เครื่องทอง สมัยอยุทธยา

 

พุทธศักราช 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก เมื่อข้าศึกเข้ากรุงได้แล้ว จุดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือน วัดวาอาราม และปราสาทราชมณเฑียรแสงเพลิงสว่างดั่งกลางวัน บ้านเมืองพินาศสิ้น พม่าได้พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังและสิ่งของทองเงินต่าง ๆ ไปมากมาย ที่ยักย้ายทรัพย์สินฝังดินซ่อนไว้คงมีบ้าง พม่าจัดแจงเก็บรวบรวมทรัพย์ทั้งขุดทั้งเผาเอาสมบัติไปไว้ทุกทัพทุกค่าย ใช้เวลาถึง 10 วัน ในจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศบอกว่ามีเศษทองหล่นเกลื่อนกลาดไปหมดตามถนนหน ทางทั้งกรุงศรีอยุธยา
ความจริงก่อนหน้ากรุงศรีอยุธยาจะแตก กองทัพจีนซึ่งตั้งค่ายรบพม่าอยู่ ณ คลองสวนพลูนั้น พวกจีนคบคิดกันประมาณ 300 คนเศษ ชวนกันขึ้นไปทำลายมณฑปพระพุทธบาท เลิกเอาแผ่นเงินที่คาดพื้นและทองคำซึ่งแผ่หุ้มพระมณฑปอยู่นั้นเอาไปสิ้น แล้วเอาเพลิงเผาประมณฑปใหญ่เสีย ซึ่งจะเห็นว่าสมบัติอันมีค่าของกรุงศรีอยุธยาเริ่มถูกทำลายและสูญสิ้นในเวลา ต่อมาด้วยเหตุต่าง ๆ

เหตุการณ์ครั้งเสียกรุงนอกจากทำให้บ้านแตกสาแหรกขาดแล้ว ตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาก็กลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนพลเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ฝืดเคือง สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ บ้านเมืองไร้ชื่อแป ก็มีราษฎรบางพวกแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงปากท้องด้วยการเที่ยวขุดคุ้ยแสวงหา สมบัติมีค่าในเขตกรุงเก่าและตามวัดร้าง เนื่องจากเชื่อมั่นว่าคงมีเข้าของเดิมฝังซ่อนไว้ในที่ต่าง ๆ บ้าง ก่อนที่จะถูกพม่ากวาดต้อนไป จนในที่สุดก็ลามปามขุดหาเงินทองของมีค่าตามสถูปเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปขยายกว้างออกไปด้วย ประกอบกับวัตถุจำพวกโลหะต่าง ๆ เป็นของมีค่า มีชาวจีนมารับซื้อจนได้มีการตัดชิ้นส่วนของพระพุทธรูปและศาสนวัตถุสำริด บรรทุกสำเภาส่งไปจำหน่ายเมืองจีน


ยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนติดกัญชายาฝิ่น และการพนันมีเพิ่มมากขึ้นด้วยอิทธิพลจีน การลักขุดหาสมบัติมีค่าตามโบราณสถานก็เพิ่มขึ้นทุกที จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าถ้าไม่หาทางป้องกันก็นับวันจะยิ่งระบาดมากขึ้นแม้วัดที่มีพระสงฆ์ อยู่ก็ไม่ละเว้น จึงได้มีพระราชบัญญัติเป็นหมายประกาศเขตรังวัด ผู้ร้ายขุดวัด พ.ศ.2397 ขึ้น ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบวัดหรือในแต่ละชุมชนนั้นช่วยกันดูแลรักษาศาสน สถานของตนเอง โดยทรงเห็นว่า โบราณวัตถุสถานที่ก่อด้วยอิฐ ปูน ศิลา โดยใหญ่ก็ดีเล็กก็ดี ถึงจะคร่ำคร่าชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องประดับพระนครอยู่

ก่อน พ.ศ.2500 ประมาณ 30 ปี วัตถุประสงค์ของคนร้ายลักขุดโบราณสถานขยายกว้างออกไป กล่าวคือมิได้มุ่งหวังวัตถุที่เป็นเงินทองและของมีค่าอย่างเดียว แต่ต้องการพระเครื่อง พระบูชาเป็นหลักเพิ่มขึ้นมา เนื่องจากความนิยมในทางเครื่องรางของขลังเริ่มแพร่หลายและมีราคาสูงกว่า เป็นเหตุให้ต่อมาทุกบ้านทุกเมืองมีข่าวการลักขุดโบราณสถานทุกชนิดถี่ขึ้น และได้ข่าวว่ามีการได้สมบัติของมีค่าด้วย โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ เดิมก็ขุดหากันตามรอบนอกเกาะเมือง ต่อมาคนร้ายได้ข้ามเข้ามาขุดภายในตัวเกาะเมือง และในที่สุดก็รุกเข้ามาขุดถึงในกลางเมืองอันเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ จนโบราณสถานพังทลายไปเกือบทุกแห่ง ไปทางไหนก็จะเห็นเจดีย์ไส้ไหลทะลักทุกองค์ ที่สมบูรณ์ไม่มีสักองค์เดียวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่


