ข่าวที่ฮอตที่สุดในตอนนี้ คงหนีไม่พ้น ที่บ้านเรากำลังจะมีรถไฟความเร็วสูง หลังจากที่เพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนาม เคยฝันว่าจะมี แต่มันก็เป็นแค่ความฝัน เพราะ ครมเวียดนาม ไม่อนุมัติ โครงการรถไฟความสูงของเวียดนาม จึงต้องชะลอไปก่อน และหลังจากเราเคยแอบอิจฉาเวียดนาม วันนี้ เราก็ได้ฝันของเราดูสักทีบ้าง
ฝันครั้งนี้จะเป็นเช่นไร ก็คอยดูกันต่อๆไปคับ ผมจะรายงานข่าว เรื่อยๆคับ
--------------------------
ครม.ไฟเขียวไฮสปีดเทรน3เส้นทาง3.3แสนล.
วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4243 ประชาชาติธุรกิจ
ครม.ไฟเขียว ร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนารถไฟไทย-จีน "โสภณ ซารัมย์" ขออนุมัติ 3 เส้นทาง วงเงิน 3.3 แสนล้าน ปฏิเสธเงื่อนไขใช้เงิน(กระผม)้จากจีน 400 ล้านเหรียญ ชี้ประโยชน์อื้อ ลดต้นทุนการขนส่ง-โลจิสติกส์
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่าง ราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน 3 เส้นทาง วงเงินลงทุน 3.3 แสนล้านบาท และจะนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ต่อไป ตามข้อเสนอของนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เสนอให้ ครม.พิจารณาเป็นวาระจร เรื่องที่ 1
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม แจ้งต่อ ครม. ด้วยว่า โครงการนี้จะไม่ใช้สินเชื่อเพื่อการส่งออกจากจีนวงเงิน 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 1.7 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนากิจการรถไฟแล้ว หากใช้สินเชื่อจากจีนต้องสนับสนุนการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์จากจีน ไม่น้อยกว่า 50% ของโครงการทั้งหมด อัตราดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา(กระผม)้ 15 ปี ปลอดหนี้ 5 ปี ค่าธรรมเนียมเงิน(กระผม)้ต่อปี 0.5% ของวงเงิน(กระผม)้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายรวมทั้งมีค่าธรรมเนียมการจัดการต่อปี 0.5% ของวงเงิน(กระผม)้
ส่วนการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจะจ่ายคืนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐปีละ 2 ครั้ง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของจีนอยู่ในอัตราที่สูงกว่าแหล่งเงิน(กระผม)้ เทียบกับเงิน(กระผม)้ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ที่มีอัตรา 3.74% หรือเงิน(กระผม)้ของไจก้าที่มีอัตราดอกเบี้ย 3.61%
โดยกรอบการเจรจาประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 615 กิโลเมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร และเส้นทางกรุงเทพฯ-สุดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ระยะทาง 940 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปตามผลการประชุมร่วมกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงรถไฟจีน และเจ้าหน้าที่จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย
สำหรับเส้นทางรถไฟมาตรฐานช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย จะเป็นการออกแบบทางรถไฟ เพื่อรองรับการเดินขบวนรถที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้พลังงานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ทั้ง 3 ประเทศได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่และศึกษาตำแหน่งที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพาน รถไฟข้ามแม่น้ำโขง เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟกับ สปป.ลาวด้วย
กระทรวงรถไฟจีนได้แจ้งกับกระทรวงคมนาคมทราบถึงข้อตกลงระหว่างจีนและลาว ที่จะสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากเมืองคุนหมิงมายังนครเวียงจันทน์ ระยะทาง 420 กิโลเมตร โดยได้เสนอให้มีการพัฒนาความร่วมมือใน โครงข่ายเส้นทางรถไฟต่อขยายมายังประเทศไทยที่ จ.หนองคาย 580 กิโลเมตร และเชื่อมต่อไปยัง จ.ระยอง 220 กิโลเมตร
