ลุงฟาง
เป็นกระท่อมฟางไม่ร้างไม่ไร้ผู้คน
ห่างไกลชุมชน สับสนแย่งชิง
หลังคาหญ้าแฝกแตกฝอย หิ่งห้อยอ้อยอิ่ง
ใบไม้ไหวติง คนนั่งผิงไฟ
ที่แนวไพรช่างเงียบสงบ
ฤดูกาลผ่านมารับใช้
หน้าฝนขุดหาหน่อไม้
หน้าหนาวติดเตาคั่วชา
เสียงไก่ป่าขัน ตะวันโผล่พ้นภูผา
แหวกกอข้าวกล้า ถั่วงางอกแซม
ไม่ไถไม่พรวน ไม่วางยาฆ่าแมลง
คน,พืช,มดแมลง ร่วมมือทำนา
รอฝนโปรย ฟ้าโรยร่วมแรง
ผลผลิตงดงามก็ตามมา
ทำนาโดยไม่ต้องทำนา
เก็บเวลาไว้คุยกับตะวัน
หลายปีผ่านหัวใจหลงผิด
ชีวิตพอเพียงกับสิ่งเหล่านั้น
บ้านฟางหลังน้อยนี่คือรางวัล
หนังสือกองนั้นเพิ่มภูมิปัญญา
"ลุงฟาง" สร้างโลกนี้ด้วยฟางข้าว
สายตาทอดยาวด้วยความเมตตา
ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมะ
ค้นหาตัวตนบนความสันโดษ
เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ในหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะชิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เขาจบการศึกษาทางจุลชีววิทยา สาขาพยาธิวิทยาของพืช และทำงานเป็นนักวิจัยทางเกษตรของกรมศุลกากรในเมืองโยโกฮาม่า ในแผนกตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ ๒๕ ปี ฟูกูโอกะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของเกษตรกรรมสมัยใหม่ เขาตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาอุทิศเวลากว่า ๕๐ ปีให้กับการพัฒนาวิธีการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ
ฟูกูโอกะเชื่อว่าเกษตรกรรมธรรมชาติสืบสายมาจากสภาวะแห่งความไพบูลย์ทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล เขาถือว่าการบำรุงรักษาผืนแผ่นดินและการชำระจิตใจของมนุษยให้บริสุทธิ์เป็นกระบวนการอันเดียวกัน เขาได้นำเสนอมรรควิธีแห่งการดำเนินชีวิต และมรรควิธีแห่งเกษตรกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าว เขากล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์"
และด้วยเหตุที่เราไม่อาจแยกด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตออกจากด้านอื่น ๆ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงวิถีเพาะปลูกธัญญาหารของเรา เท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะของอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนแปลงค่านิยมของเราไปด้วย คุณูปการที่ยิ่งใหญ่ของเขาก็คือ การแสดงให้ประจักษ์ว่า กระบวนสร้างเสริมความไพบูลย์แห่งจิตวิญญาณในชีวิตประจำวัน สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงและเป็นคุณประโยชน์ต่อโลก
เมื่อดินถูกเผาจนอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์หมดไป การใช้ปุ๋ยก็จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีต้นข้าวจะโตไวและสูง แต่วัชพืชก็จะเจริญเติบโตเช่นเดียวกันด้วย ยากำจัดวัชพืชก็ต้องถูกนำมาใช้ และคนก็จะคิดว่ามันมีประโยชน์
