10 อันดับแห่งการค้นพบโดยอุบัติเหตุ

 

Saccharin (ขัณฑสกร)

อันดับ  10  Saccharin (ขัณฑสกร)


เชื่อ หรือไม่ว่าสาร ให้ความหวานที่หวานกว่าน้ำตาล 550 เท่านี้ ถือกำเนิดมาเพราะนักเคมีนาม Constantin Fahlberg ไม่ได้ล้างมือหลังจากกลับถึงบ้าน! ในปี ค.ศ. 1879 Fahlberg กำลังขมักเขม้นกับการหาวิธีใช้งานน้ำมันถ่านหินอยู่ หลังจากเลิกงาน เขาก็ต้องประหลาดใจ เมื่อเขากลับถึงบ้าน คว้าขนมปังมากิน ปรากฎว่า มันหวานกว่าปรกติ หลังจากถามศรีภรรยาว่าเธอได้ใส่น้ำตาลเพิ่มไปหรือเปล่า ภรรยาเธอก็ปฎิเสธ แล้วก็บอกว่า รสชาติก็ปรกติดีนิ Fahlberg จึงถึงบางอ้อว่า รสหวานมันต้องมาจากมือ (ที่ยังไม่ได้ล้าง) ของเขาแน่ๆ วันรุ่งขึ้น เขากลับไปที่ห้องแล็ป และชิมงานทุกอย่างของเขา จนกระทั่งเจอจุดที่มีรสหวาน


  Smart Dust

อันดับ  9  Smart Dust


คนส่วนมากมักจะอารมณ์เสีย ถ้าจู่ๆการบ้านของเขาระเบิดใส่หน้าและแตกเป็นชิ้นๆลงบนพื้น แต่ ไม่ใช่นักศึกษา นาม Jamie Link เพราะในขณะที่ Link กำลังทำการทดลองในงานวิจัยของเธอในมหาวิทยาลัย University of California อยู่นั้น ปรากฎว่า ชิพซิลิกอนที่เธอกำลังศึกษาอยู่ เกิดระเบิดแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่หลังจากนั้น เธอก็ได้พบว่า ชิ้นส่วนเล็กๆเหล่านี้ ยังสามารถทำงานเป็นเครื่องตรวจจับได้อยู่ ในที่สุดแล้ว "smart dust" นี่เอง ที่ทำให้เธอได้รางวัลสูงสุดในงาน Collegiate Inventors Competition เมื่อปี 2003 ไปครอง ชิ้น ส่วนเล็กๆเหล่านี้สามารถเอาไปใช้หาความบริสุทธิ์ของน้ำดื่ม, หาสารเคมีที่เป็นอันตรายในอากาศ แม้กระทั่ง ระบุตำแหน่งเซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์ได้ด้วย


  Coke

อันดับ  8  Coke


การบังเอิญ คิดค้นอาหารต่างๆนั้นมี มากมายเหลือเกิน เช่น มันฝรั่งแผ่นที่เกิดเพราะพ่อครัวนาม George Crum รำคาญลูกค้าที่บ่นว่า french fries ที่เขาทำมันอมน้ำมันเหลือเกิน หรือไอติมแท่งที่เกิดเพราะนาย Frank Epperson ลืมน้ำหวานไว้นอกบ้านในคืนที่อากาศหนาว แต่ไม่มีการบังเอิญใดที่จะประสบความสำเร็จเท่ากับโค้กอีกแล้ว เพราะ เภสัชกรในแอตแลนต้าที่ชื่อ John Pemberton พยายามที่จะคิดสูตรยาสำหรับแก้ปวดหัว เขาใช้ส่วนผสมหลายอย่าง -ที่เป็นความลับจนทุกวันนี้- จนเกิดเป็นโค้กขึ้นมา กว่าโค้กจะเป็นที่นียมได้ ก็ต้องใช้เวลาถึง 8 ปีในร้านขายยาของเขา หลังจากนั้น ถึงจะได้เอาน้ำดำมาใส่ขวดขายจนทุกวันนี้


