สงครามครูเสด (Crusade War) ถือเป็น สงครามศาสนา อันยาวนาน
ระหว่างกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์ กับประเทศกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม
เริ่มขึ้นและจบลงในสมัยที่ชาวยุโรปเรียกกันว่ายุคกลาง
อันเป็นยุคที่ศาสนาคริสต์มีบทบาทกับชีวิต ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนชาติในยุโรปเกือบทุก ๆ ชาติ ที่ขณะนั้นมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 80 เชื้อชาติ และมีรัฐเล็กรัฐน้อยอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 รัฐ สงครามเกิดขึ้น 8 ครั้งด้วยกันในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13
กินเวลา 200 ปี
ครั้งที่ 1 ระหว่างปี 1095 - 1101
ครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1147 - 1149
ครั้งที่ 3 ระหว่างปี 1188 - 1192
ครั้งที่ 4 ระหว่างปี 1201 - 1204
ครั้งที่ 5 ระหว่างปี 1217 - 1221
ครั้งที่ 6 ระหว่างปี 1228 - 1229
ครั้งที่ 7 ระหว่างปี 1248 - 1254
ครั้งที่ 8 ระหว่างปี 1270
สาเหตุเนื่องมาจาก
ทั้งชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม ต่างยึดถือ
บัยตุลมักดิศ หรือ วิหารแห่งเมืองเยรูซาเลม เป็นศาสนสถานสำคัญ
แต่ช่วงนั้นเยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม
แม้ทุกฝ่ายจะได้รับเสรีภาพให้ไปแสวงบุญยังศาสนสถาน แต่ความเชื่อพื้นฐาน
และวิถีปฏิบัติในการบูชาที่ต่างกัน ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกันเนือง ๆ
นักบวชชาวคริสต์จึงเริ่มรณรงค์ให้รัฐต่าง ๆ ในยุโรปต่อต้านชาวมุสลิม
เมื่อการรณรงค์โดยใช้สัญลักษณ์ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ประสบความสำเร็จ
กระแสสงครามก็เริ่มต้นขึ้น
พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 แห่งกรุงโรม รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ 50,000 คน
เดินทางไปยังนครเยรูซาเลมในปี 1095 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
หรือนัยหนึ่งสงครามระหว่างจันทร์เสี้ยวกับไม้กางเขน
ชาวคริสต์ใช้ไม่กางเขนเป็นสัญลักษณ์แขวนไว้ที่คอ และ/หรือเป็นสัญลักษณ์ ส่วนชาวมุสลิมใช้สัญลักษณ์จันทร์เสี้ยว !
อันมีที่มาจากปฏิทินอิสลาม อันเป็นปฏิทินทางจันทรคติที่อาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนดเดือน ดวงจันทร์แรกที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเดือนเรียกว่าจันทร์เสี้ยว หรือ ฮิลาล นั่นเอง
ปฏิบัติการสงครามครั้งแรกยังไม่ได้รับความสนับสนุนจากอาณาจักรโรมันตะวันออกที่มีนครคอนสแตนติโนเปิ้ลเป็นราชธานี จึงไม่ประสบผลสำเร็จ
และสงครามครั้งที่ 2 จนถึงครั้งที่ 8 ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน
เพราะล้วนแต่ขาดเอกภาพในการนำระหว่างทหารชาวยุโรปจากหลาย ๆ อาณาจักร
ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน อิตาลีสลาฟ และสเปน ทำให้ไม่สามารถโจมตี
และยึดกรุงเยรูซาเลมได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน และทุก ๆ ครั้งเมื่อไม่มีการส่งกำลัง
บำรุงที่เพียงพอ กองทัพครูเสดของชาวยุโรปก็ถอยทัพกลับ
ในที่สุดชาวยุโรปก็เลิกล้มความพยายามที่จะรบกับกองทัพมุสลิมในเอสเชียไมเนอร์ และแอฟริกาเหนืออีก เมื่อเสร็จสงครามครั้งที่ 8
ผลทางการเมืองของสงครามครูเสดที่เกิดขึ้นแก่ยุโรปนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง
ที่ผลักดันวิวัฒนาการของสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่ ดังพอประมวลได้ดังนี้
1. เพื่อที่จะหารายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในสงคราม เจ้าศักดินา (Feudal Lord)
ในยุโรปยุคกลาง โดยเฉพาะในฝรั่งเศส และอิตาลี จำเป็นต้องขายทรัพย์สิน
ไปเป็นจำนวนไม่น้อย เป็นผลต่อเนื่องทำให้โครงสร้างระบบสังคมศักดา (Feudalism)
ต้องล่มสลายลง
2. กษัตริย์อังกฤษเข้าร่วมสงครามด้วยตนเองแทนที่จะเป็นเรื่องของ Feudal Lord
เท่านั้น อำนาจและอิทธิพลของกษัตริย์จึงได้รับผลสะเทือนโดยตรง
ก่อให้เกิดการวางระเบียบและกฎเกณฑ์ในการบริหารประเทศมากขึ้น
เป็นรากฐานที่ดีสำหรับการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นกลางในเวลาต่อมา
3. ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเกิดขึ้น
ส่งผลให้ยุโรปเจริญทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นหลังผ่านพ้นยุคสงคราม
4. เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการทุกแขนง
ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก
5. เกิดความพยายามทำความเข้าใจกันระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมากขึ้น
หลังวันที่ 11 กันยายน 2001 โลกไม่สบายใจ
เมื่อจอร์จ ดับบเลยู บุชเอ่ยคำว่า ครูเสด ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อกล่าวถึงปฏิบัติการต่อต้านขบวนก่อการร้าย รวมทั้งการขนาน
Operation Infinite Justice ก็ได้รับการท้วงติงว่าเป็นการใช้ถ้อยคำจากคัมภีร์ไบเบิ้ล
อาจเป็นชนวนสงครามศาสนายุคใหม่ขึ้นมาได้ เพราะในทัศนะของชาวมุสลิม
มีแต่พระอัลเลาะห์เจ้าเท่านั้นที่จะประทาน Infinite Justice ได้
ในที่สุดจึงต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Operation Enduring Freedom !
Credit:
google.com