ในระหว่างเดินทางไปยังโตเกียว ผมมองออกไปนอกหน้าต่างรถไฟสายฮอคไคโด ผมได้แลเห็นความเปลี่ยนแปลงของชนบทญี่ปุ่น มองดูท้องนาในฤดูเหมันต์ ภาพที่ปรากฏล้วนแต่แตกต่างจากเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วโดยสิ้นเชิง ผมรู้สึกบันดาลโทสะอย่างที่ไม่อาจอธิบายเป็นคำพูดได้ ภูมิประเทศเดิม ๆ ที่มีทุ่งนาข้าวบาร์เลย์อันเขียวขจีเป็นระเบียบ ต้นถั่วยาง และต้นผักกาดยางที่ออกดอกบานสะพรั่งไม่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป สิ่งที่เห็นก็คือ ฟางที่ถูกเผายังไม่หมดดีกองสุมระเกะระกะและถูกปล่อยให้เปียกโชกอยู่ในสายฝน การที่ฟางเหล่านี้ถูกละเลยเป็นข้อพิสูจน์ถึงความไร้ระเบียบของเกษตรกรรมแบบใหม่ ทุ่งนาที่ไร้พืชผลเหล่านี้ได้ส่อให้เห็นถึงความแห้งแล้งในจิตใจของเกษตรกร มันท้าทายความรับผิดชอบของผู้นำรัฐบาล และได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการขาดนโยบายทางการเกษตรที่สุขุมแยบคาย
ผมเชื่อว่าการปฏิวัติสามารถเริ่มต้นจากฟางข้าวเพียงเส้นเดียว ดูเผิน ๆ ฟางข้าวนี้อาจจะดูบอบบางไร้น้ำหนัก และไม่มีความสลักสำคัญอะไร จึงยากที่ใครจะเชื่อว่ามันสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติได้ แต่ผมได้ตระหนักแล้วถึงน้ำหนักและพลังของฟางเส้นนี้ หากผู้คนรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของฟางเส้นนี้ การปฏิวัติของมนุษยชาติก็จะเกิดขึ้น เป็นการปฏิวัติที่ทรงพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศและโลกทั้งโลกเลยทีเดียว
พินิจดูเมล็ดข้าวนี้
โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร
กลับสู่ชนบท
สู่เกษตรกรรมแบบไม่กระทำ
กลับคืนสู่ต้นกำเนิด
สาเหตุที่เกษตรกรรมธรรมชาติไม่แพร่หลาย
มนุษย์ไม่รู้จักธรรมชาติ
ค่ำคืนของวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2481 ชายหนุ่มวัย 25 ปี นักวิจัยทางเกษตรของกรมศุลกากร แห่งเมืองโยโกฮามา ซึ่งเพิ่งฟื้นจากไข้ แพทย์บอกว่าเป้นโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน เพราะหมกหมุ่นกับการทำงานมากเกินไป จนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ความป่วยไข้ทำให้เขาสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตและความตาย
เช้ารุ่งขึ้น ลมอ่อนๆโชยมาจากหุบผาเบื้องล่าง สายหมอกสลายตัวไป ดวงตะวันยังไม่โผล่พ้นขอบฟ้า พลันแสงสว่างเรืองรองขึ้นทีละน้อยที่ริมอ่าว นกกระสาทะเลปรากฏกายขัน ส่งเสียงร้องแหลมและบินลับสายตาไป ชั่วขณะนั้นเองความขุ่นข้องสับสนและความลังเล มลายไปสิ้น ทุกสิ้นทุกอย่างที่เขาเคยยึดมั่นเป็นปกติวิสัยล้วนสลายไปกับสายลม
ชายผู้นี้ประกาศขอลาออกจากงาน หลังจากที่ทราบว่าป่วย ในอีกสองวันต่อมา เพื่อนฝูงในที่ทำงานพากันเป็นห่วงว่า เขาเสียสติไปแล้ว?
เขามุ่งหน้าสู่บ้านเกิด หมู่บ้านเล็กๆในตำบลโอฮิรา บนเกาะชิโกกุ ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ด้วยความมุ่งมั่นว่าจะทำการเกษตรแบบ ?ไม่กระทำ?
