August 04, 2010
Nat Taung Kyaung Monastery วัดไม้สักที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในพุกาม
Nat Taung Kyaung ตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน Taung-bi ภายในอาณาเขตที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ถึงแม้ว่าช่วงเวลาที่สร้างวัดนี้จะไม่มีบันทึกบอกไว้แน่นอน แต่น่าจะมีอายุมากกว่า 200 ปี
วัดแห่งนี้ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และไกด์บุคใดๆ ให้นักท่องเที่ยวมาเยือน ดังเช่นโบราณสถานแห่งอื่น .. สาร ถึรถม้า แนะนำให้เรามาดู ด้วยเหตุที่วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ที่สร้างด้วยไม้สัก และสารถีของเรายืนยันว่าคุ้มค่ากับการมาเยือนแน่นอน
เรา เดินทางด้วยรถม้าคุนเดิมมาตามถนนดินแคบๆ ... บรรยากาศทั้งสองข้างที่เราผ่านดูแห้งแล้ง ตลอดทางมีฝุ่นมากพอควร เหมาะกับพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องยนต์อย่างยิ่ง
ฉัน สังเกตุเห็นว่า แม้จะออกมาจากสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแล้ว แต่ทางการของพุกามยังคงมีการขุดเพื่อค้นหา และบูรณะเมืองเก่า และซากเจดีย์อีกมากมายที่ยังคงจมอยู่ใต้พื้นดิน เราจึงเห็น site งานที่กำลังดำเนินการอยู่อีกหลายแห่ง ขณะที่เราเดินทางผ่าน ... ในอีดไม่นานก็คงจะมีโบราณสถานที่ผ่านการบูรณะให้เราได้ไปศึกษากันอีกมาก
เราผ่านชุมชนในเขตพุกามโบราณ ไม่นานก็มาถึงวัด Nat Taung Kyaung … ที่แรกเห็น ฉันคิดว่าสถาปัตยกรรมเหมือนกับวัดไทยใหญ่ทางตอนเหนือของบ้านเรามาก …
วัด แห่งนี้ สร้างด้วยไม้สักยกพื้นมีใต้ถุนไม่สูงมาก ส่วนบนมีเครื่องหลังคาที่ทำด้วยไม้แกะสลักสวยงามในรูปแบบศิลปะของพม่า แต่อยู่ในสภาพที่เก่าและทรุดโทรมมาก เห็นได้ชัดว่าขาดการดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดี (นี่มิใช่การติ แต่พูดจากสภาพที่มองเห็น … อาจจะไม่มีงบประมาณพอในการบูรณะก็ได้ หรืออาจจะเป็นจากสาเหตุอื่นๆ)
ฉันเข้าใจว่าวัดที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในอดีต ด้วยการสลักเสลาไม้อย่างงดงามคงมีมากกว่านี้แน่นอนในสมัยพุกามโบราณ …
แต่ น่าเสียดาย ด้วยวัสดุที่ใช้ คือ ไม้ จึงทำให้ผุกร่อน สูญสลายไปตามกาลเวลา ด้วยปัจจัยหลายประการที่เป็นสาเหตุ เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ความชื้นจากน้ำและฝน แสงแดดที่ร้อนแรง และหากไม่เป็นไม้สักก็มีโอกาสที่แมลงจะมากัดกินเนื้อไม้ได้ด้วย … ไม่เหมือนเจดีย์หรือวิหารที่สร้างด้วยศิลา อิฐ และปูนที่สามารถยืนหยัดคงทน ผ่านความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาได้ยาวนาน
