ตำนานคน ฅนคาราบาว เชิดชูนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ( ตอนจบ )


 

   คานธี
จิตใจดังขุนเขา ลึกลํ้าราวแม่คงคา 
เมตตาธรรมล้นฟ้า ร้อยรัดวิญญาประชาปวงชน 

ส่องนําใจร้อยล้าน กลายเป็นตํานานเล่าวน 
ติดตรึงในใจคน ทุกข์ท้อจงทนดังราชสี 

ประกาศคําสอน วิงวอนประชา 
อ่อนโยนด้วยรัก นําพาก้าวไป 

ใช้ความสงบ สยบความเคลื่อนไหว 
มรรคายิ่งใหญ่ แห่งอหิงสา 

เก็บความรุ่นร้อน แปรเป็นพลัง 
จิตใจอย่าพลั้ง ใช้กําลังกาย 

ร้อยพันแสนหมื่น อย่ากลืนอย่าหมาย 
แสนพันล้านพ่าย จิตใจเสรี 

ห่มห่อผ้าผืนขาว คํ้าไม้เท้า ก้าวย่างไป 
เย็นยํ่ากําปอกรอฝ้าย ปล่อยวางใจบริสุทธิ์ 

กําเนิดนี้เพื่อมวนชน กลางเวียงวังวนอมนุษย์ 
ขุนโจรกระชากฉุด แม้ชีพชนม์วายโลกไม่เคยลืม 

ห่มนอนความทุกข์ร้อน อาทรมวลชนที่คอย 
หมื่นพันเป็นร้อยล้าน ทุกข์ท้อมานานรอวันปลดปล่อย 

แอกยังคอยยึดรั้ง ดวงใจยังคงร้องไห้ 
ฝ่าฟันพายุร้าย ยิ้มรับความตายนํ้าใจมวนชน 

ถูกตีทนชํ้า รอวันนําชัย 
ถูกตีกี่ครั้ง ทนมันเรื่อยไป 

ถึงเลือดรินหลั่ง ไม่จางไม่หาย 
ชีวีนี้ให้ แด่ชาวโลกา 

ปล่อยวางอาวุธ ยุทโธคือใจ 
ดับความเลวร้าย สู้คมศาสตรา 

สองมือว่างเปล่า แห่งอหิงสา 
หัวใจหาญกล้า   มหาตมะคาน

 

โมหันดาส์ การามจันทร์ คานธี


มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (คุชราต;  Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี

ใน ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรบา ซึ่งอายุมากกว่าคานธีประมาณ 6 เดือน ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ คานธี มีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธีและกัสตูรบามีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่ง ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารกทำให้เหลือ 4 คน

ใน ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรก (ไม่นับคนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นปีที่ทางครองครัว ได้ส่งคานธีไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุรา และจะไม่ยุ่งเกี่ยวเกาะแกะกับสตรี เพื่อให้มารดาได้อุ่นใจ แล้วเดินทางไปอังกฤษ
 

เมื่อไปถึงอังกฤษ คานธีพบปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิตในอังกฤษ นั่นคือ วัฒนธรรม มารยาท สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในอังกฤษนั้นไม่เหมือนอินเดีย คานธีต้องระวังตนในเรื่องมารยาทซึ่งจะมาทำตามคนอินเดียเหมือนเดิมไม่ได้ คานธีต้องปรับตัวบุคลิกต่างๆให้เข้ากับคนอังกฤษให้ได้ และนอกจากนี้ อาหารในอังกฤษที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์นั้นในสมัยนั้นรสชาติจะจืดมาก จะกินเนื้อสัตว์ก็ไม่ควรเพราะได้ให้สัญญากับมารดาไว้แล้ว

ปัญหาด้านอาหารนั้นทุเลาลงเมื่อคานธีได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ และได้ซื้อหนังสือคู่มือสำหรับนักมังสวิรัติเข้า คานธีจึงได้มีวิธีรับประทานมังสวิรัติอย่างเป็นสุขในอังกฤษ ส่วนมารยาทและวัฒนธรรมก็ต้องค่อยๆปรับตัวไป และในที่สุด คานธีก็สำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเมื่อได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว คานธีก็เดินทางกลับสู่อินเดียใน ค.ศ. 1892 เพื่อประกอบอาชีพ

