การเรียนรู้ของคนเราได้มาจากการศึกษาสร้างประสบการณ์ วิธีการเริ่มแรกจะเป็นยอมรับความเชื่อเป็นอันดับแรก มีการสอนวิชาการโดยผู้รู้ แต่ว่าทางพุทธศาสนามีหลักเกี่ยวกับความเชื่อ คือ “กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10”หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตํารา หรือคัมีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา พฺพรูปตาย)
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก้ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงาย ไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 อีกเรื่องหนึ่ง คือ
ในสมัยพุทธกาลพระสารีบุตรเป็นสาวกผู้เป็นเลิศทางปัญญา เมื่อฟังเทศน์พระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงถามว่า " ท่านเชื่อไหม" พระสารีบุตรตอบว่า " ยังไม่เชื่อ"คณะสงฆ์จึงเกิดความไม่พอใจ เพราะคิดว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อศาสดาจึงคิดตําหนิติเตียนท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า " ถูกแล้ว พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา ใครพู[คำไม่พึงประสงค์]ย่างไรก็ไม่เชื่อง่าย ท่านต้องพิจารณาด้วยตนเองจึงจะเชื่อ นี้เป็นปฏิปทาของพระสารีบุตร "
ตัวอย่าง ของกาลามสูตร
1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคําที่ได้ยินได้ฟังมา ประเท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคําสืบๆกันมา ประเท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เขาว่าอย่างนี้ ประเทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตํารา อย่าไปตามตํารามากนัก ตําราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้นเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตําราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตํารา คนมีผลประโยชน์ ไม่แก้ไขตําราเท้ากับเราโดนหลอก
5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเองหรือข้อมูลไม่พอใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆเอา
6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน้น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึ[คำไม่พึงประสงค์]าจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทําตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทําแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น ข้อสรุปทางพุทธศาสนาก็คือ เมื่อมีการนํามาปฏิบัติ หรือทดลอง จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว จึงควรจะเชื่อในสิ่ง นั้น ๆ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนจึงจะยอมรับความถูกต้องการเรียนรู้ ที่ประเทศตะวันตกได้นํามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยมีการนํามาใช้ใน แหล่งการศึกษาในปัจจุบัน ก็มีความคิดคล้าย ๆ กัน ถือว่า
การเรียนรู้ จะต้องเริ่มมาจากขั้นตอน ดังนี้ คือ
1. การอ่าน (Reading)
2. การฟัง (hearing)
3. การมองเห็น (Seeing)
4. การฟังและการมองเห็น (Hearing and seeing)
5. การพูด (Saying)
6. การพูดและการกระทํา (Saying and doing)
จากขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า การอ่านเป็นขั้นตอนแรก และถ้าจะมาวิเคราะห์ตามที่ทางประเทศตะวันตกสรุปมาก็ คือ การศึกษาโดยการอ่าน สามารถสร้างความเข้าใจได้ 7% การฟังเรียนรู้ได้ 11% การมองเห็นาพสร้างความเข้าใจได้ 20% การฟังและการมองเห็นาพสร้างความเข้าใจได้ 44% การพูดแสดงออกสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ 62% และการได้ทดลองปฏิบัติและได้นํามาพูดแสดงออกมา เป็นการเรียรู้ 80%
จึงเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายๆกับทางพุทธศาสนาคือการที่จะรู้จริงจะต้องได้จากการนําไปปฏิบัติก่อนจึงจะสามารถเข้าใจและเชื่อถือ ความเป็นจริงในสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ดังนั้นการทํางานทุกวันของช่างเทคนิคจะต้องมีการทดสอบทดลองก่อน จึงจะมีความเข้าใจ และประสบความสําเร็จในงาน ช่างเทคนิคที่เรียนรู้จากตําราโดยไม่มีการฝึกปฏิบัติจะไม่มีความเข้าใจในด้านเทคนิคนั้นอย่างแท้จริง ดังเช่น นักวิชาการ ที่เรียนรู้ระดับสูง ๆ ระดัปริญญาเอก จะต้องมีงานวิจัย ที่ศึกษา และทดลองจริง ๆ จึงจะสําเร็จ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในหน่วยงานของทางราชการบางหน่วยงานมีการแต่งผู้บริหารโดยไม่มีประสบการณ์ในการทํางานมาก่อนอาจจะมีปัญหาไม่เข้าใจ ระบบการทํางานที่แท้จริง ดังนั้นจึงเห็นว่าคนที่จะเป็นใหญ่เป็นโต เป็นหัวหน้าคน จะต้องมีการเรียนรู้ที่ทําให้เข้าใจ รู้จริงในงานนั้น โดยจะต้องปฏิบัติงานด้วยตนเอง ก็จะสามารถทํางานในหน้าที่ประสบความสําเร็จด้วยดีต่อไป