สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยคิง คอลเลจ แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์รายงานวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบยีนส์ที่ทำให้คนเราสายตาสั้น และคาดว่าจะนำไปสู่การพัฒนายายอดตาป้องกันอาการสายตาสั้น หรือยาประเภทใช้กิน สำหรับเด็ก และผู้ที่มีอาการสายตาสั้น
โดยยีนส์ดังกล่าวชื่อว่า RASGRF1 ถูกพบในกลุ่มตัวอย่างฝาแฝดที่ทำการสำรวจ ยีนส์ดังกล่าวทำงานหากผิดปกติ จะก่อให้เกิดอาการสายตาสั้น กลุ่มผู้วิจัยระบุว่า พวกเขาหวังว่า การค้นพบยีนส์ดังกล่าวจะนำไปสู่การหยุดเด็กไม่ให้สายตาสั้น และคาดว่าจะมีการพัฒนายาหยอดตา หรือยากิน ได้ภายใน 10 ปีข้างหน้า
"ผลวิจัยนี้จะส่งผลให้สามารถรักษาเด็กที่มีอาการสายตาสั้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และทำให้โลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้แว่นตา,คอนแทคเลนส์ และการรักษาอาการสายตาสั้นด้วยเลเซอร์อีก"นักวิจัยกล่าว