พ่อของเขามอบหมายให้ดูแลสวนส้ม พ่อตัดแต่งกิ่งส้มให้เป็นพุ่มคล้ายรูปถ้วยสาเก เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บผลส้ม แต่เขากลับปล่อยทิ้งไว้ให้กิ่งก้านของมันแตกแขนงซ้อนไขว้กันไปมาอย่างไม่เป็นระเบียบ แมลงก็รุมเข้ามาทำลายและในที่สุด สวนส้มขนัดนั้นก็เฉาตายไปไนเวลาไม่นาน
พ่อเร่งเร้าให้เค้าปรับปรุงตัวเองเสียใหม่ โดยหางานทำจนกว่าสติสัมปชัญญะจะกลับคืนมาจึงค่อยกลับบ้าน เค้าจึงเข้าทำงานโดยรับตำแหน่งหัวหน้านักวิจัย ทางด้านควบคุมโรคพืช ทำงานที่นี่นานเกือบ 8 ปี ในช่วง 8 ปีนั้นเขามีคำถามในใจตลอดเวลาว่า ?เกษตรธรรมชาติจะสามารถยืนผงาดอย่างทัดเทียมกับวิทยาศาสตร์แผนใหม่ได้หรือไม่?
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เฝ้าเพียรทำงานร่วมกันกับธรรมชาติบนผืนดินลูกรังที่ถูกทิ้งร้างไปนานแสนนาน จนในที่สุดในสวนของเขา ตันส้มให้ผลนับ 1,000 ปอนด์ ในแต่ละปี ผักและไม้ผลงามๆ หลายชนิดเขียวสะพรั่ง ความเชื่อมั่นในผลงานของธรรมชาติถูกสะสมจนตกผลึก มาซาโนบุ ยึดหลัก 4 ประการ เกี่ยวกับเกษตรธรรมชาติดังนี้
ไม่ไถไม่พรวน, ไม่ใส่ปุ๋ย, ไม่กำจัดวัชพืช และไม่ใช้สารกำจัดศรัตรูพืช
บทความนี้คาราบาวได้นำเรื่องราว ของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
มาเรียบเรียงแต่งเป็นเพลง ?ลุงฟาง? ในชุด 15 ปี หากหัวใจยังรักควาย
ปล.ในปี 2481 มาซาโนบุ มีอายุ 25 ปี ซึ่งเท่ากับ ในปี 2552 เค้าจะมีอายุประมาณ 96 ปี..
ที่มา www.agalico.com และ www.carabao2524.com
ลุงไฟ
อัศนี พลจันทร์ อัศนี อัศนี อัศนี อัศนี
อัศนี พลจันทร์ อัศนี อัศนี อัศนี อัศนี
ลุงไฟจุดไฟให้การต่อสู้
สู่ยอดภู ขุนเขาและสายธาร
ปลุกสำนึก ปลุกคน ปลุกวิญญาณ
อุดมการณ์เดียวกันไม่มีวันจาง
จากเด็กน้อยนักเรียนน้อยค่อยเติบกล้า
กำเนิดมากลางตระกูลแห่งขุนนาง
โลกมิอาจ...ปิดกั้นความแตกต่าง
สุดแต่ทาง...ของใครจะใฝ่เดิน
สรรเสริญความลำบากผู้ยากไร้
โหมแรงไฟให้กล้ายืนหยัดเผชิญ
โลกใบนี้...มิใช่เราเป็นส่วนเกิน
หากสรรเสริญตามความจริงเป็นส่วนดี
ลุงไฟก้าวไปพบความแตกต่าง
แบ่งเป็นข้างเป็นฝ่ายให้แตกแยก
สามัคคี...เคยมีดีตอนแรก
ล่มเหลวแหลกทลายเพราะใจคน
ใจของคนวกวนทั้งดีร้าย
ขวาเอียงซ้าย ซ้ายเอียงขวาน่าฉงน
ความแตกแยกมาเยือนยังหมู่ชน
กำลังพลกำลังใจย่อมพ่ายแพ้
แต่ที่แน่แท้ลุงไฟไม่คิดถอย
ส่งเมียรักลูกน้อยกลับเมืองแม่
สู้ต่อไปจนตัวตายวัยเฒ่าแก่
เผยธาตุแท้ท่านผู้นี้มีแต่ไฟ
ธาตุแท้ๆ ท่านผู้นี้...มีแต่ไฟ
อัศนี พลจันทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2461 ที่บ้านท่าเสา ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาคือพระมนูญกิจวิมลอรรถ ( เจียร พลจันทร ) มารดาคือนางสอิ้ง พลจันทร ซึ่งหากสืบเชื้อสาย บิดาขึ้นไปจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จะพบว่าต้นตระกูลคือ พระยาพย เดิมชื่อนายจันทร์ เคยรับกับ พม่าจนได้ชัยชนะ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รั้งเมืองกาญจนบุรี ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นต้นตระกูลพลจันทร , พลกุล , วงศาไพโรจน
เมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน มารดาได้เสียชีวิตไป เขาถูกทิ้งให้อยู่ในภาระดูแลของย่า ซึ่งเป็นคนเจ้าระเบียบจัด ส่วนปู่นับเป็นคนมีฐานะระดับเศรษฐี มีกิจการโรงสีและที่นาให้เช่า นอกจากนั้นยังค้าทอง ค้าเสาและไม้ฝาง อัศนีในวัยเด็กจึงเพียบพร้อมด้วยทรัพย์สิน
ในปี พ.ศ.2464 ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดราชบุรี การเดินทาง ไปเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด มีรถม้าส่วนตัวและพี่เลี้ยงคอยรับส่งด้วย
หลังจากจบชั้นมัธยมปีที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2476 แล้วได้เขามาศึกษาต่อ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร จนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 8 แผนกภาษา เมื่อปี พ.ศ.2479 จากนั้นจึงเข้าศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ.2483
ความสนใจในศิลปวรรณคดีเริ่มต้นจริงจังในช่วงที่ศึกษาอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2480 ขณะอายุเพียง 19 ปี ได้เขียนบทความโต้ทัศนของ ส.ธรรมยศ เกี่ยวแก่เรื่อง " นิราศลำน้ำน้อย " ( ของพระยาตรัง ) ในชื่อ " นางสาว อัศนี " นามปากกา " นายผี " ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2484 ในนิตยสารรายสัปดาห์ เอกชน ( ก่อตั้งโดยจำกัด พลางกูร และสด กูรมะโรหิต โดยมีจำนง สิงหเสนีเป็นบรรณาธิการ ) มีงานเขียนบทความใช้นาม "นายผี" ในคอลัมน์กวี
นิตยสารรายสัปดาห์เอกชน ฉบับแรกออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2484 เพียงช่วง 2-3 เดือน นาม " นายผี " ก็เป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะเป็นเนื้อหา ทางความคิดซึ่งยังคงสะท้อนสังคมในแง่มุมกว้างๆ กับบทกวี ด่าว่าเสียดสีผู้หญิงที่แต่งตัวไม่เหมาะสม และการโต้ตอบกับกวีฉันทิชย์ กระแสสินธุ์และหลวงบุญยมานพพาณิชย์ (นายสาง) เกี่ยวกับทัศนในวงการกวีเมืองไทย
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ผลงานในนามนายผีก็หยุดชะงักลง เมื่ออัศนี พลจันทรได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการ ตำแหน่งอัยการฝึกหัด ชั้นจัตวา อันดับ 7 อัตราเงินเดือน ที่กองคดี กรมอัยการ 50 บาท
ภาพลายเส้นใบหน้านายผี โดย. ประยูร จรรยาวงษ์
