชด. บุกเข้ามาในมหาวิทยาลัย และจับตัวไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทั้ง ๆ ที่พวกเขา เพียงอดอาหารอยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนองเลือดใด ๆ นาย ไพศาลและเพื่อน ๆ ถูกควบคุมตัวอยู่ 3 วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยตัวให้กลับบ้านได้ ท่ามกลางความหวั่นใจของพ่อแม่ที่ออกตามหาตัวเขาจนทั่ว เพราะกลัวว่าเขาจะเป็นหนึ่งในหลายศพที่เสียชีวิต
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
แต่ หลังจากนั้น นายไพศาลก็ถูกปล่อยตัวออกมา และเขาก็ได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องมนุษยชน ที่สหรัฐอเมริกา และกลับมาร่วมทำงานกับกลุ่มประสานงานศาสนา เดินหน้าหาทางประกันตัวนักโทษจากเหตุการณ์ 6 ตุลา จนกระทั่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ในขณะนั้น ได้ประกาศให้ปล่อยตัวนักโทษทั้งหมด
เมื่อ ถึงปี 2523 นายไพศาล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และความรุนแรงทางการเมืองก็เบาบางลง กลุ่มประสานงานศาสนาของเขา จึงหันมาช่วยเหลือเด็กยากไร้ที่ขาดแคลนอาหารในชนบท และเดินทางไปยังบ้านท่ามะไฟหวาน จ.ชัยภูมิ และที่นี่เองที่ทำให้เขาพบกับ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ที่ให้การช่วยเหลือและสอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดแคลนโอกาส ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขา ในอีก 4 ปีต่อมา
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระไพศาล สู่เส้นทางธรรมะ
ความ ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แม้จะทำให้เขาสุขใจที่ได้ทำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นายไพศาลกลับมีเรื่องมากมายให้ต้องคิดฟุ้งซ่าน เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยได้ เขาคิดวนเวียนอยู่กับทุกเรื่อง และมันถูกเปลี่ยนแปลงเป็นความหงุดหงิด กระสับกระส่าย ทำอะไรก็ไม่มีความสุข ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เขามองเห็นทางที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ใจทั้งหลายทั้งปวง นั่นคือ การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ด้วยความตั้งใจว่าอยากจะบวชสัก 3 เดือน เพื่อปรับปรุงจิตใจ แต่เมื่อเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้ไปบวชกับพระภิกษุสายกรรมฐานรูปหนึ่ง ที่ จ.ชัยภูมิ ชื่อหลวงพ่อคำเขียน เวลานั้นเองที่เรื่องราวในอดีตย้อนกลับมา เขาเคยรู้จักกับหลวงพ่อรูปนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน ท่านมีความเมตตาและไม่เอาแต่ได้ เขาจึงตัดสินใจบวชกับท่านในที่สุด
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
