พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน

พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน

 

ศาสตราจารย์ เอ็ดการ์ด เดวิดสัน คองดอน

ตัวพิพิธภัณฑ์อยู่ภายในตึกกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

บริเวณโถงทางเดินจะเข้าส่วนพิพิธภัณฑ์ ดูสภาพบรรยากาศเริ่มน่ากลัวแล้ว

ดองศพในโลงพลาสติกใส แสดงการผ่าตัดศพออกให้เห็นอวัยวะภายใน

โครงกระดูกเด็กทารก

โครงกระดูกขนาดต่างๆกันตามช่วงอายุ

แสดงโครงร่างแหเส้นประสาททั่วร่างกายทั้งหมด เห็นแล้วอันนี้น่ากลัวมาก

หัวกระโหลก แสดงเกี่ยวกับฟันของมนุษย์

ตู้จัดแสดงส่วนตัดร่างกาย อวัยวะดอง ทารกดอง

บรรยากาศภาพมุมกว้าง

 

พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ เมื่อทางมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ได้ส่งศาสตราจารย์ เอ็ดการ์ด เดวิดสัน คองดอน(Edgar Davidson Congdon) มาสอนวิทยาการแพทย์ตะวันตกให้กับนักศึกษา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นมีการเก็บสะสมรวมทั้งจัดทำสิ่งแสดงทางกายวิภาคศาสตร์ (specimen) มาเรื่อยๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2491

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ห้องใหญ่ คือ ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป และห้องกระดูก ซึ่งจัดแสดงอวัยวะต่าง ๆ มากกว่า 1,000 ชิ้น ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปประกอบด้วยตู้จัดแสดงอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษต่าง ๆ เช่น หู ตา จมูก ลิ้น แสดงระบบหลอดเลือด หัวใจ ระบบประสาท รวมไปถึงการเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ ของระบบดังกล่าว ซึ่งเราจะเห็นระบบเส้นประสาททุก ๆ เส้นที่อยู่ภายในร่างกาย ระบบหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก วิวัฒนาการเติบโตของเด็กในครรภ์ตั้งแต่อายุไม่เกิน 8 สัปดาห์ จนครบกำหนดคลอด นอกจากนี้ยังแสดงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ หลอดน้ำเหลือง และระบบต่อมไร้ท่อ อีกทั้งยังมีฝาแฝดติดกันในลักษณะต่าง ๆ

ส่วนที่สองคือ ห้องกระดูก จัดแสดงกระดูกและข้อต่อทุกชิ้นในร่างกาย สิ่งแสดงส่วนใหญ่ชำแหละมาจากอาจารย์ใหญ่ซึ่งได้จากการบริจาค และยังมีหุ่นจำลอง ภาพเขียนรูปภาพและพลาสติก แต่จริงๆ แล้วตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ ร่างกายและอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าต่อวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างยิ่ง โครงกระดูกของบุคคลสำคัญ เช่น พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนชีวะ) ซึ่งเป็นคนนำคำว่า “สวัสดี”มาให้คนไทยใช้ และบุคคลแรกที่อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาโครงกระดูกของศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ผู้นำความเจริญมาสู่กายวิภาคศาสตร์

 

ปล.เปิดจันทร์ - เสาร์ 9.00 - 16.00 น.ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

Credit: www.google.com
20 ส.ค. 53 เวลา 23:52 9,414 4 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...