มหาโพธิสัตว์กวนอิม คนไทยส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เป็นจำนวนมากเช่นกัน พระโพธิสัตว์กวนอิม เกิดชาติสุดท้ายเป็นมนุษย์ แต่เดิมเป็นเทพธิดา ได้จุติลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อน
พระโพธิสัตว์ กวนอิม มีพระนามว่า “เมี่ยวซ่าน” เป็นราชธิดาของกษัตริย์เมี่ยวจวง แห่งอาณาจักรซิงหลิง อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศจีน พระธิดาเป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีน้ำพระทัยเมตตา กรุณาต่อทุกสรรพสิ่ง
เมื่อเยาว์วัย ทรงลึกซึ้งถึงหลักธรรม ได้ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ในการบำเพ็ญภาวนา เพื่อความหลุดพ้นทุกข์ จึงทรงออกบวช พระบิดา เมี่ยวจวงทรงไม่เห็นด้วย มีพระประสงค์ให้อภิเษกสมรส จึงได้บังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่พระธิดาเมี่ยวซ่านไม่ยินยอม ถึงแม้จะถูกพระบิดาทรงต่อว่า พระธิดาเมี่ยวซ่าน ไม่เคยนึกโกรธแต่อย่างใดเลย
ถึงจะให้พระธิดาเมี่ยวซ่าน ไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ บ้างหาบน้ำ เพื่อต้องการทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจให้หันมาอภิเษกสมรส เมื่อพระราชบิดา ทรงเห็นว่าไม่ได้ตามต้องการแล้ว จึงสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำพระธิดาเมี่ยวซ่านไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว พร้อมให้งานของวัดมอบให้ พระธิดาทำคนเดียว พระธิดาได้ทำงานทั้งหมดอย่างไม่ย่อท้อ พระบิดาทรงเข้าพระทัยว่า เหล่าแม่ชีไม่ได้ทรงทำตามรับสั่งไว้ จึงเกิดความไม่พอพระทัย สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาว สุดท้ายพระธิดาเมี่ยวซ่านทรงรอดชีวิตมาได้
พระราชบิดาทรงทราบเรื่อง จึงสั่งให้นำตัวพระธิดาไปประหารชีวิต แต่ด้วยพระราชธิดาทรงมี เหล่าองค์เทพคอยคุ้มครองรักษาอยู่ จึงรอด ปลอยภัยจากการประหารชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า
ในขณะนั้นได้ปรากฏ เสือเทวดาตัวหนึ่ง ได้พาพระธิดาเมี่ยวซ่าน หนีไปที่เขาเซียงซัน ขณะนั้นได้มีเทพแปลงร่างเป็นชายชรามาโปรด เพื่อแนะการบำเพ็ญเพียรและการดับทุกข์ ในที่สุดพระธิดาเมี่ยวซ่าน สามารถสำเร็จธรรมขั้นสูง บรรลุมรรคผล ในเวลานั้นพระธิดาเมี่ยวซ่าน ซึ่งถือได้เป็นเป็นชาวพุทธ แต่เมื่อมีเทพได้แปลงกายลงมาโปรดแนะการบำเพ็ญดับทุกข์ในภายหลัง ซึ่งเป็นเทพฝ่ายเต๋า จึงสำเร็จในธรรมขั้นสูง พระโพธิสัตว์กวนอิม จึงเป็นทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋า ในขณะเดียวกัน
พระนามกวงซีอิม
กวง แปลว่า มอง มองด้วยปัญญา มองด้วยการพิจารณา
ซี แปลว่า โลก , สังคม
อิม แปลว่า เสียง ,กระแสเสียง
กวงซีอิม แปลว่า มองเสียงโลก
การบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ ต้องบำเพ็ญจิตให้เข้มแข็งและกล้าแกร่ง ทุกขณะจิตย่อมให้เกิดประโยชน์ต่อสรรพสิ่งและสรรพชีวิต ไม่เห็นแก่ตัว , ไม่เห็นแก่ได้,ไม่เห็นแก่นอน , ไม่เห็นแก่กิน,ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ หากการบำเพ็ญยิ่งสูงขึ้น จนจิตไร้การยึดติด เกิดจิตที่เป็นอิสระ ยอมสละ แม้กระทั่งเลือดเนื้อ อวัยวะน้อยใหญ่ และยอมเสียแม้ชีวิตของตน เป็นต้น
คุณธรรมของพระโพธิสัตว์ คือ ต้องมีสัจจะ มีธรรม สำรวจตรวจจิตตนเอง ไม่อวดตน มีอุเบกขา อารมณ์สงบนิ่ง มีความอดทน อารมณ์ แห่งโพธิสัตว์ คือ เมตตาอภัยทาน ไม่ยึดติด ยอมรับกฎไตรลักษณ์ เข้าถึงสัจธรรมของความเป็นจริง เป็นต้น
คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสกิเลส มีจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสิ่งขยายน้ำใจออกไปอย่างไม่ มีขอบเขตที่สิ้นสุด มีอุบายวิธีการอันแยบคายในการสอนอย่างชาญฉลาด แนะนำสั่งสอนให้เห็นความจริงของโลกและเข้าถึงสัจธรรม องค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิมในปางต่าง ๆ ได้แก่ ปางพันเนตรพันกร ปางเหยียบมังกร ปางเหยียบปลามังกร ปางประทานพร ปางอุ้มบาตร ฯลฯ