กระทรวงคมนาคม รายงานเหตุผลและความจำเป็นของโครงการนี้ว่า เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งรูปแบบรางสำหรับขนส่งโดยสารและสินค้า ที่สามารถเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค และรถไฟความเร็วสูงในการเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่ประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ร่างกรอบการเจรจาครั้งนี้ เป็นความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระบบรางที่สามารถเชื่อมต่อประเทศ เพื่อนบ้าน จึงมีความจำเป็นต่อรัฐบาลที่จะเจรจากับจีน เพื่อให้เกิดความตกลงในการร่วมมือระหว่างประเทศ และลดต้นทุนการขนส่งและ
โลจิสติกส์ของประเทศมากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมาจีนพยายามผลักดันเส้นทางรถไฟเชื่อมคุนหมิง-สปป. ลาว-เชียงราย-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากไทย ล่าสุดจีนได้เปลี่ยนมาสนับสนุนเส้นทางคุนหมิง- หลวงพระบาง-เวียงจันทน์-หนองคาย-กรุงเทพฯ-มาเลเซีย เพื่อเปิดตลาดการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน นอกจากนี้
จีนยังมีโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ระหว่างหนานหนิง-ฮานอย-ดานัง-โฮจิมินห์-พนมเปญ-ปอยเปต-สระแก้วอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันรางรถไฟของเวียดนามมีขนาดมาตรฐานเดียวกับจีนอยู่แล้ว
หน้า 13
---------------------------------------------------------------
ไฮสปีดเทรนสายแรก 1.8 แสนล้าน ฝากความหวังแผนร่วมทุน "จีทูจี" ไทย-จีน
วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4243 ประชาชาติธุรกิจ
ฮือฮาไม่น้อย สำหรับอภิโปรเจ็กต์ "รถไฟความเร็วสูง" หรือไฮสปีดเทรน อีกหนึ่งผลงานที่รัฐบาลมาร์คกำลังตบเกียร์ห้าเดินหน้าเต็มสูบ หวังแจ้งเกิดให้เป็นรูปธรรมในเร็ววัน
ภาวะตื่นตัวเกิดขึ้นหลัง "จีน" เปิดตัวแสดงเจตจำนงจะเข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย ภายใต้รูปแบบ "จีทูจี" (รัฐต่อรัฐ) นำร่องเฟสแรกสาย "กรุงเทพฯ-หนองคาย" ระยะทาง 615 กิโลเมตร
ลงทุน 1.8 แสนล้าน สร้าง 5 ปี
ตัวโครงการออกแบบก่อสร้างเป็นรางสแตนดาร์ดเกจขนาด 1.435 เมตร มีจุดสถานีต้นทางอยู่ที่ "สถานีบางซื่อ" จากนั้นจะจอดป้ายที่สถานีอยุธยา, สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง, สถานีนครราชสีมา, สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีเขาสวนกวาง, สถานีอุดรธานี และปลายทางที่ "สถานีหนองคาย"
เบ็ดเสร็จ 600 ก.ม. ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 8 นาที
โครงการนี้คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี งบฯลงทุน 181,369 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 156,934 ล้านบาท ค่าศึกษาออกแบบรายละเอียด 2,354 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 3,000 ล้านบาท ค่าควบคุมการก่อสร้าง 2,746 ล้านบาท ค่ามาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 785 ล้านบาท ค่าขบวนรถ 15,550 ล้านบาท
ประมาณการปีแรกที่เปิดบริการจะมีปริมาณผู้โดยสาร 41,000 คน/วัน คิดราคาค่าโดยสารสูงสุด 984 บาท/เที่ยว มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 19.08%
ตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน
ล่าสุด รัฐบาลตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดแผนร่วมทุนก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการ รถไฟฟ้าระหว่างประเทศไทยและจีน มี "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ" เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