ตำนานนักเลงขุดหาสมบัติที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ชื่อนายพร้อม เป็นนักขุดพระที่เก่งที่สุด รู้ว่าโบราณสถานแบบไหนขุดตรงไหนจึงจะพบสมบัติไม่เคยพลาด เล่ากันว่า เขามีลายแทงที่เก็บสมบัติโบราณหลายแห่งจึงได้เที่ยวตระเวนขุดทั่วไป เมื่อได้มาก็มอบให้เจ็กยี่ร้านขายทองดำเนินการหลอมภาชนะวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เอาแต่เนื้อทอง ทำให้เจ็กยี่ร่ำรวย ส่วนนายพร้อมตายก็เกือบไม่มีผ้าพันกาย นายพร้อมมีนิสัยสำมะเลเทเมาเป็นนักเลงหัวไม้ ต่อมาติดฝิ่นงอมแงมไม่มีสมบัติเหลือ จึงได้รวบรวมพรรคพวกเที่ยวขุดหาสมบัติจากกรุเจดีย์ต่าง ๆ และมาถูกผนังอิฐพังทับตายที่วัดมหาธาตุกรุงเก่า ( น.ส.พ. ข่าวภาพฉบับที่ 27 และสารเสรี ฉบับที่ 30 สิงหาคม 2499 ให้รายละเอียด


กรมศิลปากรรับผิดชอบการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานโดยเริ่มที่วัดมหาธาตุอันเป็น วัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่สร้างในสมัยขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.1917 ก่อนในต้นเดือน สิงหาคม 2499 และในวันที่ 25 สิงหาคม ก็ได้พบเครื่องทองที่ใต้ฐานเจดีย์ชั้นบนของซากพระปรางค์องค์ใหญ่จำนวน 20 รายการ ดังนี้

1. ปลาหินเขียนลายทอง 1 ตัว ( 2 ชิ้น )
2. ตลับสิงโตทองคำฝังทับทิมตัวใหญ่ 1 ตัว
3. ทองคำเป็นรูปโคมประดับทับทิม 4 ตัว
4. ผอบหินฝาทองคำ 1 ผอบ
5. ตลับสิงโตทองคำขนาดเล็ก 1 ตัว
6. ลูกคั่นทองคำ 10 ลูก
7. กาน้ำลายครามเล็กรูปเต่า 1 กา
8. โถปริลายคราม 1 โถ
9. ลูกประหล่ำทองคำ 12 ลูก
10. จุกฝาโถทองคำ 22 อัน
11. โถกระเบื้องเล็ก 1 โถ
12. ลูกพิกุลทองคำ 1 ลูก ( 2 ชิ้น )
13. ด้ามไม้ควักปูนแก้วผลึก 1 อัน
14. โถแก้ว 1 โถ
15. ตลับทองคำมีสายสร้อยร้อย 1 ตลับ
16. เสือแก้วผลึก 1 ตัว
17. กระปุกหินฝาประดับทอง 1 อัน
18. กาน้ำลายครามรูปปักเป้า 1 กา
19. หางปลาเป็นรูปทองคำ 1 หาง
20. ทองคำทำเป็นรูปสิ่งของ 1 ชิ้นเล็ก

สาเหตุที่ได้เกิดการปรับปรุงเมืองพระนครศรีอยุธยาขุดแต่งบูรณะโบราณสถานและ ขุดกรุพบสมบัติมีค่ามหาศาลของทางราชการคือ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเปิดสาขาพระคมนังคศิลาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เห็นบรรดาโบราณวัตถุสถานชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับ พ.ต. หลวงจบกระบวนยุทธ หัวหน้าสาขาพรรคมนังคศิลา และเป็น ส.ส. อยุธยา ได้กราบเรียนให้นายกรัฐมนตรีช่วยบูรณะเมืองประวัติศาสตร์ของชาติไว้ให้อนุชน รุ่นหลังได้ชื่นชมศึกษาด้วย ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้ตั้งคณะกรรมการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้นเมื่อวัน ที่ 4 กรกฎาคม 2499 และตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ในทันที

 

 

 

 

 

ต่อมาได้ขุดพบผอบศิลาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดสูงรวมตัวและฝาผอบ 1.05 เมตร กว้าง 0.32 เมตรสี่เหลี่ยม และได้นำขึ้นมาเปิดดู เมื่อ 30 กันยายน 2499 ปรากฏว่าภายในผอบศิลานั้นบรรจุเครื่องทองคำเต็มล้นพูนปากผอบ จำนวน 22 รายการ รวมเป็นทองคำหนัก 62 บาทเศษ ผนังข้างในผอบบุด้วยแผ่นทองคำโดยรอบ กลางผอบมีสถูปเจดีย์สวมครอบพระบรมสารีริกธาตุไว้รวบ 7 ชั้น