สิ่งของต่าง ๆ ในพระหัตถ์ปางพันเนตรพันกร
สุริยัน จันทรา หมายถึง ปัญญารู้เท่าทันในอารมณ์ต่างๆ
ประนมกร หมายถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพในพุทธะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
โอบอุ้มโลก หมายถึง ความเมตตากรุณา และการเป็นอภัยทาน
ลูกประคำ,เชือก หมายถึง ความไม่ประมาท ยึดมั่นในศีล อบรมจิต ฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ
คันศร,ลูกศร หมายถึง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีหลักการ หลุดพ้นวัฏสงสารการตายการเกิด
คัมภีร์, สมุด หมายถึง ศึกษาทบทวนพระธรรมเสมอ
ดอกบัว หมายถึง ความใสสะอาดบริสุทธิ์
คนโทน้ำทิพย์ หมายถึง น้ำทิพย์รักษาโรค เสริมสิริมงคลแก่สัตว์โลก ผู้ตั้งมั่นในธรรม
พระแสงดาบ หมายถึง ปัญญาฆ่ากิเลส
พระแสงขวาน หมายถึง ปราบมาร โลภ โกรธ หลง มิจฉาทิฐิ
ธรรมจักร หมายถึง ทรงลื้อขนสัตว์โลก สืบทอดเผยแพร่พระศาสนา
เชือกบ่วงบาศ หมายถึง เครื่องช่วยฉุดสัตว์โลกให้พ้นจากภัยอันตราย
(ล้วนเป็นปริศนาธรรม)
เมื่อท่านเคารพต่อพระโพธิสัตว์แล้ว หรือถึงขั้นศรัทธาต้องการมุ่งสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ แม้กระทั่งเคยฝากตัวเป็นลูกศิษย์มา ด้วยการอธิษฐาน ทางจิต หรือเข้าสำนักธรรมเพื่อการปฏิบัติ ควรฝึกจิตให้นิ่งสงบเป็นอารมณ์อยู่ตัวเสมอ จนเกิดความเป็นปกติของจิต ไม่ว่าคำด่า คำชม ก็ไม่ให้เป็นไปตาม กระแสของอารมณ์อื่น ให้เป็นเพียงจิตสงบ ไม่ยึดติดในคำนินทาว่าร้าย และคำสรรเสริญ เมื่อจิตสงบได้ ย่อมเกิดปัญญา ปัญญาที่ดีทำให้จิตแช่มชื่น เมื่อจิต แช่มชื่น ร่างกายย่อมผ่องใสไม่มีทุกข์ร้อน และการอธิษฐานบารมีส่งแผ่ให้โลกเกิดสงบสุข ให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน แผ่เมตตาให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย จิตแห่งการอธิษฐานจิตบารมีนี้เป็นจิตที่สูง ช่วยหนุนจิตท่านเป็นผู้ให้ที่ดี ไม่เป็นผู้ขอ เป็นจิตผู้เสียสละไม่โลภ ไม่หลงไปตามกระแส ไม่ยึดติด มีจิตเป็นอิสระ การปฏิบัติธรรมขั้นสูงของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ล้วนมีมหาอุปสรรค(เครื่องกีดขวางการเข้าถึงโพธิจิต) จึงจำเป็นต้องสร้างความอดทน เพียรพยายามภาย ในจิตใจเป็นอย่างสูง ให้ดวงจิตเกิดความเข้มแข็ง และการเสียสละอย่างแท้จริง เพื่อจะได้ไม่ท้อถอยไปเสียก่อน ในการเข้าถึงธรรมขั้นสูงต่อไป
“ขอน้อมสักการะ ด้วยความเคารพ ศรัทธาด้วยใจ พร้อมระลึกนึกถึงพระคุณ พระโพธิสัตว์กวนอิม พระองค์ทรงเจริญเมตตาในธรรม อย่างไม่มีขอบเขต ทรงช่วยเหลือมวลสรรพสิ่งให้พ้นทุกข์แห่งวัฏสงสาร”
พระคาถาบูชา บทสรรเสริญพระคุณพระโพธิสัตว์กวนอิม
“นำโม กวนสี่อิม ผ่อสัก”
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิ้วโค่ว กิวหลั่งกวงสี่อิมผ่อสัก
ถั่งจี้ตอ โอม เกียล้อฮวดตอ เกียล้อฮวดตอ เกียคอฮวดตอ หล่อเกียฮวดตอ
หล่อเกียฮวดตอ ซาผ่อออ เทียงหล่อซิ้ง ตี่หล่อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลี่ซิง
เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำมอ หม่อ ออ ปวกเยี้ย ปอหล่อบิ๊ก ( กราบ )
พระคาถาจีนแปลเป็นไทยโดยใจความ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบนมัสการแทบเบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์พระพุทธบิดรอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ ต่อเจ้าแม่กวนอิมบรมโพธิสัตว์พุทธเจ้า พระผู้ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากลำบากอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีการถือชั้นวรรณะ น้ำพระทัยของพระองค์บริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ประดุจดังกระแสแห่งทิพย์
ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และพระอรหันต์ สาวกสาวิกาทั้งหลาย เทพเจ้าบนสวรรค์ เทพเจ้าผู้รักษาแผ่นดิน ขอให้ข้าพเจ้า พ้นจากเคราะห์กรรมทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้าได้ปัญญา ให้ข้าพเจ้าได้โลกกุตตระ ได้เข้าถึงฝั่งแดนพระอริยะด้วยเทอญ
โอม มานี ปะ หมี่ ฮง
ก่อนนั่งสมาธิให้ตั้ง(นะโม 3 จบ)
แล้วจึงว่าคาถา โอม มานี ปะ หมี่ ฮง พร้อมอธิษฐาน
“ขอพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ เสด็จมาสอนลูกให้รู้จักวิธีนั่งกรรมฐาน เพื่อเสริมบารมีให้กับลูก และถวายพระแม่”
หลังจากนั้น ให้สวดคาถา พระอวโลกิเตศวร ว่า
โอม มานี ปะ หมี่ ฮง 0 หม่าโฮ อี่ ยา นัก 0 เจ็ด ตู เต็ก ปา ตั๊ก 0 เจ็ด เต็ก เซ นัก
0 หมี่ ตา ลี่ โก 0 สัก อือ วา อือ ทา 0 ปู ลี สิด ตะ โก 0 นัก ปู ลา นัก 0 นัก ปู ลี 0 ติว
เตอ บัน นัก 0 ไน มา หลู่ กี 0 ซัว ลา เย ซอ ฮอ 0
( 3 จบ )
เมื่อสวดจบแล้ว ทำจิตให้เป็นสมาธิ ระหว่างยังไม่เป็นสมาธิให้ระลึก ถึง
องค์พระแม่กวนอิมแล้วภาวนาว่า
“โอม มานี ปะ หมี่ ฮง” หรือ
“นำ โม กวน ซือ อิม ผ่อ สัก” หรือ
“นำ โม ออ นี ถ่อ ฮุก”
พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร ( ไต่ปุยจิ่ว )
โชย ชิ่ว โชย งั่ง บ่อ ไหง ไต่ ปุย ซิม ทอ ลอ นี จิ่ว(3 จบ)
ปึง ซือ ออ นี ทอ ยู ไล้ (3 จบ)
0นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย 0 นำ มอ ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
0 ผู่ ที สัต ตอ พอ เย 0 หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย 0 หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย 0 งัน 0 สัต
พัน ลา ฮัว อี 0 ซู ตัน นอ ตัน เซ 0 นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิด ตี
สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ 0 นำ มอ นอ ลา กิน ซี 0 ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม 0 สะ พอ ออ ทอ
เตา ซี พง 0 ออ ซี เย็น 0 สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ เค 0 มอ ฮัว เตอ
เตา 0 ตัน จิต ทอ 0 งัน ออ พอ ลู ซี 0 ลู เกีย ตี 0 เกีย ลอ ตี 0 อี ซี ลี 0หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
0 สัต พอ สัต พอ 0 มอ ลา มอ ลา 0 มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน 0 กี ลู กี ลู กิด มง 0 ตู ลู ตู
ลู ฟา เซ เย ตี 0 หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี 0 ทอ ลา ทอ ลา 0 ตี ลี นี 0 สิด ฮู ลา เย 0 เจ ลา เจ
ลา 0 มอ มอ ฮัว มอ ลา 0 หมก ตี ลี 0 อี ซี อี ซี 0 สิด นอ สิด นอ 0 ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี 0
ฮัว ซอ ฮัว ซัน 0 ฮู ลา เซ เย 0 ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา 0 ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี 0ซอ ลา ซอ ลา 0 สิด ลี สิด ลี 0 ซู ลู ซู ลู 0 ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย 0 ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย 0 มี ตี ลี เย 0 นอ ลา กิน ซี 0 ตี ลี สิด นี นอ 0 ผ่อ เย
มอ นอ 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ทอ ยี อี 0 สิด พัน ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นอ ลา กิน ซี 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 มอ ลา นอ ลา 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ลา เซง ออ หมก เค เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ0 เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย 0 นำ มอ ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิต ตี 0 ชอ พัน ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 งัน สิด ติน ตู 0 มัน ตอ ลา 0 ปัด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ
พระคาถามหากรุณาธรณีสูตร
(ภาษาสันสกฤต)
นโมรัตนตรายายะ นโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ
โพธิสัตตวายะ มหาสัตตวายะ มหาการุณิกายะ
โอมสะวะละวะติ ศุททะนะตัสยะ นมัสกฤตวานิมาง
อาระยะ อวโลกิเตศะวะระลันตะภา นโมนิลากันถะ
ศรีมหาปะฏะศะมิ สระวาทวะตะศุภัม อสิยูม
สะรวะสัตตวะ นโมปวสัตตวะ นโมภะคะมะภะเตตุ
ตัทยะถา โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อีศีลี
มหาโพธิสัตตวะ สาโพสาโพ มะรามะรา
มะศิมะศิ ฤธะยุ คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ
มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ
ชะละชะละ มามะภามะละ มุธิริ เอหิเอหิ
ศินะศินะ อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน
การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี สะระสะระ
สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ
ไมตรีเย นิละกันสะตะ ตริสะระณะ ภะยะมะนะ
สวาหา สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา สีตายเย
ศะวะรายะ สวาหา นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ
สวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะมหาอัสตายะ
สวาหา จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา
นีละกันเตบันตะลายะ สวาหา โมโผลิศังกะรายะ สวาหา
นโมรัตนตรายายะ นโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ สวาหา
โอมสิทธยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กล่าวไว้ว่า หากสรรพสัตว์ สวดพระคาถาบทนี้ ด้วยจิตตั้งมั่นแล้ว ขอพรในชาตินี้ หากไม่สมพรดังที่ขอไว้ เราจะไม่ขอ บรรลุเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่าลืมว่าการขอพรต้องเป็นไปในทางเกิดกุศลผลบุญที่สุด เพื่อจะได้ไม่เกิดกิเลสใน รัก โลภ โกรธ หลง ค่ะ)
พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร
(ภาษาธิเบต)
นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นา.มา.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา./โบ.ธิ.สัต.โต.ยา./ ม.หา.สัต.โต.ยา./ ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ./
โอม**สา.วา.ลา.วา.ติ /ศุ.ดา.นา.ตา.เซ. น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา./ น.โม.นี.ลา.เกน.ถา./
ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ./ สวา.โต.ตา.ศุ.บัม./ อะ.ศี.ยัม./ สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา./ มา.บา.เต.ตุ /ตา ยา.ถา./
โอม**อ.วา.โล.กา./ โล.กา.เต./ กา.ลา.ติ./ อี.ศี.รี./ ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต./ สา.โบ.สา.โบ./ มา.รา.มา.รา./ มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ./
คู.รู.คู.รู.คา.มัม./ ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ ./ ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ./ ดา.รา.ดา.รา./ ดิ.ริ .ณี. /โซว์.รา.ยา./ จา.ลา.จา.ลา./ มา.มา.บา.มา.รา.
/ มุ.ดิ.ลิ. / เอ.ฮา.ยา.เฮ./ ศิ.นา.ศิ.นา./ อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี. /บา.ศา.บา.ศิน. /บา.รา.ศา.ยา./ ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา./ ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี./
สา.รา.สา.รา./ สิ. รี. สิ. รี./ สุ. รู. สุ. รู. /บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ./ โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ./ ไม.ตรี.เย./ นี.ลา.เกน.ถา./ ตริ.ศา.รา.นา./
บา.ยา.มา.นา./ โซ. ฮา./ สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา./ ม.หา.สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา/สิ.ตา.ยา.เย./ โซว์.รา.ยา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.เกน.ถา./ โซ. ฮา.
/ นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ./ โซ. ฮา./ โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นะ.มา.อา.รยา./ อ. วา.โล.กิ.เต.