ในปีเดียวกันคานธีกลับมา ลูกคนที่สองของคานธีก็กำเนิดขึ้น แต่ในด้านอาชีพ แม้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประกอบอาชีพในช่วงแรกของคานธีนั้นประสบความยากลำบากตะกุกตะกัก แต่แล้ว ไม่นานต่อมา คานธีก็ได้งานชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้คานธี กลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา

   
งานนั้นคือ ให้ไปเป็นทนายว่าความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1893 คานธีได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยเมื่อเดินทางไปถึง คานธีได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปยังเมืองที่ลูกความต้องการ แต่ทว่า ผู้โดยสารชั้น First Class ที่ผิวขาว ไม่พอใจที่คนผิวคล้ำอย่างคานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขา จึงไปประท้วงบอกเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงเดินมาสั่งให้คานธีย้ายตู้โดยสารไปโดยสารตู้ของ Third Class (ชั้นไม่สะดวก ไม่หรูหรา แต่ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้งๆที่คานธีเสียเงินซื้อตั๋ว First Class มาอย่างถูกต้อง คานธีจึงปฏิเสธ ทำให้ความขัดแย้งในรถไฟชั้น First Class รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด คานธีก็ถูกเจ้าหน้าที่รุมทำร้าย และคานธีถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าที่ต่างอ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น

เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งเศร้ามากยิ่งขึ้นเมื่อรู้ว่าชาวผิวคล้ำเกือบทุกคนถูกเหยียดหยามจากชนผิวขาวในแอฟริกาใต้ นับแต่นั้น คานธีก็ได้เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้ และเมื่อคานธีรู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียใน ค.ศ. 1896 เพื่อพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่แอฟริกาใต้ และกลับสู่อินเดียใน ต้นปี ค.ศ. 1897 และใช้ชีวิตครอบครัวต่อจนมีลูกกับภรรยาต่ออีก 2 คน

ใน ค.ศ. 1901 คานธีเดินทางกลับอินเดียเพื่อกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้มาช่วยด้วย คานธีเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ต่อใน ค.ศ. 1902 แต่ว่า การต่อสู้ของคานธีเมื่อครั้งก่อนนั้นให้ผลไม่ดีเท่าไรนัก ดังนั้นในครั้งนี้ คานธีใช้วิธี "สัตยาเคราะห์" ซึ่งคือ การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมาก ทำให้คานธีรู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด จึงพบวิธีที่แน่นอนและได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม โดยคานธีได้อยู่เรียกร้องความยุติธรรมนี้จนถึง ค.ศ. 1914 ก็เดินทางออกจากแอฟริกาใต้

คายธีเดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ใน ค.ศ. 1915 คานธีตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตกดังที่เคย และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต และเมื่อเดินทางกลับมาถึง ชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับคานธีกลับบ้านอย่างล้นหลาม ไม่กี่วันต่อมา คานธีเดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และรพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า "มหาตมา" อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่งให้แก่คานธี เป็นคนแรก และหลังจากนั้น คานธี ได้เดินทางไปทั่วประเทศอินเดีย เพื่อจะได้ไปรู้เห็นความเป็นจริงในอินเดียอย่างรู้จริงเป็นเวลารวม 1 ปี


ค.ศ. 1916 คานธีเริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังที่สั่นประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt ซึ่งเป็นกฎหมายที่กดขี่ชาวอินเดีย คานธีจึงประกาศขอความร่วมมือว่าในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1919 ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน แล้วประชาชนเป็นล้านๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น สั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจน คานธีรู้สึกอัศจรรย์ แต่ไม่นานก็พบข้อเสียของการใช้วิธีสัตยาเคราะห์ กับสังคมขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย

ข้อเสียนั้นคือ มีบางแห่งที่บานปลายเกิดการต่อสู้ใช้กำลัง รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวคานธีไป แต่เมื่อคานธีถูกจับกุม เมืองต่างๆก็เกิดความเคียดแค้นและวุ่นวายจนเกือบกลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลังคานธีได้รับอิสระในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดบานปลายนี้ คานธีรู้สึกเสียใจมาก จึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วัน

แต่ในวันนั้นเอง เป็นวันนักขัตฤกษ์ของอินเดีย ประชาชนนับพันคนไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ แต่ว่า ในวันนั้น นายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ รู้สึกเคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษ จึงออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชนในชัลลียันวาลา ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟื้นตัว

  
การต่อสู้เพื่อคนอินเดียดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ใน ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธีถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนดเพราะเหตุผลทางสุขภาพใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธีก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขปัญหาการถือชนชั้นวรรณะในอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูกับมุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี และปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกดขี่จากต่างประเทศ

แต่ใน ค.ศ. 1930 คานธีหวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอันเร่าร้อน เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันที่ 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคนที่เต็มใจไปกับคานธี คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธีบอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ดังนั้น ในวันนั้น คานธีและประชาชนนับแสนได้ทำเกลือจากทะเลกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้

ทางการอังกฤษ ได้ดันทุรังจับกุมคานธีและประชาชนนับแสนคนในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทำให้จำนวนแรงงานอาชีพในอินเดียหายไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจและระบบบริหารงานของรัฐบาลอังกฤษเกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งต้องปล่อยตัวประชาชนออกมาเรื่อยๆ และรัฐบาลอังกฤษได้ปล่อยตัวคานธีใน ค.ศ. 1931 และในปีนั้น คานธีถูกเชิญตัวไปร่วมประชุมหารือกับรัฐบาลอังกฤษ โดยมีนายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้นเป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ไม่ได้ผลอะไรมากนัก


เมื่อคานธีกลับอินเดีย ก็ถูกจับอีก และก็ถูกปล่อยตัวอีก และหลังถูกปล่อย ก็ใช้เวลาไปพัฒนาชนบทอีก จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กลับเข้าสู่วงการเมืองอีก มีการเดินขบวนรณรงค์ แล้วก็ถูกจับใน ค.ศ. 1942 อีก แต่ครั้งนี้ ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 แล้วสักพักก็ถูกปล่อยตัว

ใน ค.ศ. 1945 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง นับเป็นการที่อิสระของอินเดียอยู่แค่เอื้อมแล้ว แต่ว่า ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรกๆของการมีอิสระครั้งของอินเดียในยุคแห่งเทคโนโลยี แต่ทว่า ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส(ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป

แต่ใน ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธีรู้สึกเสียใจมาก ที่อิสรภาพของอินเดียอยู่แค่เอื้อม แต่ยังไม่ทันได้อิสรภาพ ชาวอินเดียก็ทะเลาะกันเองเสียนี่ คานธีจึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียเห็นคานธีทำเช่นนี้ก็รู้สึกตัว เลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947 ได้มีการเจรจาตกลงระหว่างพรรคคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิม โดยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู เป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรส แล้วพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม ให้เป็นประเทศปากีสถาน ปกครองโดยสันนิบาตมุสลิม

   
ในที่สุด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ว่า ท้องที่ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ในวันนั้น ทั้งสองประเทศ จัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่คานธีไม่เข้าร่วมพิธีฉลองอิสรภาพ แต่ได้เดินทางไปยังกัสกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธีเดินทางไปถึงที่กัลกัตตา และขอร้อง แต่ไม่เป็นผล จึงประกาศอดอาหารอีก ครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที และให้สัญญาว่าจะไม่มีการรบแบบนี้เกิดอีก คานธีจึงเดินทางกลับเมืองหลวงนิวเดลฮี

ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้งๆที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู

ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1948 องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธีจึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง

และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็น ขณะที่คานธีอยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร ขณะที่คานธีกำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลง และเมื่อแพทย์ได้มาพบคานธี ก็พบว่า คานธีได้สิ้นลมหายใจแล้วในวัย 78 ปี