  Teflon

อันดับ  7  Teflon


ใน ปัจจุบัน สาร CFC (chlorofluorocarbon) ได้ถูกระงับไม่ให้ใช้แล้ว เนื่องจากการทำลายชั้นโอโซนของมัน แต่ย้อนกลับไปในช่วงปี 1930 สารนี้แหละ ที่ทำให้ตู้เย็นพัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ช่วงนั้นเอง นักเคมีหนุ่มของ บ.DuPont ที่ชื่อ Roy Plunkett ก็กำลังคิดค้นสาร CFC ชนิดใหม่อยู่เหมือนกัน เขาคิดเอาไว้ว่า ถ้าเขาสามารถนำส่วนผสมที่เรียกว่า TFE ไปทำปฏิกริยากับกรดไฮโดรคลอริคได้ เขาควรจะได้สารทำความเย็นชนิดใหม่ขึ้นมา เมื่อเริ่มทดลอง เขาก็เอาก๊าซ TFE มาแช่เย็นและอัดใส่ในกระป๋อง เพื่อที่จะเอาไว้ใช้ในตอนหลัง หลังจากทำโน่นทำนี่แล้ว ถึงเวลาเปิดกระป๋องเพื่อที่จะเอากรดใส่ลงไป ปรากฎว่า ไม่มีอะไรอยู่ในกระป๋อง... ก๊าซหายไปหมดแล้ว ด้วยความโมโห เขาเลยเปิดฝากระป๋องออก แล้วเขย่าๆๆๆ ปรากฎว่า มีผลึกสีขาวๆร่วงออกมาจากกระป๋อง หลังจากนั้น ก็เป็นโชคดีของแม่บ้านทั้งหลาย เพราะเขาเกิดสงสัยไอ้ผลึกขาวๆเหล่านั้น และส่งไปให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นใน บ. ดูต่อไป


  Vulcanized Rubber (ยางวัลกาไนส์)

อันดับ  6  Vulcanized Rubber (ยางวัลกาไนส์)


Charles Goodyear ต้องรอเป็นปีๆ ถึงจะเจออุบัติเหตุที่ทำให้เขานอนตายตาหลับได้ Goodyear ใช้เวลาหลายสิบปีในการหาวิธีต่างๆที่จะทำให้ยางมีประสิทธิภาพดีขึ้นในขณะ เดียวกันก็ต้องทนความร้อนและความเย็นด้วย ..แต่เขาก็หาไม่เจอสักที จน วันนึง เขาทำส่วนผสมของ ยาง, ซัลเฟอร์ และตะกั่ว หกใส่เตาร้อนๆ ความร้อนเผาส่วนผสมทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้ทำลายส่วนผสมนั้น เมื่อ Goodyear หยิบส่วนผสมขึ้นมาดู ปรากฎว่า มันแข็งขึ้น และยังสามารถใช้งานได้อยู่ ในที่สุด... เขาก็เจอการก้าวกระโดดที่เขาใฝ่ฝันถึง ส่วนยางที่เขาค้นพบนั้น ปัจจุบัน ก็อยู่ใน ยางรถยนต์, รองเท้า ยันลูกฮอกกี้น้ำแข็ง


  Plastic

อันดับ  5  Plastic


ใน ปี 1907 ชแล็กถูกใช้เป็นฉนวนในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แถมไม่ใช่ของถูกๆซะด้วย เพราะมันได้มาจากแมลงชนิดหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแน่นอน นาย Leo Hendrik Baekeland นักเคมีว่างงานก็เกิดไอเดียที่จะทำชแล็กสูตรใหม่ขึ้นมา และโกยกำไรให้กระเป๋าตุง แต่ทำไปทำมา การทดลองของเขาดันทำให้เกิดวัสดุที่ขึ้นรูปได้ และทนความร้อนโดยไม่เสียรูปทรงซะงั้น Baekeland ตั้งชื่อสารของเขาว่า "Bakelite" แล้วคิดที่จะใช้มันสำหรับเป็นแผ่นเสียง แต่ไม่นานหลังจากนั้น เราก็ค้นพบว่าไอ้สารนี่ มันทำอะไรได้เป็นพันๆอย่างเลยทีเดียว ตั้งกะโทรศัพท์ ยันหน้ากากผี