/ โซว์.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ โอม**สิท.ธริน.ตุ./ มัน.ตา.รา./ ปา.ตา.เย./ โซ. ฮา//***
บรรยายพระคาถามนต์มหากรุณาธารณีสูตร
พระคาถามนต์มหากรุณา เป็นมนต์พระคาถาอันเกิดจากความเมตตากรุณาอันใหญ่ยิ่ง รวมทั้งความโปรดโลกโปรดสัตว์ ปฏิบัติธรรมบรรลุพระพุทธภูมิ ที่สำคัญอย่างยิ่งยอด อักษรหนึ่ง และประโยคหนึ่งในธารณีนี้ล้วนเป็นสัจธรรมที่จะเข้าถึงสัมมาสัมพุทธญาณ
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า หากว่าเหล่ามนุษย์และทวยเทพตั้งจิตสวดนามเรา พร้อมด้วยสวดนามพระอมิตาพุทธเจ้า แล้วสวดพระธารณีนี้คืนละ 5 จบ ก็จะดับ มหันตโทษจำนวน ร้อยพันหมื่นล้านกลับได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณานี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ จะยื่นพระกรมารับแล้วให้ไปจุติ ในพุทธเกษตรทุกแห่ง และจะเกิดโดยประกอบกุศล 15 ประการ ไม่ต้องด้วยทุมรณะ 15 ประการ คือ เกิดประกอบด้วยกุศล 15 ประการ คือ
1. ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล 5
2. เกิดในประเทศกุศล
3. พบแต่ยามดี
4. พบแต่มิตรดี
5. ร่างกายประกอบด้วยอินทรีพร้อมมูล
6. จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
7. ไม่ผิดศีล
8. ญาติบริวารมีความกตัญญู ปรองดองกัน สามัคคีกัน
9. ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์ มีสมบูรณ์ครบถ้วน
10. มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
11. ทรัพย์สินที่มีอยู่ ไม่มีใครมาปล้นชิง
12. คิดต้องการอะไร จะได้สมปรารถนา
13. ทวย เทพ นาค ให้ความปกปักษ์รักษาอยู่เสมอ
14. เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์
15. พระธรรมที่ได้ฟัง สามารถเข้าถึงแก่นสาร
ด้วยเหตุนี้ มหากรุณามนต์ ไม่เพียงแต่กำจัดภยันตรายและโรคภัยต่างๆ ดังกล่าวได้ ยังให้ความสำเร็จแก่การกุศลกรรมทุกสิ่งอย่าง พ้นจากความหวั่นกลัว ฉะนั้น เราจึงต้องสวดท่องด้วยความศรัทธาและจิตใจสะอาด จึงสามารถท่องด้วยมหากรุณาจิตของท่านพระโพธิสัตว์ หมั่นสวดเสมอ สามารถรักษาโรคทางใจและทาง กายได้ ยังสามารถให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้จากประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
มนต์มหากรุณาธารณีสูตร เป็นมนต์ศักดิ์สิทธิ์ทรงพลานุภาพอย่างยิ่ง พระภิกษุจีนเวลาจะทำน้ำมนต์หรือประกอบพิธีสำคัญก็ใช้มนต์บทนี้ ตามความประสงค์ ของผู้สวด เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว ป้องกันอัปมงคลทั้งหลายเข้าบ้านและยังป้องกันคุณไสยต่าง ๆ ด้วย มนต์บทนี้ผูกเป็นคาถา 84 ประโยค เป็นพระนามของพระแม่กวนอิม 84 ปาง
โพธิสัตว์กวนอิมอวตาร 84 ปาง ที่ควรทราบได้รวบรวมนำเสนอให้ทุกคนได้ศึกษาดังนี้
ภาพสัญลักษณ์แห่งพระมหาเมตตากรุณาแห่งองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ 84 ปาง เป็นภาพในการเสด็จมาโปรดสรรพสัตว์และการออกเสียงใต้ภาพ เป็นภาษาจีน ตัวอย่าง เช่น นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย (เสียงจีน) และ นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.(เสียงธิเบต) เป็นต้น
ปางที่ 1
นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.
นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
Na Mo He La Da Na Duo La Ye Ye
ภาคนิรมาณกาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงถือลูกประคำ ออกมาคอยสังเกตดูเหตุการณ์ เพื่อหาช่องทางช่วยเหลือบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย ผู้ที่สวดมนต์ ปฏิบัติด้วยความเคารพ
ศรัทธาโดยแท้จริง
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง การนอบน้อมระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ
คำว่า ฮอลาตัน หมายถึง รัตนะ (การกราบไหว้บูชารัตนะให้เป็นที่พึ่ง)
คำว่า ตอลาเหย่ หมายถึง สาม
คำว่า เย หมายถึง นมัสการ (นอบนมัสการไตรรัตนะ ให้ครบทุกทิศ ทั้งสามภพนี้)
อรรถาธิบาย
ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม (พระไตรลักษณ์และไตรสรณะ) พระโพธิสัตว์ขอให้เราน้อมนอบถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งระลึกถึงแล้วบรรลุ
แจ้งชัดในจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน ทางที่จะสำเร็จ การปฏิบัติให้ถึงพระองค์จะต้องสวดมนต์พระคาถาด้วยความมีเมตตากรุณา และศรัทธา ไม่ควรสวดเสียงดัง
เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน ให้สวดช้าๆ
ปางที่ 2
นา.มา.อา.รยา.