แต่ เมื่อบวชไปได้สักระยะ หลวงพ่อคำเขียนท่านต้องไปจำพรรษาในที่กันดาร เกรงว่าพระใหม่อย่างหลวงพ่อไพศาล จะไม่มีผู้ดูแล จึงแนะนำให้ไปฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเทียน ที่วัดสนามใน จ.นนทบุรี แทน ที่นั่นเองที่พระไพศาลต้องต่อสู้กับการเลิกอ่าน เลิกเขียนหนังสือ และใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองในรูปแบบของการปฏิบัติธรรม แต่ เมื่อมีความกดดันและความขัดแย้งในตนเองระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านไปในการปฏิบัติธรรมที่วัดสนามใน จึงเป็นเพียงการต่อสู้กับจิตใจของตนเองเท่านั้น โดยแทบไม่บรรลุผลใด ๆ จึงทำให้พระไพศาล ตัดสินใจยืดระยะเวลาการบวชออกไปจนครบปี ท่ามกลางการรอคอยของเพื่อนร่วมงาน และมิตรสหายว่าเมื่อใดพระภิกษุไพศาลจึงจะกลับไปทำงานตามปกติ
หลัง จากนั้น พระไพศาล เลือกที่จะเดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ และได้พบกับพระอาจารย์คำเขียน สุวณฺโณ อีกครั้ง ซึ่งท่านก็มาจำพรรษาที่นี่เช่นเดียวกัน ในขณะนั้นวัดป่าสุคะโต เป็นวัดที่แร้นแค้นมาก มีพระจำพรรษาอยู่เพียง 9 รูป และถูกบูรณะเป็นวัดอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ.2512 ท่ามกลางผืนป่าที่ถูกทำลายด้วยเงื้อมมือนายทุน แม้จะมีการขอบิณฑบาตจากพระภิกษุในวัด แต่ก็ไม่สามารถห้ามปรามได้
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
พระ ไพศาลจึงเดินหน้าดูแลเรื่องการรักษาผืนป่า ที่ใคร ๆ เฝ้าแต่จะหาประโยชน์ และร่วมมือกับคณะสงฆ์วัดป่ามหาวัน ปกป้องดูแลอนุรักษ์ป่าภูหลง กุฏิหลังน้อยของท่านตั้งอยู่กลางป่า คือสิ่งที่บ่งบอกให่ท่านรู้ว่า หน้าที่อนุรักษ์ป่าเป็นงานที่พระสงฆ์ไม่อาจละเลยได้ เนื่องจากป่าไม่ใช่เพียงต้นกำเนิดของแหล่งน้ำเท่านั้น แต่ป่ายังเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนาด้วย ในพุทธประวัติที่ผ่านมา ต้นไม้ก็เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ท่านจึงกลายเป็นพระเอ็นจีโอในสายตาใคร ๆ นับแต่นั้นมา
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
แม้ จะต้องอุทิศแรงกายไปกับการรักษาผืนป่า และเทศนาให้กับชาวบ้าน แต่พระไพศาลก็ยังคงไม่ละทิ้งแนวคิดแห่งความเป็นสันติวิธี ท่านเข้าร่วมอบรมแนวคิดสันติวิธีให้กับชาวบ้านอยู่บ่อยครั้ง ด้วยหวังต้องการให้พวกเขาเหล่านั้น รู้จักกับการต่อสู้ในแบบสันติวิธีไม่ใช่ความรุนแรง
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
การแผยแผ่ธรรมะผ่านงานเขียน
แต่ ไหนแต่ไรมา พระไพศาล คือผู้ที่ฝักใฝ่ในการอ่านและเขียน หนังสือหลายเล่มที่ท่านอ่าน เป็นหนังสือที่ให้ความรู้และแนวคิด ท่านจึงเป็นพระที่สะสมความรู้เอาไว้มาก และอยากแบ่งปันให้ผู้อื่นรับรู้ ดังนั้นเมื่ออ่านเพื่อรับข้อมูลมาแล้ว พระไพศาลจึงเลือกที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนด้วย ซึ่งผลงานของท่านมีทั้งงานเขียน งานตรวจแก้ต้นฉบับ งานแปล และเรียบเรียง อะไรก็ตามที่ถูกขอมาท่านก็จะเขียนให้ตามคำขอ และงานเขียนของท่าน ก็จะถูกตีพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งคอลัมน์ประจำในวารสาร หนังสือเล่ม หรือเว็บไซต์ โดยหนังสือที่เป็นที่รู้จัก แพร่หลายก็เช่น พุทธศาสนาไทยในนอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ , สุขใจในนาคร พรแห่งชีวิต , จิตแจ่มใสดอกไม้บาน เป็นต้น
