ภัยเงียบจากพาราเซตามอล

ภัยเงียบจากพาราเซตามอล (Health Magazine)

          พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรียกได้ว่าแทบจะมีติดบ้านกันเกือบทุกหลังคาเรือน และดูเหมือนว่าเราจะใช้ยาชนิดนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ให้กับตัวเอง ใช้เรื่อยไปตั้งแต่ปวดหัว เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ฯลฯ เป็นยาสามัญที่สามารถซื้อหาได้อย่างสะดวก และเราจะพบยาตัวนี้ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยว เช่น ไทลีนอล, พานาดอล, เทมปร้า, คาลปอล, ซาร่า หรือเป็นยาผสมในยาตัวอื่น เช่น ทิฟฟี่, ดีคอลเจน ฯลฯ

          อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ และใช้ติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อนปัญหาภาวะพิษต่อตับได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ทราบว่าสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดตับวาย ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ หรือมาจากไวรัสตับอักเสบ แต่สาเหตุอันดับหนึ่งกลับมาจากยาโดยเฉพาะพาราเซตามอล เพื่อนคู่บ้านนั่นเอง

          มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาใโรงพยาบาลเนื่องจากพิษของพาราเซตามอล เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดตับวายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากตับวาย จากพาราเซตามอลต่อปีในปัจจุบันยังสูงกว่าตัวยารักษาเบาหวานRezulin (troglitazone) ซึ่งถูกถอดทะเบียนออกไปแล้วเนื่องจากพิษต่อตับเสียอีก 

          กลไกการทำลายตับของยา Acetaminophen หรือพาราเซตามอลนี้ พบว่ายาชนิดนี้เมื่อใช้ในร่างกาย การจะขับออกไปจากร่างกายได้ต้องผ่านขบวนการขับพิษที่ตับสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งก่อให้เกิดสารผลิตผลที่เป็นพิษ (Toxic metabolite) ชื่อ NAPQI ซึ่งต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองซึ่งใช้สารกลูต้าไธโอนในตับลดลง หากใช้นานติดต่อกันหรือใช้เกินขนาด ก็จะทำให้ระดับสารผลิตผลที่เป็นพิษนี้เพิ่มมากขึ้นส่งผลเป็นพิษต่อตับรุนแรงในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากสามารถผลิตยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล และ N-acetyl cysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารกลูต้าไธโอนในเซลล์ได้ วิธีการนี้อาจจะสามารถกำจัด หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากพาราเซตามอลได้ (ซีสเทอีนเป็นส่วนประกอบในยาขับเสมหะ เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกลูต้าไธโอน หากต้องการให้ระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับสูงขึ้นจะใช้ N-acetyl Cysteine เพราะการรับประทานกลูต้าไธโอนโดยตรง อาจไม่ได้ผลเช่นนั้นมากนัก เนื่องจากกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร หากดูดซึมเข้าไปบ้างก็จะถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสโลหิต)

          เนื่องจากว่าพาราเซตามอล เและอเซทิลซีสเทอิน N-acetyl cysteine มีจำหน่ายทั่วไป เราอาจจะคิดว่าการออกสูตรยาพาราเซตามอลซึ่งปลอดภัยไม่น่ายก แต่ที่จริงแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่เพราะ FDA สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใส่ตัวยาทั้งสองเข้าด้วยกันจนกว่าการจดทะเบียนเป็นยาตำรับใหม่จะได้รับการอนุมัติ คือต้องผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก และต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ขวบนการทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เงินนับร้อยล้านเหรียญ และใช้เวลานับทศวรรษถึงจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้ยาสูตรใหม่ พาราเซตามอลที่ปลอดภัยจึงไม่เคยออกสู่ท้องตลาดเลย

พาราเซตามอล อันตรายอย่างไร?

          ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน 56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้

สาเหตุของภาวะพิษจากพาราเซตามอล

          ภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ  ดังนี้ 
          1.รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด 
          2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม
          3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น

แนวทางป้องกันและแก้ไข

          ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1  ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก...

          ไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5 เม็ด ในขนาด 500 mg, จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ 650 มิลลิกรัม การใช้ยาในเด็กเล็กให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป

          ใช้พาราเซตามอลติดต่อกันไม่เกิน 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น เพื่อค้นหาสาเหตุโรคที่แท้จริง และแก้ไขตรงจุดต่อไป

          การใช้ยาทางเลือก สามารถเลือกได้หลายขนาน เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ  ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้

          หากจะต้องการใช้พาราเซตามอลให้ปลอดภัย คือ รับประทาน N-Actyl Cysteine ร่วมไปด้วย ก็จะเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนในตับ ทำให้สารพิษ toxic metabolite  ชื่อ NAPQI ที่เกิดจากขบวนการดีท๊อกพาราเซตามอลที่ตับมีจำนวนลดลง โดยถูกกลูต้าไธโอนจับเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่ไม่อันตรายขับออกจากร่างกายได้