อีก ทั้งวัดเหล่านี้มักถูกสร้างอย่างอลังการโดยบุคคลคนๆหนึ่ง เพื่อการสะสมบุญกุศล และให้เป็นที่อาศัยของพระสงฆ์ ไม่ใช่สถานที่ที่ผู้คนไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ จึงไม่ได้รับการดูแล รักษา และบูรณะให้คงอยู่ให้เราได้ชื่นชมเท่าที่ควร … รวมถึง บุคคลอื่นมักจะเลือกการสร้างวัดใหม่ของตนเอง มากกว่าที่จะบูรณะวัดเดิมที่ผู้อื่นสร้างเอาไว้
เราเดินผ่านบันไดอิฐขึ้นไปยังด้นบนของวัด ประตูทางเข้าแกะสลักเป็นรูปเทวดา … สวยมากค่ะ
ว่ากันว่า … วัด แห่งนี้สร้างด้วยเทคนิคการเข้าลิ่ม และไม่ใช้ตะปู คงคล้ายกับกรรมวิธีสร้างโรงเรือนโบราณของไทยเช่นกันค่ะ เราอาจจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางวิศวกรรมก่อนสร้างมาจากพุกามก็ได้นะคะ ด้วยเหตุที่พม่าเคยอยู่ในยุคที่รุ่งเรืองมาก่อนอาณาจักรใดๆของไทย
ฉันชอบชายคาของศาลาที่ทำเป็นชั้นย่อยๆลดหลั่นกันลงมา ที่ชาวพม่าเรียกว่า “zei-ta-wan” … ชายคานี้นำสานตาไปสู่ประตูทีทางเข้าประดับด้วยกรอบไม้แกะสลักที่สวยงามอีกเช่นเคย
ตรงกลางของศาลายกพื้นขึ้นไปไม่สูงนัก ให้ความรู้สึกของการแยกสัดส่วน … มีตู้ไม้ ข้างในมีพระพุทธรูปขนาดไม่ใหญ่โต และดูเหมือนจะไม่มีพระประธานอย่างวัดในบ้านเรา
เสาไม้ที่ใช้ค้ำจุนโครงสร้างเกือบจะทุกเสา ประดับด้วยไม้แกะสลักรูปเทวดา
ด้าน ตรงข้ามกับลานโล่งของศาลาด้านหนึ่ง มีห้องขนาดกลางซึ่งเมื่อเข้าไปดู ฉันได้เห็นว่าเป็นที่ใช้เก็บสิ่งของที่ดูเก่าแก่ บางชิ้นรูปร่างเหมือนตู้พระธรรม และมีบางส่วนที่เป็นไม้แกะสลัก … เสียดายที่เรามีความรู้เกี่ยวกับวัดนี้น้อยมาก แต่มีคนเล่าว่าสิ่งของที่เราเห็นเป็นของที่มีมาตั้งแต่ยุค Kon-baumg ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ก่อนที่พม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ฉัน ค้นคว้าข้อมูลจากลิ้งค์ด้านล่างของบทความนี้ ทำให้รู้ว่า ได้มีการพยายามที่จะบูรณะวัดแห่งนี้ให้กลับมาสวยงาม มีชีวิตดังที่เคยเป็นมาในอดีต ด้วยฝีมือของช่างในปัจจุบัน โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการบูรณะจากต่างประเทศ
ฉัน ได้แต่หวังว่า การบูรณะจะนำชีวิต และความงดงามของศิลปะชั้นสูงในอดีตให้กลับมาสู่วัดแห่งนี้อีกครั้ง และเป็นสถานที่ที่ผู้คนได้มาเที่ยว มาชื่นชม และศึกษาความรุ่งเรืองในอดีตของดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นสถานที่รวมศรัทธาของผู้คนดังเช่นที่เคยเป็นมายาวนาน
บริเวณด้านหลังของวัดมีบันไดค่อนข้างชันนำลงสู่ท่าน้ำ … แม่ น้ำที่อยู่เบื้องหน้าของเราคือ แม่น้ำเอยาวดี เส้นเลือดของเมือง อันเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเมืองอีกเส้นทางหนึ่ง รวมถึงเป็นแหล่งน้ำ แหล่งใช้สอยในชีวิตประจำวันของผู้คนในแถบบนี้