ข้าพเจ้าอาจจะตายโดยน้ำมือของผู้ลอบสังหาร และถ้าเป็นอย่างนั้น ให้จำไว้ว่า 
ข้าพเจ้ายอมรับลูกกระสุนนั้นอย่างกล้าหาญ ด้วยพระนามของพระเป็นเจ้า 
และเมื่อนั้นข้าพเจ้าจึงจะเชื่อว่า ตนคือมหาตมะ อย่างแท้จริง

คาราบาวได้นำเรื่องราว ของ โมหันดาส์ การามจันทร์ คานธี
มาเรียบเรียงแต่งเป็นเพลง ?คานธี? ในชุด ห้ามจอดควาย
ที่มา http://biolawcom.de

 

 


     
   เช'ยังไม่ตาย

เชยังไม่ตาย เขาอยู่ท้ายรถบรรทุก 
เขียนถ้อยคำสนุก ใครอยากรู้ที่มา 

สายตายาวไกล หัวใจทนง 
คือผู้ปักธงนำชัยสู่มวลประชา 
ไปช่วยฟิเดลคาสโตร์ 
ปลดปล่อยประเทศคิวบา 

พื้นแผ่นดินอันโหยหา 
อิสระภาพและความมั่นคง 

ใช้พื้นที่นา ฝึกรบกองโจร ลุกรบโชกโชน 
โค่นล้มพวกบาติสต้า 

พลันดาวก็พราวสดใส 
อยู่เหนือน่านฟ้าคิวบา 
เขาหวังลบคราบน้ำตา 
ให้หมดจากเซาท์อเมริกา 

ลูกผู้ชายหน้าเข้ม เคราดำผมยาวประบ่า 
ชื่อเชกูวาร่า เชกูวาร่า เชกูวาร่า 
เชกูวาร่า เชกูวาร่า เชกูวาร่า 

วีรบุรุษ...ของปวงประชา 
วีรบุรุษ...ของชาวคิวบา 
วีรบุรุษ...เซาท์อเมริกา 
เชกูวาร่า เชกูวาร่า 

ละทิ้งเงินทอง อำนาจปกครอง 
มุ่งช่วยพี่นอ้ง กอบกู้ชาติโบลิเวีย 

นักปฏิวัติชนชั้น ไม่หวาดหวั่นการสูญเสีย 
ณ แผ่นดินโบลิเวีย มีคนพบศพเชกูวาร่า 
แผ่นดินโบลิเวีย โลกต้องสูญเสียเชกูวาร่า

 

เอร์เนสโต ราฟาเอล เกบารา เด ลา เซร์นา



เออร์เนสโต เช กูวารา บุรุษหน้าตาคมคาย ตามประสาลูกครึ่งไอริช - สเปน คิ้วเข้ม หนวดเคราดกหนา ผมยาว ใส่หมวกแบเร่ต์ติดดาว ผู้ทำให้คำว่า "การปฏิวัติ" ในหัวใจคนหนุ่มสาวเป็นรูปร่างชัดเจน ที่สำคัญเรื่องราวของเช ก็ราวกับนิยายสะเทือนใจ

เช กูวารา หรือ เอร์เนสโต ราฟาเอล กูวารา เด ลา เซร์นา (Ernesto Rafael Guevara de la Serna) เกิดที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี 1928 ในครอบครัวคนชั้นกลาง หลังจากจบการศึกษาด้านการแพทย์ ด้วยวิญญาณของนักต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เขาเดินทางไปท่องทวีปอเมริกาใต้ และเข้าร่วมกับองค์กรประชาชนประเทศต่างๆ ต่อสู้กับรัฐบาลที่ปกครองประเทศอย่างกดขี่ข่มเหงประชาชน ชีวิตในช่วงแสวงหานี้ ทำให้เขามีโอกาสรู้จักกับ ฟิเดล คาสโตร นักปฏิวัติหนุ่มชาวคิวบา และเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครที่มี คาสโตร เป็นผู้นำ