ภัยเงียบจากพาราเซตามอล (Health Magazine)

          พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรียกได้ว่าแทบจะมีติดบ้านกันเกือบทุกหลังคาเรือน และดูเหมือนว่าเราจะใช้ยาชนิดนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ให้กับตัวเอง ใช้เรื่อยไปตั้งแต่ปวดหัว เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ฯลฯ เป็นยาสามัญที่สามารถซื้อหาได้อย่างสะดวก และเราจะพบยาตัวนี้ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยว เช่น ไทลีนอล, พานาดอล, เทมปร้า, คาลปอล, ซาร่า หรือเป็นยาผสมในยาตัวอื่น เช่น ทิฟฟี่, ดีคอลเจน ฯลฯ

          อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ และใช้ติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อนปัญหาภาวะพิษต่อตับได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ทราบว่าสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดตับวาย ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ หรือมาจากไวรัสตับอักเสบ แต่สาเหตุอันดับหนึ่งกลับมาจากยาโดยเฉพาะพาราเซตามอล เพื่อนคู่บ้านนั่นเอง

          มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาใโรงพยาบาลเนื่องจากพิษของพาราเซตามอล เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดตับวายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากตับวาย จากพาราเซตามอลต่อปีในปัจจุบันยังสูงกว่าตัวยารักษาเบาหวานRezulin (troglitazone) ซึ่งถูกถอดทะเบียนออกไปแล้วเนื่องจากพิษต่อตับเสียอีก 

          กลไกการทำลายตับของยา Acetaminophen หรือพาราเซตามอลนี้ พบว่ายาชนิดนี้เมื่อใช้ในร่างกาย การจะขับออกไปจากร่างกายได้ต้องผ่านขบวนการขับพิษที่ตับสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งก่อให้เกิดสารผลิตผลที่เป็นพิษ (Toxic metabolite) ชื่อ NAPQI ซึ่งต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองซึ่งใช้สารกลูต้าไธโอนในตับลดลง หากใช้นานติดต่อกันหรือใช้เกินขนาด ก็จะทำให้ระดับสารผลิตผลที่เป็นพิษนี้เพิ่มมากขึ้นส่งผลเป็นพิษต่อตับรุนแรงในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากสามารถผลิตยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล และ N-acetyl cysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารกลูต้าไธโอนในเซลล์ได้ วิธีการนี้อาจจะสามารถกำจัด หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากพาราเซตามอลได้ (ซีสเทอีนเป็นส่วนประกอบในยาขับเสมหะ เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกลูต้าไธโอน หากต้องการให้ระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับสูงขึ้นจะใช้ N-acetyl Cysteine เพราะการรับประทานกลูต้าไธโอนโดยตรง อาจไม่ได้ผลเช่นนั้นมากนัก เนื่องจากกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร หากดูดซึมเข้าไปบ้างก็จะถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสโลหิต)

          เนื่องจากว่าพาราเซตามอล เและอเซทิลซีสเทอิน N-acetyl cysteine มีจำหน่ายทั่วไป เราอาจจะคิดว่าการออกสูตรยาพาราเซตามอลซึ่งปลอดภัยไม่น่ายก แต่ที่จริงแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่เพราะ FDA สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใส่ตัวยาทั้งสองเข้าด้วยกันจนกว่าการจดทะเบียนเป็นยาตำรับใหม่จะได้รับการอนุมัติ คือต้องผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก และต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ขวบนการทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เงินนับร้อยล้านเหรียญ และใช้เวลานับทศวรรษถึงจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้ยาสูตรใหม่ พาราเซตามอลที่ปลอดภัยจึงไม่เคยออกสู่ท้องตลาดเลย

พาราเซตามอล อันตรายอย่างไร?

          ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน 56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้

สาเหตุของภาวะพิษจากพาราเซตามอล

          ภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ  ดังนี้ 
          1.รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด 
          2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม
          3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น

แนวทางป้องกันและแก้ไข

          ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1  ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก...

          ไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5 เม็ด ในขนาด 500 mg, จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ 650 มิลลิกรัม การใช้ยาในเด็กเล็กให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป

          ใช้พาราเซตามอลติดต่อกันไม่เกิน 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น เพื่อค้นหาสาเหตุโรคที่แท้จริง และแก้ไขตรงจุดต่อไป

          การใช้ยาทางเลือก สามารถเลือกได้หลายขนาน เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ  ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้

          หากจะต้องการใช้พาราเซตามอลให้ปลอดภัย คือ รับประทาน N-Actyl Cysteine ร่วมไปด้วย ก็จะเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนในตับ ทำให้สารพิษ toxic metabolite  ชื่อ NAPQI ที่เกิดจากขบวนการดีท๊อกพาราเซตามอลที่ตับมีจำนวนลดลง โดยถูกกลูต้าไธโอนจับเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่ไม่อันตรายขับออกจากร่างกายได้

1 ก.ย. 53 เวลา 01:01 1,951 10 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...