ที่มาของภาพ...
http://news.sanook.com/gallery/gallery/961190/179270/
ข้อผิดพลาด 10 ประการทำวิกฤติตัวประกันปินส์เหลว
นัก วิเคราะห์ด้านการรักษาความปลอดภัย ผู้เคยทำงานให้กับกองกำลังต่อต้านการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร รวมไปถึง กรมตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ด ระบุ การที่ตำรวจฟิลิปปินส์บุกล้อมรถบัสนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยตัว ประกันในกรุงมะนิลาวันก่อนแสดงถึงความกล้าหาญยอดเยี่ยม แต่การขาดการฝึกซ้อมที่ดี...
"ชาร์ลส์ ชูบริดจ์" นักวิเคราะห์ด้านการรักษาความปลอดภัย ผู้เคยทำงานให้กับกองกำลังต่อต้านการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร รวมไปถึง กรมตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ด ระบุ การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจฟิลิปปินส์บุกล้อมรถบัสนักท่องเที่ยวเพื่อช่วยตัว ประกันในกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์เมื่อ วันก่อนนั้นแสดงถึงความกล้าหาญได้อย่างยอดเยี่ยม แต่การขาดการฝึกซ้อมที่ดี และการไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ในการรับมือกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมเป็นหนึ่งในข้อผิดพลาด 10 ประการที่นำไปสู่การเกิดเรื่องน่าเศร้าเช่นนี้
1.การตัดสินใจ
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ขาดการวางแผนและตัดสินใจที่ ดีในการรับมือสถานการณ์ตึงเครียดเช่นนี้ เห็นได้จากความพยายามของเจ้าหน้าที่ชุดแรกๆ ที่พยายามบุกโจมตีรถบัสแบบ"บุ่มบ่าม" จนทำให้โรลันโด เมนโดซา คนร้าย ซึ่งเคยเป็นอดีตตำรวจเริ่มสาดกระสุนตอบโต้และทำให้สถานการณ์เลวร้ายจนเกิน ควบคุม
2.การขาดเครื่องมือ-อุปกรณ์ที่เหมาะสม
ชูบริดจ์ ระบุว่า ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ใช้เวลามากเกินไปกว่าที่พวกเขาจะสามารถหาอุปกรณ์ที่ เหมาะสมมาพังหน้าต่างของรถบัสคันที่เกิดเหตุ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วหากเกิดสถานการณ์เช่นนี้สิ่งแรกๆ ที่เจ้าหน้าที่ควรกระทำคือ การหาทางเปิดหรือทำลายหน้าต่างและประตูให้เปิดโล่งให้ได้โดยเร็วที่สุด นอกจากนั้น ชูบริดจ์ ยังชี้ว่า ดูเหมือนตำรวจฟิลิปปินส์แทบจะไม่ทราบเลยว่าพวกเขาต้องทำอะไรต่อไป หลังจากที่ได้พังหน้าต่างของรถบัสดังกล่าวได้แล้ว จนทำให้พวกเขาดูเหมือนกับ "พวกพ่อค้าเร่" ที่มาเฝ้ามุงดูอยู่รายรอบตัวรถ มากกว่าที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอาวุธครบมือ
3. การสูญเสียโอกาสทองในการปลดอาวุธคนร้าย
ชูบริดจ์ ระบุว่าเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้เจรจากับคนร้ายในครั้งนี้มี "โอกาสทอง" หลายต่อหลายครั้ง ในอันที่จะ "ปลดอาวุธ" คนร้ายได้ในระยะประชิด แต่กลับปล่อยให้โอกาสเหล่านั้นหลุดลอยไป จนนำไปสู่การเกิดโศกนาฏกรรมในที่สุด
4.การสูญเสียโอกาสที่จะสังหารคนร้าย
นอกเหนือไปจากการสูญเสียโอกาสในการปลดอาวุธคนร้ายแล้ว ชูบริดจ์ ยังยกตัวอย่างภาพจากวีดิโอบันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ที่พบว่ามีหลายต่อหลาย จังหวะที่คนร้ายยืนอยู่ตามลำพัง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่พลแม่นปืนจะสามารถปลิดชีพเขาได้อันจะทำให้เหตุการณ์ จับตัวประกันครั้งนี้ยุติลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ทว่าเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวของฟิลิปปินส์กลับเลือกที่จะใช้การเจรจายืด เยื้อกับคนร้ายต่อไป