เช ได้พบกับ คาสโตร เมื่อปี 1955 เมื่อคาสโตรถูกเนรเทศจากคิวบา โทษฐานก่อรัฐประหารหมายโค่นเผด็จการบาติสต้า รวมสมัครสมัครพรรคพวกได้ 82 คน ลงเรือจากเม็กซิโกในคืนเดือนมืด แรมทะเลเจ็ดคืนจึงขึ้นฝั่งที่คิวบา เพราะโดนคลื่นลมพัดพาไปผิดเป้าหมาย ทำให้ถูกโจมตีจนเหลือกำลังพลเพียง 12 คน - ปี 1959 ฟิเดล คาสโตร ก็ยึดคิวบาได้ เชได้รับการยกย่องจากคาสโตรให้เป็นนักทฤษฎีคนสำคัญ

"นักรบกองโจร คือชนิดของคนที่เสมือนผู้นำทาง เขาจะต้องช่วยคนจนเสมอ เขาจะต้องมีความรู้พิเศษทางเทคนิค มีวัฒนธรรมและศีลธรรมสูง มีความอดทนยิ่งต่อความทุกร์ทรมาน และความยากลำบาก มีความสำนึกทางการเมืองสูง" เช กูวารา นักทฤษฎีและนักปฏิวัติฝ่ายซ้าย ผู้เชื่อมั่นการต่อสู้ด้วยสงครามกองโจร กล่าว

หลังจากประสพผลสำเร็จในสงครามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลบาติสต้าแล้ว ฟิเดล คาสโตร ขึ้นเป็นประธานาธิบดี เช กูวารา เหมือนเป็นหมายเลขสองของประเทศรองจากคาสโตร เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และดูแลการเงิน การคลังของประเทศในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารชาติ ของคิวบา แต่ด้วยวิญญาณแห่งการปฏิวัติไม่เคยมอดไหม้ไปกับยศฐาบรรดาศักดิ์ เขาลาจากคิวบาและคาสโตร พร้อมเพื่อนๆ เพื่อไปร่วมสงครามปฏิวัติที่ คองโก ในทวีปแอฟริกา แต่ล้มเหลว จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปยังประเทศโบลิเวีย เพื่อร่วมกับกบฏโบลิเวียทำสงครามปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการโบลิเวียในสมัยนั้น

เช ได้ทำตามหลักการที่เขาวางไว้ โดยเมื่อเขาลาออกจากตำแหน่งการเมืองในรัฐบาลคาสโตร เพื่อออกไปเป็นนักรบกองโจรในโบลิเวียนั้น "ผมไม่ได้ทิ้งสมบัติอะไรไว้ให้ภรรยาและลูกๆ ของผม แต่ผมก็ไม่เสียใจ กลับรู้สึกมีความสุขที่มันเป็นไปอย่างนี้" (จดหมายลาถึงคาสโตร) จากผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติ ไปเดินป่าอีกครั้ง ระหว่างร่วมรัฐบาลก็ไม่มีสมบัติอะไร - การกระทำของเขาใกล้ศาสดาเข้าไปทุกที


สังคมนิยมของเช มีความหมายมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ หรือมุ่งเน้นแต่เรื่องยกระดับการครองชีพ "คุณภาพชีวิตจะต้องดีขึ้นด้วย ความหมายของการครองชีวิตต้องจัดควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ... ผู้ใช้แรงงานจะรู้สึกว่าการทำงานเป็นความภาคภูมิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์"
และ "ลัทธิทุนนิยมได้ติดสินบนความภาคภูมิใจของคนงาน และเปลี่ยนเขาไปสู่ความละโมบเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันผิดๆ คือเขาทำงานเพื่อเงิน ไม่ใช่ทำงานเพื่องานของสังคม