เพื่อลงลึกรายละเอียดแผนร่วมลงทุน ทั้งเงื่อนไขการลงทุน (ทีโออาร์) รูปแบบการลงทุน ข้อปฏิบัติในแง่กฎหมายการลงนามร่วมลงทุนกับจีน (MOU) นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภาต่อไป ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 เพื่อขออนุมัติกรอบสำหรับเจรจากับจีนต่อไป
สำหรับรูปแบบการลงทุน เบื้องต้นกระทรวงการคลังมีแนวคิดตั้งแต่บริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทยและ รัฐบาลจีน โดยฝั่งรัฐบาลไทยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น รัฐบาลจีนจะลงทุนก่อสร้างราง โดยใช้ที่ดินเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะตามมา เช่น **ส่วนการถือหุ้น สิทธิ์การพัฒนาที่ดิน พื้นที่สถานี ฯลฯ ต้องรอดูผลการเจรจา
"คลังจะจ่ายค่าใช้ที่ดินให้กับการรถไฟฯเมื่อสร้างเสร็จ และบริษัทจะให้สัมปทานเอกชนมาเช่าราง ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งจะได้รายได้จากค่าใช้ประโยชน์จากรางนี้" แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"
เปิดหวูด 1 สายฝ่าด่าน ก.ม. 10 ฉบับ
แม้รัฐบาลจะได้ไฟเขียวให้เจรจากับจีน แต่เมื่อลงลึกรายละเอียดแล้ว ดูเหมือนไม่ง่ายอย่างที่คิด อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปี เพราะยังมีอุปสรรคที่รัฐบาลต้องพิจารณาและคำนึงถึงอีกมากมาย
ลำพังเฉพาะปัญหา "ข้อกฎหมาย" อย่างเดียว ก็มีลิสต์เป็นหางว่าวมากกว่า 10 ฉบับ ไล่ตั้งแต่
1)พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
2)พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
3)พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540
4)ประกาศสำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องหัวข้อในการเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ
5)พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521
6)กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม
7)กฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ เช่น พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518, กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2547, พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543, พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
จีนตัดโค้ง ลดระยะทาง 35 ก.ม.
ขณะที่ด้านกายภาพพื้นที่ก็เป็นข้อจำกัดเช่นกัน ทั้งเขตทางความลาดชัน สภาพ ภูมิประเทศ จุดตัดกับถนนและชุมชน
เนื่องจากเส้นทางไฮสปีดเทรนภายใต้โครงการนี้ เป็นเส้นทางใหม่ที่สร้างคู่ขนานไปกับทางรถไฟสายปัจจุบัน เท่ากับเปิด พื้นที่ก่อสร้างใหม่ แม้ว่าจะสร้างบนเขตทางรถไฟเดิมก็ตาม รวมทั้งมีพื้นที่อ่อนไหวที่จะต้องพาดผ่าน ทั้งพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 รวม 4.45 กิโลเมตร พื้นที่ป่าไม้ 47.03 กิโลเมตร ชุมชนที่ตั้งอยู่ในระยะทาง 500 เมตรจากแนวรถไฟ 100 แห่ง และโบราณสถาน 1 แห่ง
นอกจากนี้ มีบางช่วงมีข้อจำกัดของพื้นที่ที่ต้องปรับใหม่ให้สอดคล้องกับความเร็วของรถ เช่น บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง ต้องมีการปรับลดรัศมีความโค้งลง แนวเส้นทางจากสถานีมาบ กะเบา-สถานีหินลับมีความคดเคี้ยวมาก อาจจะต้องปรับแก้แนวเส้นทางใหม่ บริเวณรอยต่อสระบุรีและนครราชสีมา ที่ต้องเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา บริเวณผ่านหุบเขาจะสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับ หรือมีบางช่วงมีชุมชนลุกล้ำจะต้องรื้อย้ายชุมชนที่ตั้งอยู่ติดแนวเขตทางรถไฟ เป็นต้น
จากข้อจำกัด หลังจีนมาสำรวจพื้นที่ได้ตัดรัศมีทางโค้งออกหมด เหลือแต่ทางตรง รวม 580 กิโลเมตร จากเส้นทางเดิมระยะทาง 615 กิโลเมตร แต่ตำแหน่งสถานีหลักและย่อย 11 แห่งยังคงเดิม
ส่วน "สปีด" (เทรน) จะวิ่งฉิวได้แค่ไหน ต้องลุ้นต่อไป