คำว่า สไนเปอร์ (Sniper) ที่กำลังถูกเอ่ยถึงบ่อยครั้งในหนังสือพิมพ์ ทุกวันนี้
อาจยังเป็นที่สับสน และสงสัยใคร่ทราบ
กระสุนนัดเดียวที่ปลิดชีพ เสธ.แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล มาจากทิศทางใด
ที่แน่ๆ คือมันมาจากระยะไกลและเข้าเป้าอย่างแม่นยำ
ทันทีที่ข่าวการลอบสังหาร เสธ.แดง แพร่ออกไป
สำหรับคอหนังแอ็กชั่นที่คุ้นเคยกับความแม่นยำระดับมัจจุราชนี้
คงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นฝีมือของ สไนเปอร์ (Sniper)
ในประวัติการลอบสังหารหรือสั่งเก็บในเมืองไทย การเรียกใช้สไนเปอร์มีน้อยครั้งมาก
เพราะมือปืนระดับนี้ ใช่ว่าจะหาได้ทั่วไปตามซุ้ม แต่ต้องเป็นระดับมืออาชีพที่ได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก
มียุทโธปกรณ์ทันสมัย และต้องมีทีมชี้เป้าที่ทำงานร่วมกันอย่างลงตัว
สไนเปอร์คือใคร?
ข้อมูลทั่วไปที่รับรู้กันก็คือ พวกเขาคือพลซุ่มยิงจากระยะไกลที่มีความแม่นยำสูง ในระดับที่เรียกกันว่า ‘หนึ่งนัด หนึ่งชีวิต’
และสำหรับพลเรือนทั่วๆ ไป การรู้เพียงเท่านี้ก็ถือว่ามากเกินพอแล้ว…
เป็นบุคคลประเภทที่เกิดมาเพื่อ 'ทำลายเป้าหมาย' อย่างแม่นยำ
ชื่อของเขาคือ 'สไนเปอร์' (Sniper) หรือ 'พลซุ่มยิง'
มีคำที่ใกล้เคียงกัน 2 คำ
Sniper คือ พลซุ่มยิง
ส่วน พลแม่นปืน คือมาร์คสแมน (Marksman)
ก่อนเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิง Sniper ต้องผ่านหลักสูตร พลแม่นปืน Marksmanship ก่อน
แล้วสอบคัดเลือกเข้าหน่วยพลซุ่มยิงอีกรอบ
Sniperพลซุ่มยิง (Sniper)
คือผู้ที่มีความสามารถสูงในเรื่องของการยิงปืนในระยะไกล
ซึ่งได้รับการฝึกฝนการยิงเป้าหมายในสถาณการณ์ต่างๆที่ต้องใช้ความสามารถในเรื่องของการยิงปืน
เรื่องของความอยู่รอด (survivability) ในพื้นที่ต่างๆ เป็นระยะเวลานาน
เช่น ในป่า หรือ ในพื้นที่สิ่งก่อสร้าง
หน้าที่ของพลซุ่มยิงคือ การวางวิถีกระสุนอย่างแม่นยำไปยังฝ่ายข้าศึก
ซึ่งทหารในหน่วยต่างๆ ไม่สามารถทำการยิงได้
ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะระยะทาง ขนาดของกำลังข้าศึก ที่ตั้งฝ่ายข้าศึก หรือว่าการมองเห็น
ผู้ที่จะเป็นพลซุ่มยิงได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะที่พิเศษ
อย่างดังตัวอย่างในระเบียบราชการสนาม 23-10
การฝึกพลซุ่มยิง (FM-23-10 Sniper Training) ของกองทัพบกสหรัฐฯ
ได้มีแนวทางในการคัดเลือกกำลังพลเข้าทำการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะมีข้อพิจารณาอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
1. แม่นปืน ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะต้องมีความสามารถในการยิงปืนดีเลิศ
ถ้าผ่านการแข่งขันทางด้านการยิงปืน หรือการล่าสัตว์มาก่อนจะเป็นข้อได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
2. ร่างกายต้องพร้อม ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิง
จะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และถ้าเคยผ่านการเป็นนักกีฬาในประเภทต่างๆ
ก็จะได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
3. สายตาและความสามารถในการมอง
ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ใส่แว่นสายตา
เพราะจะเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลวของภารกิจเมื่อแว่นสายตาชำรุด
หรือสูญหายในพื้นที่ปฏิบัติการ
นอกจากนี้จะต้องไม่ตาบอดสี เพราะจะมีปัญหาในการแยกเป้าหมายจากสิ่งแวดล้อม
4. ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะต้องไปเป็นผู้ที่สูบบุหรี่
เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งของตนเอง
นอกจากนี้การปฏิบัติงานจริงจะต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้เป็นระยะเวลานาน
การที่ไม่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการยิงลดลง
5. มีความมั่นคงทางอารมณ์สูงกว่าคนปกติ
ผู้ที่เข้ารับการฝึก จะต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีในภาวะต่างๆ
เพราะการปฏิบัติงานจริงอาจจะต้องตกอยู่ในภาวะที่มีความกดดันสูง
การลั่นไก ณ เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของพลซุ่มยิง
6. ความคิดและระดับสติปัญญา
ผู้ที่เข้ารับการฝึกนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับขีปนวิธีของกระสุนในลักษณะต่างๆ
การปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยเล็ง การใช้วิทยุสื่อสาร การตรวจการณ์ และการปรับการยิง
เครื่องยิงลูกระเบิดและปืนใหญ่ การเดินแผนที่และเข็มทิศ
การรวบรวมและรายงานข่าวสาร และการพิสูจน์ฝ่ายและอาวุธยุทโธปกรณ์
ในหนึ่งชุดซุ่มยิงลาดตระเวน จะประกอบไปด้วย กำลังพล 2 นาย
คือ 1. พลซุ่มยิง (Sniper) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการซุ่มยิง
และ 2. พลชี้เป้า (Spotter) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วัดระยะจากที่วางตัวไปยังเป้าหมายแล้วแจ้งให้พลซุ่มยิงทราบ