10 สนามกีฬาคุณภาพในเมืองไทย



Sport.mthai ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสนามชั้นนำในเมืองไทย 10 อันดับ โดยไล่เลียงจากการตรวจสอบของคณะกรรมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติและสมาพันธ์ ฟุตบอลเอเชีย(AFC)

อันดับ 10 : สนามกลีบบัว กาญจนบุรี


เป็นสนามที่มีอัฒจรรย์โดยรอบและมีหลังคาเกือบรอบสนาม(ขาดเพียงโซนกระถางคบเพ ลิงเ่ท่านั้น) ตั้งอยู่ที่ตัวเมือง จ. กาญจนบุรี มีความจุ 20,000 ที่นั่ง ว่ากันว่าเป็นสนามที่มีความสวยงามด้วยธรรมชาติติด 1 ใน 5 ของเมืองไทยเลยทีเดียว ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรกาญจนบุรี เอฟซี

อันดับ 9 : สนามจิระนคร สงขลา


ตั้งอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีความจุ 20,000 ที่นั่ง สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มาออกกำลังกาย รอบๆสนามยังมีพื้นที่รองรับสำหรับกีฬาหลายประเภทเช่น เทนนิส ปิงปอง เปตอง ฯลฯ ปัจจุบัน สโมสรสงขลา เอฟซี และหาดใหญ่ เอฟซี ใช้เป็นสนามเหย้า

อันดับ 8 : สนามติณศูลานนท์ สงขลา


เคยใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลนัดชิงอันดับที่ 3 ในเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ระหว่างไทยกับจีน  ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบันกำลังอยู่ในแผนปรับปรุงภายใต้งบ 20 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554 ซึ่งหลังจากนั้นสโมสรสงขลาเอฟซี จะใช้เป็นรังเหย้าในฟดูกาลหน้า ด้วยความจุ 20,000 ที่นั่ง

อันดับ 7 : สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ


เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สนามจุ๊บ” ตั้งอยู่ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นสนามหญ้าเทียมที่สมบูรณ์แห่งแรกของประเทศไทย มีอัฒจรรย์โดยรอบ จุผู้ชมได้เต็มที่กว่า 20,000 คน มีความพร้อมในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แสงไฟที่ได้มาตรฐานและยังมีศูนย์กีฬาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอย่างครบครัน นอกจากนี้ยังใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยใน ปลายปีนี้ ปัจจุบันใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรจุฬา ยูไนเต็ด

อันดับ 6 : YAMAHA Stadium เมืองทอง นนทบุรี


แต่เดิมชื่อสนาม Thunder Dome ต่อมา YAMAHA ได้ร่วมให้การสนับสนุนปรับปรุงสนามจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น YAMAHA Stadium โดยสร้างอัฒจรรย์รอบ มีความจุ 20,000 ที่นั่งและไม่มีลู่วิ่งคั่นกลาง มีห้องรับรองแขก สื่อมวลชน และนักกีฬาที่สะดวกสบาย มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันได้มาตรฐาน AFC

อันดับ 5 : สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ปทุมธานี


มีความจุ 25,000 ที่นั่ง อัฒจรรย์รอบสนามเป็นเก้าอี้ทั้งหมด มีหลังคาทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมลู่วิ่งยาง 9 ช่อง สร้างเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 มีการเดินทางที่สะดวกสบาย พื้นที่จอดรถกว้างขวาง โดยรอบมีศูนย์กีฬาที่ทันสมัย พร้อมสำหรับจัดการแข่งขันกีฬาแบบครบวงจร ในทุกปีจะใช้สำหรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยรอบคัดเลือก ซึ่งปัจจุบันสโมสรที่เช่าเป็นเจ้าบ้านคือสโมสรอินทรีเพื่อนตำรวจ

อันดับ 4 : สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา นครราชสีมา


สร้างขึ้นเพื่อรองรับกีฬาซีเกมส์ในปี 2550 ที่ จ.นครราชสีมาเป็นเจ้าภาพ และเคยจัดการแข่งขันฟุตบอล King’s Cup ครั้งที่ 40 สนามแห่งนี้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการวางระบบน้ำ-ไฟที่ทันสมัย ปัจจุบันมีความจุ 25,000 ที่นั่ง และสามารถขยายได้เป็น 40,000 ที่นั่งได้ในอนาคต ซึ่งตอนนี้สโมสรฟุตบอลนครราชสีมาเอฟซี ใช้เป็นสนามเหย้า

อันดับ 3 : สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี


นับเป็นอีก 1 สนามกีฬาที่มีความครบวงจร รอบๆมีสนามกีฬาต่างๆมากมาย อาทิ กอล์ฟ เทนนิส ยิงปืน ว่ายน้ำ แบดมินตัน และอาคารกีฬาในร่มเอนกประสงค์ มีการจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติบ่อยครั้ง ทั้งนี้ยังมีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีบรรยากาศที่ดี ตั้งอยู่ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ก่อสร้างขึ้นในปี 2532 ตามโครงการสร้างสนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ มีความจุ 25,000 ที่นั่ง สโมสรเชียงใหม่เอฟซีใช้เป็นสนามเหย้า

อันดับ 2 : สนามศุภชาศัย กรุงเทพ



นับเป็นสนามกีฬาประวัติศาสตร์ของไทยทั้งประวัติความเป็นมาและการใช้งานใน ระดับนานาชาติ สนามศุภชลาศัยตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ของพระราชวังวินเซอร์ โดยการสร้างสนามครั้งนั้นเพื่อใช้ในการแข่งขันกรีฑาที่หลวงศุภชาลัยได้ก่อ ตั้งขึ้น สมัยนั้นเรียกว่า “สนามกรีฑาสถาน” ต่อมาในปี 2484 กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ” เพื่อให้เกียรติกับหลวงศุภชลาศัย สนามแห่งนี้ได้ถูกจัดการแข่งขันขึ้นมากมายทั้งเอเชี่ยนเกมส์ คิงส์คัพ งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และอีกมากมายนับไม่ถ้วน



อันดับ 1 : สนามราชมังคลากีฬาสถาน


สนามที่ใหญ่และดีที่สุดในเมืองไทย ซึ่งเป็นสนามเดียวในไทยที่เข้าเกณฑ์ให้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ ตั้งอยู่ที่เขตหัวหมาก กรุงเทพฯ ออกแบบและสร้างในปี 2531 ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก สร้างแล้วเสร็จในปี 2541 พร้อมใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ



แรกเริ่มเดิมที่จุคนได้ถึง 80,000 ที่นั่ง แต่มีการปรับปรุงเรื่องเก้าอี้รอบอัฒจรรย์และห้องรับรองแขกพิเศษความจุจึงลด ลงเหลือ 49,749 ที่นั่ง เป็นเก้าอี้นั่งทั้งหมด ส่วนในตัวสนามมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและครบครัน อาทิ ที่ตั้งของสมาคมกีฬาต่างๆ ห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้องรับรองแขกพิเศษ ห้องควบคุมการทำงานแสงสีเสียง ห้องตรวจสารกระตุ้น ห้องพักนักกีฬา ผู้ตัดสิน สื่อมวลชน และโดยรอบยังมีสนามกีฬาหลัก

บทความโดย คุณติช เต ฉ่อ http://sport.mthai.com/home-sport-mthai/hilight-sport-mthai/51382.html

Credit: thailandsusu.com
30 ก.ย. 53 เวลา 18:58 16,618 32 350
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...