นำ มอ ออ ลี เย
Na Mo Ou Li Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เป็นรูปพระองค์ทรงถือพระธรรมจักร ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติตามด้วยความเคารพ
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง การนอบน้อมรำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ
คำว่า ออลี หมายถึง องค์พระอริยะเจ้า
คำว่า เย หมายถึง การกราบไหว้บูชานมัสการ ขอนอบน้อมพึ่งพิงองค์พระอริยะเจ้า
อรรถาธิบาย
ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะเจ้า ซึ่งเป็นผู้ละบาปและอกุศลกรรมลงได้แล้ว พระโพธิสัตว์ทรงเน้นเรื่องปฏิบัติทางจิตให้ถูกต้องเพื่อให้เป็นรากฐานอัน สำคัญ
ต้องแจ้งชัดในจิต รู้สภาวะแห่งตนได้แล้ว ก็จะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เข้าสู่พระนิพพาน
ปางที่ 3
อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา.
ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
Po Luo Jie Di Shuo Bo La Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ปางอุ้มบาตร เพื่อออกโปรดสัตว์ทั้งสามโลก ผู้ปฎิบัติจงเพ่งให้เห็นพระองค์ท่าน ก็สามารถให้สรรพสัตว์ได้มีอายุยืนยาวนาน
ความหมาย
คำว่า ผ่อลูกิดตี หมายถึง การเพ่งแสงสว่าง เพื่อพิจารณาในสิ่งต่างๆ เพื่อโปรดช่วยเหลือ
คำว่า ชอปอลา หมายถึง เสียงของโลกทั้งหลายให้เป็นอิสระ
คำว่า เย หมายถึง นอบน้อมนมัสการพึ่งพิง ,ขอคารวะพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
ขอคารวะองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ องค์พระโพธิสัตว์ทรงสงสารความทุกข์ของคน ซึ่งเกิดจากความหลงลืมขาดสติและลืมตัว ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเวียนวายตายเกิด
ยึดติดกับอินทรีทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผู้ปฏิบัติต้องปิดทวารทั้ง 6 แล้วมี ศีล สมาธิ ปัญญา หันมาปฏิบัติพระกรรมฐานและสมาธิ ไม่หันเหจิตไปตามวิสัยของ
โลกที่มากระทบ
ปางที่ 4
โบ.ธิ.สัต.โต.ยา.
ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
Pu Ti Sa Duo Po Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปพระอมงบาศโพธิสัตว์ กำลังโปรดสัตว์โพธิสัตว์
ความหมาย
คำว่า ผู่ที (โพธิ ) หมายถึง ผู้ที่ได้ตรัสรู้ รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นำเอามาสั่งสอนปวงชนต่อไป
คำว่า สัตตอ หมายถึง ผู้มีชีวิตและอารมณ์ภายในจิตใจที่ใสสะอาด (ปราศจากราคีทั้งปวง)
คำว่า ผ่อเย หมายถึง ควรน้อมคารวะ ทั้งในพระธรรมและผู้ที่ตรัสรู้ทุกพระองค์
อรรถาธิบาย
หากมุ่งมั่นฝักใฝ่อยู่ในธรรมด้วยความตั้งใจอย่างลึกซึ้ง หมั่นระลึกให้ชัดแจ้ง น้อมนอบคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้ แก่ทุกชีวิต
พระองศ์ทรงตักเตือนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก ตื่นจากความหลับ (อวิชชา มัวเมาในกามคุณ 5) โดยเร็ว หันมาให้ปฏิบัติมหาธรรมมรรค อันเป็นเส้นทางสู่ธารณี หาก
ได้ตั้งใจในธรรม หมั่นระลึกแจ้งในสภาวะดั้งเดิม ก็จะหลุดพ้นได้โดยง่าย
ปางที่ 5
ม.หา.สัต.โต.ยา
หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
Mo He Sa Duo Po Ye
ภาคนิรมาณกาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปกำลังสวดพระคาถาทรงประทับนั่งอยู่บนแท่นดอกบัวดอกใหญ่ หากปฏิบัติตามพระคาถานี้ ย่อมหลุดพ้นทุกข์
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอ แปลว่า ใหญ่มาก (ความยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดจะเทียบได้)
คำว่า สัตตอ แปลว่า ผู้กล้าหาญ (บรรดาสัตว์โลกผู้ที่มีความกล้าหาญทั้งปวง)
คำว่า ผ่อเย แปลว่า ควรคารวะต่อผู้มีความกล้าหาญ
อรรถาธิบาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ทรงประกาศพรพระธารณีสูตรให้นำไปปฏิบัติ สัตว์โลกหลงในอินทรี 6 และอารมณ์ ถ้าหากยึดเหนี่ยวมุ่งมั่นในอนุตรมรรค มีการปฏิบัติธรรม
จะสามารถบุกน้ำข้ามทะเลแห่งห้วงทุกข์นี้ไปได้ และเป็นสุขชั่วนิรันดร์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ปางที่ 6
ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ.
หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
Mo He Jia Lu Ni Jia Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอัศวโฆษโพธิสัตว์ ซึ่งตรัสรู้อนุตตรธรรมด้วยตนเอง คือ ตรัสรู้เอง หลุดพ้นได้ด้วยพระองค์เอง ทั้งยังโปรดผู้อื่นให้เห็นแจ้งในอนุตตรธรรมนั้นด้วย
และเมื่อผู้นั้นรู้แจ้งแล้วยังโปรดผู้อื่น
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอ แปลว่า ใหญ่มาก
คำว่า เกียลู แปลว่า กรุณา
คำว่า หนี่เกีย แปลว่า ดวงจิต
คำว่า เย แปลว่า คารวะ (ควรคารวะต่อผู้ที่มีมหากรุณาในดวงจิต)
อรรถาธิบาย
ควรคารวะต่อผู้มีมหากรุณาอยู่ในดวงจิต เตือนให้ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยวางจิตและกาย หลีกพ้นจากภาพลวงทั้งหลาย ไม่มีลักษณะแห่งมนุษย์ ไม่มีลักษณะแห่งตน บุคคล
เรา-เขา จิตใจผ่องใสลดความโลภของตน ผู้ปฏิบัติต้องสามารถปล่อยวาง ลืม อารมณ์ต่างๆได้ ปฏิบัติอยู่ต่อเนื่องกัน ข้ามไปถึงฝั่งหลุดพ้นได้
ปางที่ 7
โอม
งัน
An
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปราชาแห่งเทพทั้งปวง จะต้องพนมมือฟังพระคาถาบทนี้ เทพเจ้าทุกชั้น พุทธเจ้าทุกองค์ล้วนเพ่งคำนี้และบรรลุสัมมาสัมพุทธิ
ความหมาย
คำว่า งัน แปลว่า นอบน้อม (การนอบน้อมพระโพธิสัตว์กวนอิม ทรงเป็นพระมารดาแห่งธารณีทั้งปวง) เป็นฐานสภาวะดั้งเดิมของมนุษย์ และยังมีความหมายว่าบูชา
ถวาย, ปลุกให้ตื่น, ฝึก, ธรรมกาย, นิรมาณกาย, สัมโภคกาย
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์นำสัจธรรมอันเป็นจุดศูนย์รวมที่แท้จริง ในพระเมตตากรุณาเพื่อจะปลุกให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้กลับฟื้นคืนสภาวะเดิม ที่มีอยู่ ถ้าชาวโลกถือ
สัจธรรมนี้ ทวยเทพและภูตผีปีศาจ จะพนมมือคารวะและปกปักษ์รักษา พ้นจากอันตราย สำเร็จในมรรคผล แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งมั่นอยู่ในศีล และต้องมีความสมบูรณ์
ในบุญวาสนา ประกาศพระธรรมอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลก จึงจะได้ผล
ปางที่ 8
สา.วา.ลา.วา.ติ
สัต พัน ลา ฮัว อี
Sa Bo La Fa Yi
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นท่านท้าวจตุโลกบาลและองค์เทพราช เพื่อโปรดพวกมาร ด้วยพระบารมี 6 อย่าง
ความหมาย
คำว่า สัตพันลา แปลว่า อิสระ
คำว่า ฮัวอี แปลว่า องค์พระอริยะเจ้า
อรรถาธิบาย
องค์อริยะเจ้าทรงเป็นผู้ได้รับความเป็นอิสระ พระองค์ท่านมีใจกายสะอาด เหล่ามารทั้งปวงจะเข้ามาทำร้ายไม่ได้ ท่านใดหวังจะให้ใจกายบริสุทธิ์ ต้องตั้งใจอยู่ในสัจธรรม
ปฏิบัติตั้งมั่นอยู่ในศีล พระโพธิสัตว์ ต้องการสอนให้ผู้ปฏิบัติทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แก้ความผิดมาเป็นกุศลกรรม เป็นทางที่จะเข้าถึงวิสุทธิมรรค ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องกวาดล้าง
ความโลภทางกายใจให้หมดสิ้น จึงจะเกิดเป็นปัญญาได้โดยง่ายและได้รับการคุ้มครองจาก ท่านท้าวจตุโลกบาลและเทพไท เทวาธิราช
ปางที่ 9
ศุ.ดา.นา.ตา.เซ.