ชั้นที่ 1 เป็นพระสถูปทำด้วยชิน
ชั้นที่ 2 เป็นพระสถูปเงินมียอดนพศูล
ชั้นที่ 3 เป็นพระสถูปนากมียอดนราศูลฝังพลอย
ชั้นที่ 4 เป็นพระสถูปไม้สีดำยอดทองคำ
ชั้นที่ 5 เป็นพระสถูปไม้สีแดงยอดทองคำ มีทองคำเป็นปลอกรัด พระสถูปและฐานบุแผ่นทองคำ
ชั้นที่ 6 เป็นพระสถูปแก้ววางซ้อนกันเป็น 3 ชั้น คือชั้นล่างโตหน่อยเป็นแก้วโกเมน ชั้นกลางย่อมลงเป็นแก้วมรกต ชั้นยอดเล็กกว่าชั้นกลางเป็นทับทิม แล้วใช้ทองคำทำเป็นสาแหรกรัด ที่สายสาแหรกประดับมรกตเม็ดเล็ก ๆ ยอดสาแหรกติดมรกตทำเป็นลายแหลมอย่างยอดเจดีย์ ฐานรองพระสถูปแก้วเป็นทองคำมีพลอยสีต่าง ๆ วางเรียงรายไว้ 6 เม็ด
ชั้นที่ 7 เป็นตลับทองคำเล็ก ๆ เมื่อเปิดฝาออกก็มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในน้ำมันจันทน์ สัณฐานเป็นลักษณะคล้ายเกล็ดพิมเสนสีขาวเป็นรุ้งพราว ขนาดเท่า 1 ใน 3 ของเมล็ดข้าวสาร


อนึ่งโดยรอบผอบศิลาที่อยู่ในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุนั้น ก็บรรจุพระพุทธรูปสำริดบ้าง พระพิมพ์เนื้อชินบ้าง พระทองคำแผ่นบ้าง กระจายอยู่ทั่วไป แต่พระพิมพ์ชินผุเปื่อยเสีย 50% ด้วยเหตุที่แช่อยู่ในน้ำนานปี ที่สำคัญคือได้พระทองคำปั๊มนูนฝีมือช่างสมัยอู่ทองเป็นแผ่นหนาสูง 48 ซ.ม. องค์หนึ่งซึ่งถือเป็นศิลปวัตถุชิ้นเอก

นอกจากนี้ยังมีพระปรางค์ทิศอยู่ที่มุมกำแพงแก้วของพระปรางค์องค์ใหญ่ (ปรางค์ประธาน) อีก 4 องค์ กรมศิลปากรได้ขุดตามที่คนร้ายขุดได้พบผอบศิลาบรรจุพระธาตุของพระสาวกและภาย ในผอบมีพระพุทธรูปทองคำ พระพิมพ์แผ่นทองคำ แหวนพระพุทธรูปสำริด สถูปซ้อนกัน 3 ชั้น บรรจุตลับทองคำรักษาพระธาตุองค์หนึ่งขนาดเท่าครึ่งเมล็ดข้าวสาร สีดอกพิกุลแห้ง สัณฐานคล้ายผลยอ มีปุ่มขาวงอกอยู่ 2 - 3 ปุ่มด้วย

 

จากสาเหตุข่าวการขุดกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ หรือ กรุหลวงพะงั่ว ได้พบสมบัติมีค่าเป็นอันมาก หนังสือพิมพ์ลงข่าวทุกวันแรมเดือน และประชาชนก็สนใจติดตามข่าวอยู่เสมอ จึงเป็นมูลเหตุเร่งเร้าให้คนร้ายคิดเห็นเป็นตัวอย่าง และเชื่อมั่นว่าตามประปรางค์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญกษัตริย์สร้างทั้งสิ้นนั้นคงจะมีสิ่งของมีค่าอีกเป็น จำนวนมากแน่นอน จึงชิงขุดกรุพระปรางค์ทุกองค์และเจดีย์ใหญ่สำคัญทั่วไปหมดโดยที่ทางราชการ ไม่สามารถจะไปเฝ้าดูแลรักษาได้ อันทำให้กรมศิลปากรมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบาย กล่าวคือนอกจากทำหน้าที่ขุดแต่งบูรณะโบราณสถานตามหลักวิชาการแล้ว จะต้องรีบขุดค้นหาวัตถุโบราณตามรอยซากเจดีย์ที่คนร้ายเคยลักขุดไว้ ตลอดจนที่คนร้ายยังไม่ได้ขุดด้วย เพราะเหตุว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2500 ได้เกิดมีคนร้ายลักขุดกระพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ จึงเกรงว่าทางราชการจะถูกตำหนิปล่อยให้เหตุการณ์เกิดซ้ำอย่างวัดราชบูรณะอีก ซึ่งทรัพย์สมบัติของชาติถูกทำลายสูญหายยับเยินจึงได้ขออนุมัติขุดกรุ 5 แห่ง คือ วัดไชยวัฒนาราม วัดพระราม วัดพุทธไธศวรรย์ วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดสามวิหาร เพราะตระหนักว่าถ้าขืนหล่อยทิ้งไว้คนร้ายก็จะลักขุดเสียก่อนทุกแห่งไป หลักฐานข้อมูลทางโบราณคดีประวัติศาสตร์และสมบัติมีค่านานาชนิดก็จะพลอยสูญ สลายถูกทำลายหมดด้วยอย่างแน่นอน

 

19 ส.ค. 53 เวลา 22:04 14,715 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...