5. การโอนอ่อนผ่อนตามคนร้ายมากเกินไป
ชูบริดจ์ ระบุว่าในสถานการณ์ที่มีการจับตัวประกันเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องโอนอ่อนผ่อนตามหรือ "รักษาสัจจะ " ใดๆกับคนร้าย สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควรทำ คือ การรับปากตามคนร้ายเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายลงบ้าง แต่ไม่ใช่การรักษาสัญญาที่ต้องจัดหาทุกสิ่งทุกอย่างตามที่คนร้ายร้องขอ เพราะการทำเช่นนั้นจะยิ่งทำให้คนร้ายได้ใจและได้หันมาเป็นฝ่ายเดิมเกมกดดัน เจ้าหน้าที่เสียเอง
6.ถ่ายทอดทางโทรทัศน์
การที่มือปืนสามารถเกาะติดสถานการณ์ผ่านทางโทรทัศน์ทำให้เขาล่วงรู้ทุกอย่างว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเขา ถือเป็นข้อบกพร่องและความผิดพลาดที่สำคัญในการจัดการปัญหาของเจ้าหน้าที่ โดยชูบริดจ์ชี้ว่าตำรวจควรหาเกาะกำบังโดยรอบจุดเกิดเหตุเพื่อป้องกันการจับ ภาพจากสื่อมวลชน และรีบรุดช่วยเหลือตัวประกันโดยที่คนร้ายไม่ทันรู้ตัว
7.ไม่ทำให้ประหลาดใจ
มือปืน ล่วงรู้ทุกอย่างว่าตำรวจกำลังขยับซ้ายขยับขวาหรือดำเนินการใด ๆ แม้จะไม่ได้ชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ แต่เป็นเพราะการเคลื่อนกำลังพลค่อนข้างล่าช้า และไม่มีจุดเบี่ยงเบนความสนใจเลยสักอย่าง
8.ความปลอดภัยของประชาชน
มีเด็กอย่างน้อย 1 คนถูกกระสุนลูกหลงจนได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ละเลยปล่อยให้ประชาชนเข้าใกล้จุดเกิดเหตุมากเกินไป ทั้งที่เจ้าหน้าที่ทราบดีว่าวิถีกระสุนของปืนเอ็ม 16 นั้นสามารถยิงไกลถึง 1 ไมล์ และ หากมองจากมุมสูงแล้วก็จะยิ่งเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์หละหลวมใน การควบคุมพื้นที่ภาคพื้นดินอย่างยิ่ง
9.ใช้น้องชายมือปืนช่วยเจรจา
ญาติหรือเพื่อนสนิทอาจเปรียบเสมือน"ดาบ 2 คม" เนื่องจากเขาหรือเธออาจเอนไปทางผู้จับตัวประกัน เช่นเดียวกับในกรณีนี้ ซึ่งตำรวจตัดสินใจนำตัวน้องชายของมือปืนมาช่วยเจรจาต่อรองเพราะเขาไม่ได้ ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวเขาออกไป
10.การฝึกอบรมไม่เพียงพอ
พื้นที่บางส่วนของประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ เกาะมินดาเนาทางตอนใต้ของประเทศมักมีการจับกุมตัวประกันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง พื้นที่ดังกล่าวจึงมีกองกำลังที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใน ลักษณะนี้เป็นอย่างดี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่กรุงมะนิลาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตำรวจแตกต่างจากตำรวจที่มินดาเนา เพราะปฏิบัติการครั้งนี้ของตำรวจมะนิลาทั้งความพยายามทุบกระจกรถบัสให้แตก อยู่หลายครั้ง รวมถึงการโยนแก๊สน้ำตาเข้าไปในจุดเกิดเหตุ ต่างแลดูค่อนข้าง "มะงุมมะงาหรา" และเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมารับผิดชอบสถานการณ์เช่นนี้ควรได้ รับการฝึกฝนจนชำนาญการซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อไม่ให้วิกฤติการจับตัวประกันต้องจบ ลงด้วยการสูญเสีย.
ที่มา...
http://www.thairath.co.th/content/oversea/106385