การสักทางการแพทย์ (สวยด้วยแพทย์)
การสักทางการแพทย์ (Therapeutic or Paramedical Tattoo) การที่การสักถูกประยุกต์ใช้เพื่อการรักษาคงทำให้หลาย ๆ ท่านมองการสักในแง่ที่ดีขึ้น ประโยชน์ของการสักเพื่อรักษามีทั้งเพื่อความสวยงาม เช่น สักคิ้วถาวร สักขอบตาถาวร สักขอบปากและริมฝีปากถาวร
นอกจากนั้นยังใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติบางอย่างของผิวหนัง ได้แก่ แผลเป็นจากอุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเป็นจากการผ่าตัด โรคด่างขาว (Vitiligo) ผมร่วง ขนคิ้วหรือขนตาร่วง การสร้างหัวนมใหม่ภายหลังการผ่าตัดเต้านม สร้างขอบปากหลังผ่าตัดปากแหว่ง
การสักเพื่อรักษายังเหมาะกับบุคคลที่อาจมีความยากลำบากในการแต่งหน้า เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคข้อ โรคที่ทำให้มือสั่น เคลื่อนไหวมือไม่สะดวก ผู้ที่แพ้เครื่องสำอาง เป็นโรคภูมิแพ้ (ทำให้มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ) หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาสั้น ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น กระทั่งในรายที่ต้องการลบรอยสักเดิมซึ่งในบางตำแหน่งไม่สามารถลบออกได้ ก็สามารถจะใช้การสักสีทับลงไปเพื่อปกปิดได้ค่ะ
ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการทำ แพทย์จะซักประวัติสุขภาพและตรวจร่างกายโดยเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการรักษา จากนั้นแพทย์จะเลือกสีที่จะใช้สักที่เข้ากับสีผิวของคุณซึ่งสีที่ใช้นั้น เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยากับร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แต่อย่างใด
ก่อนเริ่มสัก แพทย์จะใช้ทาเฉพาะที่เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บจากนั้นจะสักสีเข้าไปในผิวหนัง โดยใช้เครื่องสัก ซึ่งประกอบด้วยเข็มขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งเข็มที่ใช้จะเป็นเข็มชนิดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่นำกลับมาใช้ซ้ำและใน ระหว่างทำจะใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ส่วนเวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง หลังทำสามารถกลับบ้านได้เลยโดยไม่ต้องพักค้างคืนที่โรงพยาบาล
เมื่อผ่านขั้นตอนการสักแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ได้ผลตาที่มุ่งหวัง ดังนี้
ห้ามใช้สบู่ ครีมทำความสะอาดผิว เครื่องสำอางใด ๆ ในบริเวณที่ทำการสัก
หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดการอาบน้ำร้อนหรืออบเซาน่าอย่างน้อย 3 วันหลังการสัก
ห้ามลงสระว่ายน้ำอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากคลอรีนในสระจะทำให้สีที่สักไว้จางลงได้
พยายามรักษาความชุ่มชื้นบริเวณที่ทำโดยทายาตามแพทย์สั่ง ถ้าพบว่าบริเวณที่ทำมีสะเก็ดห้ามแกะหรือลอกออกเด็ดขาด ควรให้สะเก็ดลอกหลุดไปเอง
คุณสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติส่วนการออกกำลังกายที่ต้องใช้ กำลังมาก เช่น การเต้นแอโรบิค ยกน้ำหนัก ควรหลีกเลี่ยงอย่างน้อย 3 วัน