นกกระจิบหญ้า สีน้ำตาล

.

.

.
.

นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล

ชื่ออังกฤษ

Brown Prinia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Prinia polychroa  (Temminck, 1828)

วงศ์ (Family)

Cisticolidae (วงศ์นกยอดข้าวหางแพนและนกกระจิบ)

อันดับ (Order)

Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน)

       นกกระจิบหญ้า  (Prinia) เป็น Little Brown Job หรือนกสีน้ำตาลตัวเล็กๆ ที่มีหางยาว เป็นญาติใกล้ชิดกับ นกกระจิบ (Tailorbird) แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆและพงหญ้ารกๆ พบในเมืองไทยทั้งหมด6ชนิด เรามักได้ยินเสียงร้องของพวกมันบ่อยกว่าเห็นตัว หลายชนิดพบเห็นได้ในรั้วบ้านที่รกๆหน่อย ไม่ต้องไปหาดูไกล นกกระจิบหญ้าสีเรียบ (Plain Prinia) น่าจะเป็นชนิดที่ใกล้ตัวเราที่สุดเพราะมันชอบเกาะร้องเพลงโชว์ตัวให้เห็นใน ที่โล่งๆตามสวนและทุ่งนาในภาคกลาง นอกนั้นแม้จะถูกตีตราเป็น“นกโหล”แต่ก็มีนิสัยขี้อายไม่ค่อยโชว์ตัว คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่าชนิดที่พบได้ยากที่สุดคือ นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาล (Brown Prinia)

      เป็นที่รู้กันว่านกกระจิบหญ้าทุกชนิดล้วนแต่เป็นนกตัวเล็กๆสีน้ำตาล ตุ่นๆกันทั้งนั้น ชื่อของมันจึงฟังดูเหมือนเป็นการตอกย้ำถึงความไร้จุดเด่นโดยสิ้งเชิง แต่การที่มันไม่ใช่นกที่พบเห็นกันได้ทั่วไปทำให้นกที่มีทั้งชื่อฟังดูน่า เบื่อชนิดนี้เป็นที่น่าตื่นเต้นอยู่บ้างเมื่อได้พบเห็น นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาลชอบอยู่ตามพงหญ้าในป่าเต็งรังและป่าสน มีเพียงบางท้องที่เท่านั้นที่เราจะสามารถพบพวกมันได้เป็นจำนวนมาก 

      นกกระจิบหญ้าสีน้ำตาลมีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลตุ่นๆคล้ายกับนกกระจิบ หญ้าสีเรียบ แต่มีขนาดใหญ่กว่า แถบคิ้วบางและสั้นมากจนสังเกตได้ยากกว่ามาก ตามปกติจะมีหางยาวกว่าและไม่มีแต้มสีขาวดำเป็นบั้งใต้หาง ขนหางแต่ละเส้นมีปลายแหลมทำให้เห็นหางมีแฉกคล้ายไม้กวาดเหมือน นกหางนาค (Striated Grassbird) และ นกกระจิบหญ้าคิ้วขาว (Hill Prinia) นกที่โตเต็มวัยมีม่านตาเป็นสีแดงเข้ม มีลายจางๆที่แก้มและหลัง ลวดลายเหล่านี้จะจางลงจนแทบมองไม่เห็นในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ซึ่งมันจะมีโทนสี ออกไปทางน้ำตาลอมเทาเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่านกบางตัว(น่าจะเป็นตัวผู้)เปลี่ยนสีปากจากสีเนื้อเป็นสี เทาเข้มอีกด้วย 

      นกกระจิบหญ้าชนิดนี้มักเกาะร้องเพลงบนกิ่งไม้โล่งๆเป็นเวลานาน ทำให้เราเห็นตัวมันได้ง่าย มันเป็นนักล่าแมลงตัวยง หาอาหารด้วยการมุดไปตามพุ่มไม้รกๆ ด้วยขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่และปากที่อวบหนากว่าชนิดอื่นๆทำให้มันสามารถล่า แมลงตัวใหญ่ๆหรือแม้แต่สัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆได้ โดยเฉพาะในช่วงเลี้ยงลูกอ่อนวัยกำลังโตที่ต้องการเหยื่อขนาดใหญ่ พ่อแม่นกกระจิบหญ้าที่แข็งขันจึงเป็นเจ้าของรังที่เหมาะเจาะเหลือเกินในการ ถูก นกอีวาบตั๊กแตน (Plaintive Cuckoo) ที่ตัวใหญ่กว่ามากมาไข่ทิ้งไว้ให้เลี้ยงลูก 

      นกกระจิบหญ้าชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นเช่นเดียวกับญาติๆของมัน พบในระดับความสูงไม่เกิน1,450เมตรจากน้ำทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปจน ถึงเกาะชวา แต่ในประเทศไทยพบเฉพาะทางตอนเหนือของภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว แต่สถานที่ที่ใกล้กรุงเทพมหานครที่สุดที่พบนกกระจิบหญ้าชนิดนี้ได้แก่สถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และหน่วยพิทักษ์ป่าซับสะเดา อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งดูนกไม่กี่ที่ที่เราจะพบนกกระจิบหญ้าสีน้ำตาลได้บ่อย มาก

6 ก.ย. 53 เวลา 17:40 6,289 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...