ผมจุกสมัยก่อน
ผมจุก
ผมจุก กล่าวตามพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "ผมที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี
คำล้อเลียนผมจุก "ผมจุกคลุกน้ำปลา เห็นขี้หมา นั่วไหว้กระจ๋องหง่อง"
ผมแกละ
ผมแกละ หมายถึง "ผมที่เอาไว้แหยมที่แง่ศีรษะ" เด็กบางคนก็มีแกละเดียว บางคนมีสองแกละ บางคนว่ากันว่ามีสามแกละก็มี
คำล้อเลียน"ผมแกละ กระแดะใส่เกือก ตกน้ำตาเหลือก ใส่(เหลือ)เกือกข้างเดียว"
ผมโก๊ะ
คือผมที่ไว้เป็นหย่อมหรือปอยคล้ายผมแกละ แต่ไม่ได้ถักเปียอย่างผมเปีย เพียงแต่ผูกไว้ไม่ให้รุงรัง จนสร้างความรำคาญให้เด็ก
คำนี้ในพจนานุกรมไม่มีจึงไม่ได้ให้ความหมายไว้ สรุปรวมลักษณะจากปากคำ และการให้ความหมายของชาวบ้านก็ หมายถึง ผมที่เอาไว้เป็นแหยมตรงขวัญซึ่งเป็นส่วนหักมุมของศีรษะนั่นเอง คำว่า โก๊ะ มาจากคำว่าอะไรไม่มีใครทราบ
สำหรับคำว่า "แหยม" นั้นหมายถึง "หย่อม ปอย ผมที่เอาไว้เป็นกระจุกบนศีรษะนอกจากจุก"
ผมเปีย
ผมเปีย หมายถึง "ผมที่ถักห้อยยาวลงมา" ซึ่งอันที่จริงแล้ว ผมเปียนี้ที่แท้ก็คือ ผมโก๊ะ ผมแกละ ที่เอามาถักนั่นเอง เด็กผมแกละบางคนก็ปล่อยผมแกละให้สยายพริ้วไปตามลม ถ้าพ่อแม่รำคาญตาเข้าก็ จับมาถักเปียเสีย ทำให้ดูเรียบร้อยขึ้น
คำล้อเลียน ผมเปีย "ผมเปีย เลียใบตอน พระตีกลองตะลุ่งตุ้งแช่"
พิธีตัดเปีย
หลังจากการทำพิธีโกนผมไฟ แล้วเด็กไว้ผมจุกหรือผมเปีย จนอายุย่างเข้าสู่วัยแรกรุ่น คือเด็กชายจะอายุราว 13 ปี เด็กหญิงอายุประมาณ 11 ปี บิดามารดาหรือผู้ปกครองเห็นว่าควรจะทำพิธีโกนจุกหรือตัดเปียได้แล้ว ก็จะจัดการตระเตรียมงาน ซึ่งอาจจะทำไปพร้อมกับการทำบุญบ้านด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดในคราวเดียวกัน
ก่อนที่จะเริ่มงานจะต้องนำวัน เดือน ปี ของเด็กไปให้โหรกะเวลาฤกษ์ให้เสียก่อน แต่ต้อง มิให้ตรงกับวันอังคาร เพราะถือกันว่าวันอังคารเป็นวันห้ามโกนจุก
การไว้ผมทรงต่าง ๆ ของเด็กไทยโบราณ มีสาเหตุดังนี้
• ไว้ไปตามประเพณี ส่วนใหญ่จะให้เริ่มไว้หลังจากทำพิธีโกนผมไฟแล้ว โดยจะเหลือผมตรงขม่อมไว้ เพราะเชื่อกันว่าหากโกนผมทิ้งไปหมด ขวัญจะไม่มีที่อาศัย แล้วก็เริ่มไว้จนยาวตั้งแต่นั้นเรื่อยมา
• ไว้เพราะเป็นการแก้เคล็ด เนื่องจากเด็กมักเจ็บไข้ออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ หรือเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ผู้ใหญ่จึงให้เปลี่ยนมาเป็นไว้จุก ไว้แกละ หรือไว้เปีย ไปตามแต่จะเห็นสมควร บางทีพอเปลี่ยนทรงผมแล้ว กลายเป็นเด็กแข็งแรงเลี้ยงง่ายไปเลยก็มี
Credit:
google