ซู ตัน นอ ตัน เซ
Su Da Na Da Xia
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นท่านท้าวจตุโลกบาลและองค์เทพราช พร้อมทั้งองค์เทพทั่วไปเสด็จพร้อมด้วยเทพและภูตผีปีศาจบริวาร ในใต้บังคับบัญชา
เพื่อชี้หนทางให้มนุษย์เลิกทำบาปหันไปทำกรรมดี
ความหมาย
คำว่า ซูตันนอตันแซ หมายถึง การปฏิบัติธรรม ต้องถือความสัตย์เป็นรากและพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เห็นความจริงแห่งบรรลุสู่อริยสัจ
อรรถาธิบาย
พระอริยเจ้าท้าวจตุโลกบาล ทรงถือว่าสัจจะเป็นฐานสำคัญ เพื่อช่วยเพิ่มพลังบารมี ได้ทรงใช้ความอภินิหารด้วยบารมีคุ้มครอง และทรงตักเตือนมวลมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งตรง
ไปในการปฏิบัติธรรม พยายามกำจัดความเคยชินต่อการทำบาป ให้หายไปจากสันดาน ในสัจจะนั้นจะไม่มีการหลอกลวง เมื่อเข้าใจ ก็จะเห็นความปลอดโปร่ง เมื่อจิต
ปลอดโปร่งก็จะเกิดเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีการกลับกลายไปในทางที่ดีงาม
ปางที่ 10
น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา.
นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
Na Mo Xi Ji Lie Duo Yi Mong Ou Li Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปพระนาคารชุนโพธิสัตว์ เป็นผู้ควบคุมและคุ้มครองผู้ปฏิบัติ ธรรมอย่างแท้จริง และปราบปรามเหล่ามาร (ศัตรูคู่อริ)
ให้พินาศสิ้นสมดังมุ่งหวัง
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง นอบน้อม
คำว่า สิดกิดลีตออีหม่ง หมายถึง ท่านใดสามารถปฏิบัติธรรมได้ ย่อมได้รับการคุ้มครองจากพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์
คำว่า ออลีเย หมายถึง การปฏิบัติธรรม จงอย่ารีบร้อนเพื่อให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปได้ยาก
อรรถาธิบาย
ควรที่จะน้อมนอบคารวะต่อองค์พระอริยะเจ้า ผู้ปฏิบัติต้องมีความพากเพียร มีมานะพยายาม มีจิตใจมั่นคง อย่าเร่งรีบในการปฏิบัติ ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองศ์แห่ง
พระคัมภีร์ ด้วยจิตที่เป็นหนึ่งเดียว หมั่นเพียรในการปฏิบัติตามหลักธรรม เมื่อคิดจะข้ามพ้นจากโลกีย์วิสัยคือห้วงแห่งโอฆะ ควรปฏิบัติให้ถูกวิธี คิดจะทำประโยชน์แก่
สรรพชีวิต เช่นนี้ ก็จะมีโพธิสัตว์วัชรธร คอยปกปักษ์รักษาการกระทำไม่มีขัดข้องในทุกๆ กรณี มีความสะดวกเหมาะสมความปรารถนาทุกประการ
ปางที่ 11
อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา.
ผ่อ ลู กิต ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
Po Lu Jie Di Shi Fu La Leng Tuo Po
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นองค์พระสัมโภคกาย แห่งองค์พระไวโรจนะพุทธเจ้า อันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพื่อลงมาโปรดสัตว์ใน
จำนวนที่เป็นอมิต
ความหมาย
คำว่า ผ่อลูกิตตี แปลว่า ธรรมกับจิต ธรรมกับจิต ต้องประสานกันเป็นหนึ่งอันเดียวกัน
คำว่า สิดฮูลา แปลว่า ท่องเที่ยวไปในแดนไกล ตามจิตมุ่งหวังอย่างอิสระ
คำว่า เลงถ่อพอ แปลว่า เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องจงใจมุ่งก้าวหน้าไป ในการนั่งเพ่งกษิณสมาธิจิต เป็นการอบรมฝึกฝนจิต ให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว เวลาปฏิบัติ
ต้องนั่งตัวตรง เพื่อควบคุมจิตให้มีสมาธิได้ดียิ่งขึ้น ก็จะได้พบแสงสว่างอันสมบูรณ์ ศัตรูหมู่มารไม่สามารถมารบกวนได้ จะพบความสำเร็จทุกสิ่งดังประสงค์มุ่งมาด
ปรารถนา
ปางที่ 12
น.โม.นี.ลา.เกน.ถา.
นำ มอ นอ ลา กิน ซี
Na Mo No La Jin Chi
ภาคนิรมาณกาย
องค์