  Radioactivity (กัมมันตภาพรังสี)

อันดับ  4  Radioactivity (กัมมันตภาพรังสี)


มี อยู่ สองคำที่คุณคงไม่ค่อยอยากได้ยินมันอยู่ในประโยคเดียวกันสักเท่าไหร่คือ "อุ๊ย.." กับ "สารกัมมันตรังสี" แต่สำหรับนักฟิสิกส์ นาม Henri Becquerel แล้ว อุบัติเหตุนี่แหละที่ทำให้เขาค้นพบกัมมันตภาพรังสี ย้อนกลับไปในปี 1896 Becquerel ได้มีความสนใจกับของอยู่ 2 สิ่ง นั่นคือ สารฟลูออเรสเซนส์ในธรรมชาติ กับ การ X-rey แบบใหม่ เขาได้ทำการทดลองเพื่อที่ จะหารังสี X โดยจะนำเอาก้อนแร่ฟลูออเรสเซนส์ไปไว้กลางแดด แต่ ปัญหาอย่างหนึ่งที่เขาเจอคือ เขาทำการทดลองในหน้าหนาว แล้วกว่าท้องฟ้าจะเปิด ก็ปาเข้าไปเป็นอาทิตย์ ดังนั้น เขาเลยทิ้งอุปกรณ์กองๆไว้ในลิ้นชัก แล้วรอให้ถึงวันที่แดดออก เมื่อ เขากลับมาทำงาน Becquerel สังเกตเห็นว่า ก้อนแร่ยูเรเนียมที่เขาทิ้งไว้ในลิ้นชัก ได้ประทับรอยไว้กับแผ่นบันทึกภาพ โดยที่ยังไม่ได้ถูกกับแสงเลย ดังนั้น เขาจึงคิดว่า ไอ้ก้อนหินนี่ มันต้องมีอะไรพิเศษแน่ๆ เมื่อเขาได้ทำการวิจัยร่วมกับ มารี และ ปีแอร์ คูรี เขาก็สรุปได้ว่า ไอ้สิ่งนั้นมันคือ กัมมันตภาพรังสีนี่เอง


  Mauve (สีย้อมผ้า)

อันดับ  3  Mauve (สีย้อมผ้า)


ถ้าพูดถึงความเกี่ยวข้องที่มันแปลกๆแล้ว ลองมาดูนี่หน่อย นัก เคมีอายุ 18 ชื่อ William Perkin ที่ต้องการจะรักษาโรคมาลาเรีย - แต่การค้นพบของเขาจะเป็นการปฏิวัติวงการแฟชั่นทั่วโลกอย่างสิ้นเชิง ...อ้อ แล้วก็ช่วยสู้กับมะเร็งด้วย อย่าเพิ่งงง ลองดูนี่ก่อน ใน ปี 1856 Perkin ได้พยายามคิดค้นตัวยาควิกนิน แบบใหม่ขึ้นมา แต่แทนที่จะได้ยารักษาโรคมาลาเรีย การทดลองของเขาดันได้สารแหยะๆสีแปลกๆออกมา แต่พอเขาจ้องดูที่สารนั่น เขากลับมองเห็นความสวยงามของมันเรื่อยๆ ปรากฎว่า เขาเป็นบุคคลแรกที่คิดค้นสีย้อมผ้าสังเคราะห์ขึ้นมา สีที่เขาทำขึ้น ถ้าเทียบกับสีที่สกัดมาจากธรรมชาติแล้ว เรียกว่าทิ้งกันไม่เห็นฝุ่น ทั้งสีที่สดกว่า และยังไม่ตกเวลาซักด้วย นอกจากนี้ การค้นพบของเขาทำให้ วิชาเคมีนั้นกลายเป็นศาสตร์ทำเงิน ซึ่งดึงดูดผู้คนที่มีความคิดประหลาดๆเข้ามาในวงการอีกด้วย แต่ เรื่อง ราวของสีนี่ยังไม่จบ เพราะยังมีคนที่ถูกจุดประกายจากงานของ Perkin นั่นคือนักแบคทีเรียวิทยาชาวเยรมันที่ชื่อ Paul Ehrlich โดยเขาใช้สีย้อมผ้าของ Perkin ในการเบิกทางค้นคว้า ภูมิคุ้มกันวิทยา (immunology) และ เคมีบำบัด (chemotherapy)


