.
.
.
.
อาการนอนกรนไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดา แต่กลับแฝงด้วยผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง เพราะ ขณะที่นอนหลับ เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ บางรายหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้มีอาการง่วงในเวลากลางวัน สมาธิสั้น สมองเสื่อม อ่อนเพลียเรื้อรัง หงุดหงิดอารมณ์เสีย เสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบตัน โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็น ต้น การรักษาอาการนอนกรน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรละเลย แต่ก็มีผู้ที่นอนกรนรุนแรงจำนวนไม่น้อย ที่ขาดการรักษา ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่กี่ปีก็อาจพบว่ามีโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้
นพ.พล พร อภิวัฒนเสวี โสต ศอ นาสิกแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการนอนกรน โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึง อาการนอนกรนและการรักษา ไว้ว่า "อาการนอนกรน แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ชนิด คือ นอนกรนชนิดธรรมดา ชนิดนี้มีแต่เสียงกรนรบกวนคนข้างเคียง ไม่มีการหยุดหายใจหรือทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น จึงไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง และ นอนกรนชนิดอันตราย นอกจากเสียงกรนแล้วยังมีอาการทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นและหยุดหายใจขณะหลับ เป็นระยะๆ ตลอดคืน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรงในระยะยาว โดยเฉพาะโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ในผู้ที่นอนกรนก็จะสังเกตได้ว่า มักจะมีอาการสมาธิสั้น ง่วง หรืออ่อนเพลียในตอนกลางวัน ทั้งที่ได้นอนหลับพักผ่อนมาแล้วตลอดคืน
หลากหลายแนวทางรักษา...อาการนอนกรน
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการนอนกรน จะเป็นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐาน ดังนั้นในขั้นแรก ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบกับลองเปลี่ยนท่าทางการนอนมาเป็นท่านอนตะแคงข้าง ก็จะช่วยได้ หากไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอย่างละเอียดว่ามีภาวะนอนกรนชนิดใด มีการหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นอันตรายหรือไม่
เมื่อผ่านการตรวจแล้ว แพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ได้แก่ การใช้เครื่องอัดอากาศความดันต่อเนื่อง (CPAP) เพื่อไปเปิดทางเดินหายใจขณะหลับ, การจี้คลื่นความถี่วิทยุรักษานอนกรน โดยการใช้เครื่องจี้คลื่นความถี่วิทยุ ลงไปในเพดานอ่อนและโคนลิ้น เพื่อให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นหดตัวและขนาดลดลง, การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่และเพดานอ่อน ผู้ป่วยต้องมานอนโรงพยาบาลเพื่อดมยาสลบ แพทย์จะผ่าตัดเอาส่วนลิ้นไก่และเพดานอ่อนที่หย่อนยานออก และเย็บกลับไปให้ตึงขึ้น หรือการรักษาวิธีใหม่ ด้วยการฝังพิลลาร์ (Pillar) ที่เพดานอ่อน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และได้ผลดี
การฝังพิลลาร์ (Pillar) รักษาอาการนอนกรนได้อย่างไร
การ ฝังพิลลาร์ เป็นการรักษาการนอนกรนวิธีใหม่ โดยการฝังวัสดุทางการแพทย์ลักษณะคล้ายแท่งแกนด้ายลงไปในบริเวณเพดานอ่อน เนื่องจากเสียงกรน เกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อเพดานอ่อนและโคนลิ้น การฝังพิลลาร์จะไปช่วยทำให้เพดานอ่อนมีการสั่นสะเทือนหรือสะบัดลดลงขณะหายใจ เข้า
โดยหลังจากที่แพทย์ตรวจร่างกายผู้ป่วย และวินิจฉัยว่าควรรักษาด้วยการฝังพิลลาร์ ในขั้นแรกแพทย์จะใช้สเปรย์ยาชาเฉพาะที่พ่นไปในบริเวณช่องคอ หลังจากเริ่มมีอาการชา แพทย์จะฉีดยาชาลงไปที่เพดานอ่อนอีกเล็กน้อย หลังจากนั้นใช้เครื่องมือฝังพิลลาร์ เจาะตรงบริเวณเพดานอ่อน และฝังพิลลาร์ทั้งหมด 3 แท่ง ใช้เวลาในการทำประมาณ 15 นาที โดยก่อนทำผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ แต่ไม่ควรมากเกินไป เนื่องจาก อาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนขณะทำการฝังพิลลาร์
หลังจากฝังพิลลา ร์แล้ว ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล ไม่ควรขากหรือบ้วนเสมหะแรงๆ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแผลมาก เพดานอ่อนบวม หรือมีเลือดออก ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อดูความผิดปกติในทันที สำหรับวัสดุที่ใช้ฝังจะคงสภาพอยู่ในร่างกายได้ตลอดไป โดยไม่เกิดอันตราย นพ.พลพร กล่าวทิ้งท้าย