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
แม้ กระทั่งนิตยสารผู้หญิงอย่างอิมเมจ ท่านก็เคยเขียนคอลัมน์ลงในนั้นมาแล้ว แต่ใช้นามปากกาที่ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นพระ เพื่อให้สามารถมีอิสระในการเขียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์พระไพศาล วิสาโล และ Facebook Phra Paisal Visalo อีกด้วย ซึ่งพระไพศาลจะใช้เวลาวันละประมาณ 4 ชั่วโมง ในการเขียนต้นฉบับเพื่อเผยแพร่ลงทั้งในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก และหนังสือ รวมทั้งตอบอีเมล และตอบจดหมายลูกศิษย์ที่ส่งเข้ามาทุกวัน แต่ท่านก็ยืนยันว่าท่านไม่ได้หักโหม เพราะจะเข้านอนเวลา 3 ทุ่ม ทุกวัน
พร้อม กันนี้ พระอาจารย์ไพศาล เล่าว่า อาตมาไม่ได้ติดเฟซบุ๊ก เพราะไม่ได้เล่นเกมอย่างคนอื่นเขา แต่ต้องเข้าไปโพสต์เมื่อมีโอกาส และมีเพียงชั่วโมงอินเทอร์เน็ตเดือนละ 30 ขั่วโมงให้ใช้เท่านั้น จึงต้องจัดสรรเวลาให้ดี เฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง และ พระไพศาล วิสาโล ก็ยังยืนยันว่าจะมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม และเผยแผ่ความรู้ผ่านงานเขียนต่อไป โดยท่านเลือกแล้วที่จะใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางป่าเขาและความสงบอยู่ที่ วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
พระไพศาล วิสาโล คนค้นคน
นี่ เป็นเพียงเรื่องราวในช่วงชีวิตหนึ่งของ พระไพศาล วิสาโล หลวงพ่อผู้สะสมความรู้จากการอ่าน และถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีแนวคิดของสันติวิธีรวมอยู่ด้วย และเชื่อได้เลยว่านับจากนี้ต่อไปภาพของพระไพศาลจะยิ่งชัดเจนขึ้น ในรูปแบบของพระภิกษุแห่งสันติวิธี ที่มุ่งมั่นเผยแผ่แนวคิดนี้สู่ประชาชน ..
ประวัติ พระไพศาล วิสาโล
ชื่อเดิม : ไพศาล วงศ์วรวิสุทธิ์
ชื่อเล่น : อั้งยี่
อายุ : 53 ปี
การศึกษา :
มัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มอุปสมบท : ปี พ.ศ. 2526
ปัจจุบัน : เป็นเจ้าอาวาส ณ วัดป่าสุคะโต อ.แก่งคร้อ จ.ชัยภูมิ แต่พักสลับกันกับ วัดป่ามหาวัน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
ความเชี่ยวชาญ : นักวิชาการ นักอ่าน นักเขียน นักปฏิบัติธรรม นักอนุรักษ์ นักบรรยาย
ผลงานเขียนที่ผ่านมา :
เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
หนังสือเล่ม ร่มไม้และเรือนใจ
หนังสือเล่ม รู้ใจไกลทุกข์
หนังสือเล่ม เป็นไทย เป็นพุทธ เป็นสุข
หนังสือเล่ม ความสุขที่ปลายจมูก
หนังสือเล่ม สุขสวนกระแส
หนังสือเล่ม ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ
หนังสือเล่ม พุทธศาสนาไทยในอนาคต
หนังสือเล่ม มีใจเป็นมิตร มีจิตเป็นเพื่อน
หนังสือเล่ม ไม่ผลักไส ไม่ใฝ่หา
หนังสือเล่ม คืนสู่สามัญ
หนังสือเล่ม ชีวิตอิสระ
หนังสือเล่ม สุขแท้ด้วยปัญญา
หนังสือเล่ม พูทธศาสนากับคุณค่าต่อชีวิต
หนังสือเล่ม อเมริกาจาริก
ฯลฯ
เว็บไซต์ : เว็บไซต์พระไพศาล วิสาโล
Facebook : Facebook Phra Paisal Visalo