รถไต่ถัง : หัศจรรย์แห่งวัยเยาว์

แวะ ไปเที่ยวงานบุญเบิกฟ้าที่มหาสารคามเที่ยวนี้มีโอกาสชมการแสดงรถไต่ถังผาดโผน ของคณะวุฒิชัยโชว์ เปิดวิกการแสดงในงาน ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากผู้ชมอย่างคับคั่ง

ในอดีตหากพูดถึงรถไต่ถังต้องยกให้คณะ "เปรื่อง เรืองเดช" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ผมยังจำบรรยากาศการขับขี่จักรยาน จักรยานยนตร์ รวมทั้งรถยนต์ผาดโผนได้เป็นอย่างดี ดูแล้วก็ทำให้นึกมหัศจรรย์ในการแสดง ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เด็กเล็ก ล้วนแต่ใจเด็ดทั้งนั้น  รวมทั้งการแสดงนุ่งน้อยห่มน้อยของสาว ๆ หน้าเวทีมาเรียกน้ำย่อยหน้าเวทีเป็นที่ถูกใจของหนุ่ม ๆ ยิ่งนัก

เคยอ่านประวัติของนักแสดง "เปรื่อง เรืองเดช" จากคม ชัด ลึก เมื่อสองปีก่อน พบว่ารถไต่ถังเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงปี 2475 - 2499 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับชาวไทย ในยุคต่อมาจึงมีคณะรถไต่ถังเกิดขึ้นในเมืองไทยหลายคณะ เช่น คณะบุญมีโชว์ (นายเปรื่อง เรืองเดชเคยอยู่คณะนี้มาก่อน) คณะนายฉ่ำ อินทรโฆษิต, คณะล้อมมฤตยู, คณะกรังปรีด์ รวมทั้งคณะเปรื่อง เรืองเดช 

คณะ เปรื่อง เรืองเดช ถือว่าเป็นคณะรถไต่ถังในยุคแรกที่นำเอากลองยาชต์ แตรทรัมเป็ต มาบรรเลงประกอบการแสดงของผู้หญิงที่นุ่งน้อยห่มน้อยมาแสดงหน้าเวที มาจนถึงปัจจุบัน สำหรับนายเปรื่อง เรืองเดช นั้นมีหลายครอบครัวจึงให้ภรรยาและลูก ๆ แต่ละคนใช้ชื่อ "เปรื่อง เรืองเดช" เปิดวิกการแสดงทั่วประเทศเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว

           

                     น้ำค้าง ภาพยนตร์ชื่อดังในอดีต มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงรถไต่ถัง

 

 

อิทธิพลของรถไต่ถังลามไปถึงวงการหนังไทยในยุค 16 ม.ม.  จำได้ว่าหนังไทยเรื่องนั้นมีชื่อว่า "น้ำค้าง" มาเปิดวิกฉายที่บ้านทุ่ง หนังเรื่องนี้คุณชุติมา สุวรรณรัตน์ เป็นผู้สร้าง นำเอาพระเอกชื่อดังในยุคนั้นมาประกบกันสนั่นจอ คือ มิตร ชัยบัญชา และลือชัย นฤนารถ เรียกว่าดังสนั่นไปเลย มีเพชรา เชาวราษฎร์ นางเอกตาหยาดน้ำผึ้ง เป็นนางเอกขับขี่มอร์เตอร์ไซด์ผาดโผน รวมทั้งวิไลวรรณ วัฒนพานิช นางเอกเจ้าน้ำตา  ร่วมนำแสดงน่าชมยิ่งนัก ส่วนเนื้อเรื่องผมเองก็จำไม่ได้แล้ว จำได้แต่ฉากเพชรา เชาวราษฎร์ ขี่มอเตอร์ไซด์ผาดโผนโจนทะยานเป็นที่ชื่นชอบยิ่งนัก แต่ในความเป็นจริงน่าจะเป็นการแสดงโดยตัวแทนนั่นเอง         

           

ไม่ว่ายุคสมัยไหนรถไต่ถังยังคงคู่กับงานวัด งานประจำปีในแต่ละท้องถิ่น ดูคึกคัก มีสีสัน การแสดงหน้าเวทีดึงดูดสายตาผู้ชมยิ่งนัก  ตราบ ใดที่ยังคงมีผู้ชมให้การสนับสนุนและกำลังใจ ตราบนั้นรถไต่ถังยังคงเปิดวิกการแสดง ที่สำคัญการแสดงถือเป็นอาชีพสุจริตเพื่อเลี้ยงชีพในครอบครัว และเป็นการสืบทอดมรดกการแสดงที่มีมาแต่อดีตของไทยให้คงอยู่กับสังคมไทยต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.komchdluk.net/news/2005/10-15

http://www.komchdluk.net/news/2005/11-05

http://www.komchdluk.net/news/2005/11-19

http://www.komchdluk.net/news/2005/10-27

Credit: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=213051
26 ก.ย. 53 เวลา 23:30 9,153 5 156
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...