นักดาราศาสตร์ ค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงใหม่ คล้ายโลกมากที่สุด



นักดาราศาสตร์ ค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงใหม่ คล้ายโลกมากที่สุด

30ก.ย. เว็บไซต์เดลี่เมล์ รายงานว่า มวลมนุษยชาติรุ่นต่อไปกำลังมีความหวังที่จะได้ไปตั้งรกรากที่ดาวดวงใหม่ ทีมีลักษณะคล้ายโลกของเรามากที่สุด  ซึ่งบรรดานักดาราศาตร์ออกมาแถลงที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเมืองซานตาครู สว่า ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้  โดยดาวดวงนี้มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตที่เรียกกันว่าเขตมีชีวิต หรือ โกลดิล็อคโซน (Goldilocks zone) ที่ต่างจากดาวเคราะห์ทั่วไป อีกทั้งมีระยะห่างที่ไม่ไกลจากดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวแม่ของมัน ซึ่งอาจจะมีน้ำในสถานะที่เป็นของเหลว ที่จะก่อกำเนิดมหาสมุทร แม่น้ำต่างๆ และภูมิอากาศก็ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป

ดาวดวงนี้ โคจรรอบดาวแม่ที่ชื่อ กลีซ 581 (Gliese 581) จึงมีชื่อว่า กลิซ 581 จี อยู่ห่างจากโลกเราถึง 195 ล้านล้านกิโลเมตร แม้จะดูเหมือนว่าไกล แต่หากเทียบกับขนาดของจักรวาล ก็ถือได้ว่ามันอยู่ใกล้โลกมาก



ดาวฤกษ์ Gliese 581 ถูกบันทึกได้จากองคืการนาซ่าเมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นดาวแคระแดงขนาดพอๆ กับดาวเนปจูน แต่เล็กกว่า ให้แสงสว่างน้อยกว่า และเย็นกว่าดวงอาทิตย์

นายอาร์. พอล บัตเลอร์ หนึ่งในผู้ร่วมค้นพบดาวดวงจากสถานบันคาร์เนอกี้ กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับดาวดังกล่าว แต่ได้อธิบายถึงดาวดวงนี้ว่า มันมีมวลมากกว่าโลกประมาณ 3 เท่า มีความกว้าง กว้างกว่าโลกเล็กน้อย แต่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ของมันมากกว่าโลก

โดยมันอยู่ใกล้เพียง 22.5 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างถึง 150 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันโคจรรอบดาวแม่ในเวลาแค่ 37 วันก็ครบ 1 ปี นอกจากนั้นมันก็ไม่ค่อยหมุนรอบตัวเองมากนัก เพราะด้านหนึ่งมักจะสว่างอยู่เสมอ ส่วนอุณหภูมิที่พื้นผิวอาจสูง  71 องศาเซลเซียส หรือเย็นถึงลบ 4 องศาเซลเซียส  แต่เมื่ออยู่ระหว่างกึ่งกลางของโซน มนุษย์สามารถอยู่ได้สบายๆ


ภาพเปรียบเทียบวงโคจรของระบบสุริยะของโลก กับ วงโคจรของ กลีซ 581 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าระบบโคจรของระบบสุริยะ

เรียบเรียงข่าวโดย Mthai news

Credit: thailandsusu.com
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...