การพัฒนาความสำนึกก็หมายความว่า ปลุกเร้าให้กรรมกรทำงานด้วยความเต็มใจและยินดี ไม่ใช่เพื่อความทะเยอทะยาน ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เพื่อบรรลุอุดมการณ์ของพวกเขา เพื่อความเชื่อในตัวผู้นำของเขา และเพื่อความปรารถนาอนาคตที่ดีกว่าสำหรับสังคมทั้งมวล อันจะย้อนเข้ามาสู่ตัวพวกเขาเอง โดยมีรัฐเป็นผู้ดูแลสนองสิ่งที่เขาต้องการทุกอย่าง ด้วยวิธีนี้จะทำให้คนงานสามารถใช้แรงงานเพื่อสิ่งที่ดีงามโดยสิ้นเชิง จนกระทั่งเงินตรากลายเป็นสิ่งล้าสมัย เหมือนกับการค้าทาสที่ต้องสิ้นสุดลง"

นี่คือสังคมในอุดมคติของเช เป็นฝันไกลที่มนุษย์ยังไปไม่ถึง แม้แต่ประเทศที่ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม? หรือคอมมิวนิสต์?? แต่ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าความฝันเช่นนี้หมดความหมายลงโดยสิ้นเชิง เพราะครั้งหนึ่งก็เคยกระตุ้นคนหนุ่มสาวให้ร่วมฝัน ร่วมสู้ ร่วมสร้าง จะสำเร็จหรือล้มเหลวจิตใจเช่นนั้น การกระทำตรงนั้นก็ดีงาม ซากความฝันอาจยังมีพลังจางๆ แอบแฝงอยู่ในสังคมปัจจุบันที่มุ่งลิ่วไปในทิศทางทุนนิยม เป็นพลังจางที่ทำให้เหลือส่วนเสี้ยวริ้วรอยของความฝันเก่าๆ อยู่บ้าง


ไม่เฉพาะเรื่องสังคม-เศรษฐกิจ ในเรื่องศิลปะ เชก็ฝันไว้ว่า

"ในสังคมทุนนิยมและในสังคมระบอบสังคมนิยม ศิลปะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในสังคมทุนนิยม ศิลปะที่แพร่หลายเป็นเพียงเครื่องหย่อนใจที่ไร้สาระ เป็นทางระบายความไม่สบายใจของมนุษย์ให้เกิดความส่วน ตัวชั่วครู่ชั่วยาม..." 

หนึ่งในหลายเหตุผลที่เชต้องกลับเข้าป่าอีกครั้ง ทั้งที่อายุย่างเข้าวัยกลางคน และมีโรคหืดหอบประจำตัวมาตั้งแต่เด็ก ก็คือ ความไม่สมหวังในการสร้างคิวบา เขาชิงชังการเห็นแก่ตัวและการช่วยเหลืออย่างเสีย ไม่ได้ที่โซเวียต และประเทศยุโรปตะวันออกในยุคครุสชอพให้แก่ประเทศด้อยพัฒนา เชจึงลอกคราบการเป็นนักบริหารและนักการฑูตของคิวบาซึ่งตัวเขาเป็นมาหลายปี ออกไปสู่ป่าเพื่อทำการปฏิวัติโดยไม่ได้หยุดหย่อนเหมือนเมื่อวัยหนุ่ม ๆ อีกครั้ง เตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิต และความรู้สึกเยี่ยงมนุษย์ที่ยากจนที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

เช พร้อมด้วยสมัครพรรคพวกมิตรร่วมรบเก่า ๆ รวม 17 คน เช้าป่าโบลิเวีย เขาประกาศทำศึกกับมหาอำนาจ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ประชุมสหประชาชาติ หรืออยู่ในป่าโบลิเวีย และนี่อาจเป็นสาเหตุแห่งความตายของเขา เขาปลุกเร้าแนวทางให้ประเทศโลกที่สามเอเชีย-อาฟริการ่วมใจกันต่อต้านจักวรรดินิยมทั้งสองค่าย




อวสานของ เช กูวาร่า มาถึง เมื่อกองโจรโบลิเวียของเขาโด่งดังขึ้นทุกทีจนอาร์เจนติน่า -เปรู ต้องสั่งปิดพรมแดนสกัดการแพร่ลามของการปฏิวัติจากโบลิเวีย มีคนเข้าร่วมกองกำลังกองโจรมากขึ้น ทหารรัฐบ

Credit: http://atcloud.com/stories/86859
18 ส.ค. 53 เวลา 15:36 2,792 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...