  Pacemaker (เครื่องกระตุ้นหัวใจ)

อันดับ  2  Pacemaker (เครื่องกระตุ้นหัวใจ)


อันดับเหล่านี้ จะไม่สมประกอบเลย ถ้าขาดสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากนักวิทยาศาสตร์ที่ใจลอยเวลาทำงาน มัน คือเครื่องกระตุ้นหัวใจนี่เอง เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตคนมานักต่อนักแล้ว และเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ถูกยัดใส่ในหน้าอกผู้ป่วยหลายๆรายนี่เอง ที่เกิดขึ้นมาเพราะวิศวะกรชาวอเมริกาที่ชื่อ Wilson Greatbatch ควานหาของในกล่อง แล้วหยิบของขึ้นมาผิดชิ้น... ไม่ได้โม้ แต่เป็นเรื่องจริง Greatbatch กำลังสร้างวงจรที่จะช่วยบันทึกเสียงหัวใจที่เต้นเร็วๆอยู่ ปรากฎว่า เมื่อเขาล้วงไปในกล่องที่เก็บตัวต้านทานไว้ แทนที่จะหยิบตัวต้านทานขนาด 1เมกะโอห์มขึ้นมา เขาดันหยิบตัวต้านทานขนาด 10,000โอห์มขึ้นมาแทน ปราก ฎว่า วงจรที่เขาทำเสร็จ ได้ส่งคลื่นออกมาเป็นเวลา 1.8มิลลิวินาที แล้วหยุดไป 1 วินาที แล้วก็ส่งคลื่นออกมาใหม่ ซ้ำๆไปเรื่อยๆ จนเป็นเสียงที่ทุกๆคนคุ้นหูกันดี นั่นก็คือเสียงหัวใจเต้นนั่นเอง


  Penicillin

อันดับ  1  Penicillin


Penicillin คุณๆท่านๆที่อ่านจนถึงนี่คงสงสัยอยู่ในใจว่า แล้วเพเนซิลินล่ะ หายไปไหน? แน่นอน สุดยอดแห่งการค้นพบโดยอุบัติเหตุ ที่รู้จักกันมากที่สุดในศัตวรรตที่ 20 คงเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเพเนซิลินนี่แหละ ถ้าคุณอาศัยอยู่ในถ้ำตลอด 80 ปีที่ผ่านมา และไม่รู้จักเพเนซิลินนี่ล่ะก็ ข้างล่างนี่คือประวัติการค้นพบของมัน Alexander Fleming ลืมที่จะทำความสะอาดโต๊ะทำงานของเขา ก่อนที่จะไปพักร้อนในปี 1928 พอเขากลับมา เขาก็เจอกลุ่มราประหลาดอยู่บนเชื้อที่เขาเพาะไว้ แล้วยิ่งแปลกเข้าไปใหญ่ เพราะแบคทีเรียที่เขาเพาะไว้ ไม่เข้ามากล้ำกรายรอบๆเชื้อราเหล่านี้เลย จากนั้นมา เพเนซิลินก็กลายเป็นยาปฏิชีวนะตัวแรก และยังนิยมใช้กันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้


   
22 ส.ค. 53 เวลา 20:40 3,454 10 164
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...