ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน จากหนัง 5 แพร่ง

ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน จากหนัง 5 แพร่ง


ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก   bcom.hi.ac.th, GTH 

          ช่วงนี้กระแสภาพยนตร์เรื่อง 5 แพร่ง มาแรงแซงโค้งเสียจริง ๆ เดินไปไหนใคร ๆ ก็พูดถึง โดยเฉพาะตอนแรกของภาพยนตร์ ที่มีชื่อว่า " หลาวชะโอน " ที่ทำเอาคนดูหลอนไปตาม ๆ กัน พร้อม ๆ กับสงสัยว่า ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน คืออะไร วันนี้กระปุกดอทคอม จึงจะพาไปรู้จัก ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน กันค่ะ

          พูดถึง หลาวชะโอน สงสัยกันไหมว่า หมายถึงอะไร หลาวชะโอน ก็คือ ต้นไม้ตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ที่มีลำต้นสูงเรียว มองไกล ๆ คล้าย "เปรต" มักขึ้นอยู่ตามเขา โดยลำต้นของ หลาวชะโอน มีความแข็งแรงมาก จึงนิยมนำมาทำเสา และในภาพยนตร์เรื่อง 5 แพร่ง หลาวชะโอน ได้ถูกนำไปทำเป็นเสาตั้งเปรต ใน ประเพณีชิงเปรต เทศกาลสารทเดือนสิบ นั่นเอง
  
          สำหรับ ประเพณีสารทเดือนสิบ นั้น เป็นพิธีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ และภูตผีต่าง ๆ ด้วยการจัดตั้งสำรับอาหารคาวหวานไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า "ตั้งเปรต" ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น พิธีการ ชิงเปรต ซึ่งเป็นประเพณีสารทเดือนสิบประจำภาคใต้ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อว่า ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 นั้น บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือ เปรต จะได้รับอนุญาตให้กลับมาพบญาติพี่น้องได้ และจะเดินทางกลับไปนรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ที่เรียกว่า "วันส่งตายาย" หรือ "วันส่งเปรต" เพราะมีความสำคัญมากกว่า และลูกหลานคนใดไม่มาร่วม พิธีการ ชิงเปรต นี้ ถือว่าอกตัญญู 


5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน


          ทั้งนี้ พิธีการ ชิงเปรต ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ กล่าวคือ เมื่อจัดหมรับ (อ่านว่า หมับ แปลว่า สำรับ) ยกหมรับไปถวายพระภิกษุแล้ว ก็จะเอาอาหารที่จัดไว้ ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรต โดยมากจะเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง หมายจะให้เป็นแพฟ่อง ล่อยลอยพาบรรพชนล่วงข้ามสังสารวัฏ ,ขนมลา ให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม, ขนมกง หรือบางทีก็ใช้ ขนมไข่ปลา ให้เป็นเครื่องประดับ, ขนมดีซำ ให้เป็นเบี้ยไว้ใช้สอย และขนมบ้า ให้บรรพชนใช้เป็นลูกสะบ้าสำหรับเล่นรับสงกรานต์ นอกจากนี้ยังมีของแห้งที่เป็นเสบียงอื่น ๆ ด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน จัดลงในหมรับด้วย 

          หมรับที่จัดไว้เพื่อใช้ใน พิธีการ ชิงเปรต จะนำไปตั้งไว้บนร้านที่สูงพอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา (ศาลา) เปรต มีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล และชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีจะเก็บสายสิญจน์ แล้วก็จะมีการแย่งอาหาร และขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนาน เรียกว่า ชิงเปรต การแย่งขนมเหล่านั้นแล้วนำมากิน ถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว




5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน



5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน


          การทำบุญด้วย วิธีตั้งเปรต และชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่า การฉลอง ห.ม.รับและบังสุกุล ซึ่งถือว่าสำคัญ เพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่ง พิธีการ ชิงเปรต ในวันสารทเดือนสิบ ถือเป็นพิธีการที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ และกระทำมาจนถึงทุกวันนี้ โดยจุดประสงค์สำคัญ นอกจากจะเป็นการระลึกถึงบุญคุณผู้ล่วงลับ บรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว และญาติพี่น้องด้วย เพราะเมื่อมีถึงเทศกาล มีการจัด พิธีการ ชิงเปรต คนในครอบครัวที่ออกไปทำมาหากินในถิ่นต่าง ๆ จะกลับมาร่วมพิธีที่บ้านโดยพร้อมหน้ากัน




5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน



5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน



5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน



5 แพร่ง ตอน หลาวชะโอน

 
          และนี่คือ เกร็ดความรู้ของ ประเพณี ชิงเปรต หลาวชะโอน ที่ภาพยนตร์เรื่อง 5 แพร่ง นำไปถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวสู่สายตาผู้ชม

 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  
- culture.go.th

Credit: kapook
20 ก.ย. 52 เวลา 00:35 7,633 23 116
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...