ทำไมเส้นแบ่งเขตเวลา ถึงไม่เป็นเส้นตรง ???

 

ก่อนอื่นต้องขอโทษก่อนนะค้าบ เนื้อหาเป็นเนื้อหาเชิงวิชาการ อาจจะยาวไปหน่อย แต่เกิดจากความสงสัยของ เฮนรี่ ซึ่งกำลังดูแผนที่โลกอยู่นั้น เหลือบไปเห็นว่า เส้นแบ่งเวลาไม่เป็นเส้นตรง เลยค้นหาคำตอบข้อสงสัยนั้นทันที จนได้ข้อสรุป แล้วก็อยากเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้รับรู้เช่นกันค้าบ....... รู้คนเดียวมันไม่เกิดประโยชน์ ต้องแบ่งๆกันรู้ค้าบผม

 

 

 

โดยปกติ “เส้นแบ่งเขตเวลา” บนโลกต้องเป็นเส้นตรง ลากผ่านจากทิศเหนือ มาใต้ แต่ทำไมนะ มันถึงไม่ตรง ก่อนอื่นไปทำความรู้จักกับ “เส้นแบ่งเขตเวลาก่อนค้าบ”


เส้นแบ่งเวลาสากล (International Date Line : IDL) เป็นเส้นที่ใช้แบ่งเวลาสากล โดยกำหนดเส้นที่ 180 องศา โดยใช้ทางตะวันตกของเมอริเดียนที่ 180 องศา มีเวลาเร็วกว่าทางด้านตะวันออก 1 วัน ในอดีต เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15° ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง

 

 

ที่ตั้งของเส้นไพรม์เมอริเดียน  >>> แนวเส้นไพรม์เมอริเดียนที่ลากผ่านทั้งเมืองเส้นไพรม์เมอริเดียน (Prime Meridian) เป็นเส้นเมอริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0°การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นไพรม์เมอริเดียนในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมอริเดียนสากล หรือ เส้นเมอริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นไพรม์เมอริเดียนเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่นๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นไพรม์เมอริเดียนเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน


 

ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิชเพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์

 



 

*****ทำไมเส้นแบ่งเขตเวลาถึงไม่เป็นเส้นตรง*****

 

 

 

โดยเฮนรี่ได้นำข้อมูลนี้ไปถาม guru.google และ answers.yahoo.com เฮนรี่ได้แปลข้อมูลจากภาษา

อังกฤษ เป็นไทยดังนี้ค้าบ

 

 

The dateline isn't straight because if it was it would pass through several countries. It would be inconvenient for travel and movement in Russia for two different days to be happening at one time. Russia already has nine time zones, so you could see why a difference in a day would add to the confusion. Also with countries including several small islands it would not make sense to split them up. Could you imagine living in a small country where an adjacent island is considered to be in a different day than you?

 

เส้นแบ่งเขตเวลาไม่ตรง ก็เพราะว่า ถ้ามันลากผ่านหลายๆที่ในหลายๆประเทศ ทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายในการเดินทาง หรือการเคลื่อนย้าย  ในรัสเซียอาจจะแบ่งเป็น2 วันที่แตกต่างกันในเวลาเดียว โดยรัสเซียมี ตำแหน่งเวลาถึง 9 แห่งแล้ว คุณอาจจะเห็นว่าทำไมในหนึ่งวันช่างแตกต่างและเพิ่มความสับสนเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศซึ่งรวมทั้งเกาะเล็ก เกาะน้อยหลายๆแห่งอาจจะเกิดการไม่เข้าใจการแบ่งเวลานี้ได้ คุณลองนึกตามไปว่า กำลังอาศัยในประเทศเล็กๆที่มีเกาะอยู่ติดกัน แล้ววันและเวลาต่างกันกับที่ที่คุณอยู่

 



 

 

 

เฮนรี่ขอสรุปแบบง่ายๆว่า

 

 

 


ลองคิดง่ายๆ   คุณอยู่ กรุงเทพ  แล้วเส้นลากลงมาเป้นเส้นตรง ขนาน  เส้น แวง  มาเลย  กลายเป็นว่ากรุงเทพ เมืองเดียว  มี เวลาต่างกัน  หนึ่งวัน ???  มันไม่ใช่หรอกครับ  ถ้าต่างเมืองกัน  ยังว่าไปอย่าง  แต่  เมืองเดียวกัน  ทำกิจกรรมเหมือนกัน  ติดต่อราชการ  วันเดียวกันไม่ได้ เพราะว่า  ข้ามเส้นไป ก็กลายเป้น อีกวันนึงแล้ว เพราะว่าอยู่ในประเทศเดียวกัน เค้าเลยอนุโลมให้เส้นมันลากผ่านตามเขตชายแดนประเทศได้ แล้วก็พวกหมู่เกาะต่างๆส่วนใหญ่ ถ้าอยู่ในพื้นที่ปกครองเดียวกัน ก็จะให้อยู่ในเขตเวลาเดียวกันเพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อราชการ และเวลาการทำงานต่างๆครับ

 




 

หลักการตั้งเวลาของแต่ละประเทศครับ

 


เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ซีกหนึ่งของโลกจึงเป็นกลางคืนในขณะที่อีกซีกหนึ่งเป็นกลางวัน ในปี 1884 โดยความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด 25 ประเทศได้มีการกำหนดเขตแบ่งเวลากันขึ้น หากเราลากเส้นแบ่งที่กึ่งกลางโลกไปบรรจบกันเป็นวงกลม เส้นนี้จะเรียกว่า อีเควเตอร์ (Equator) ที่ประชุมได้แบ่งจากเส้นนี้ ออกไปอีก 24 เส้นจากทั้งหมด 360 องศารอบโลก นั่นหมายความว่า แต่ละเส้นจะห่างจากเส้นที่อยู่ติดกัน 15 องศา (360หาร24 = 15) โดยเริ่มนับเส้นแรกจากเส้นเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษแต่ละเส้นจากทั้งหมด 24 เส้น จะเป็นการแสดงความแตกต่างของเวลาหนึ่งชั่วโมง


        ประเทศไทย จะอยู่ในราวเส้นที่ 105 องศาตะวันออก หากหารด้วยสิบห้าก็จะได้เส้นแบ่งเวลาออกมาเป็นเส้นที่ 7 นั่นหมายความว่า เวลาในประเทศไทย จะล้ำหน้าเวลาในอังกฤษอยู่ 7 ชั่วโมงในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ จะมีการแบ่งเขตเวลาภายในประเทศออกเป็นสี่เขตด้วยกัน คือ ตะวันออก ภาคกลาง เทือกเขา และ แปซิฟิก (Eastern, Central, Mountain and Pacific) เช่น เวลา 7 p.m. เวลาตะวันออก จะเป็น 6 p.m. เวลาภาคกลาง เป็น 5 p.m.เวลาเทือกเขา และเป็นเวลา 4 p.m. เวลาแปซิฟิก 


Credit: ทำไมเส้นแบ่งเขตเวลา ถึงไม่เป็นเส้นตรง ???
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...