วิบากกรรมในเส้นทางข้าราชการของอัศนี พลจันทรเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกิดคดีหนึ่งที่คนในกรมอัยการ ไม่มีใครกล้าฟ้อง เพราะจำเลยเป็นน้องชายของผู้เรืองอำนาจ ในทางการเมือง ที่สุดภาระถูกส่งทอดมาถึงอัศนี คดีนี้ฝ่ายโจทย์ชนะเหนือความคาดหมาย เป็นผลให้อัศนีโดนคำสั่งย้ายไปอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อันถือเป็นไซบีเรียของเมืองไทย
ต่อมาได้ย้ายไปประจำที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2485 มีเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 80 บาท แต่ช่วงนั้น อยู่ระหว่างสงครามจึงต้องอยู่อย่างกระเบียดกระเสียร ต้องเหวี่ยงแหหาปลามากินเอง ทั้งที่เหลือยังเผื่อ แผ่เจือจาน เพื่อนบ้าน ซื้อไก่มาเลี้ยงเอาไข่และซื้อแพะมาเลี้ยงไว้รีดนม
วันหนึ่งอัศนีนั่งเขียนหนังสือเพลินอยู่ แพะย่องเข้ามากินต้นฉบับหมดไปหลายแผ่น ในเวลาต่อมาฉายา " อัยการแพะ " จึงเป็นคำติดปากชาวบ้านโดยปริยาย ที่ปัตตานีนี่เองที่อัศนีได้มีโอกาสลงมาคลุกคลี อยู่กับชาวบ้าน สามัญ เขาพยายามทั้งการศึกษาและวัฒนธรรม ฝึกอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน ตลอดไปถึงการไม่กินหมูตามแบบอย่างมุสลิม กระทั่งเวลาต่อมาเขาถึงขั้นสวมหมวกกาบีเยาะห์ด้วยซ้ำ
เวลา 2 ปีในปัตตานีเขายืนหยัดทำหน้าที่เคียงข้างคนสามัญผู้เสียเปรียบโดยตลอดสร้างความครึกโครม ในหลายคดี โดยเฉพาะการสั่งไม่ฟ้องชาวบ้านกว่า 50 คนที่โดนจับด้วยข้อหาไม่สวมหมวกตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระทั่งที่สุดเขาถูกคำสั่งย้ายอีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่าเขาเตรียมเข้าร่วมก่อกบฎร่วมกับคนท้องถิ่น ในวันที่เขาจากมา ชาวไทยมุสลิมหลายคนร้องห่มร้องไห้ด้วยความอาลัย
การต้องรับภาระอัยการ ทำให้อัศนีแทบไม่มีบทกวีในนามนายผีออกมาอีก ส่วนหนึ่งก็ด้วยเขาใช้เวลา ไปถึงครึ่งปี ในการแปล ภควัทคีตา จากภาษาสันสกฤต ( ต่อมาลงพิมพ์ในอักษรสาส์น นับแต่ฉบับเดือนตุลาคม 2493 )
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2484 - 2487 รัฐบาลจอมพล ป. ได้ออกวรรณคดีสาร มาเป็นเครื่องมือโฆษณานโยบาย " เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย " ในนั้นมีบทกวีกว่าครึ่งเล่ม มุ่งยกย่องนายกรัฐมนตรีและชักชวนให้ผู้อ่านคล้อย ตามนโยบาย ดังกล่าว ยิ่งในฉบับที่ตรงกับวันเกิดนายกรัฐมนตรีและภริยา นิตยสารเล่มนี้จะเต็มไปด้วยบทกวีอวยพรวันเกิดทั้งเล่ม ที่นี่เกิดกวีนักกลอนขึ้นมามากที่เป็นเจ้าประจำ เช่น พท.หญิงละเอียด พิบูลสงคราม , อรุณ บุญยมานพ , มนตรี ตราโมท ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2487 นายผีได้เริ่มบทกวี ใน นิกรวันอาทิจ (สะกดตามแบบภาษาวิบัติในสมัยนั้น) ด้วยบทความที่ชื่อ " ทำไมนายผีจึงหายตัวได้ " โดยแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่าเหตุที่นายผี หยุดเขียนไประยะหนึ่ง ก็เพราะเกิดมีนักกลอน " ขนัดถนน " คนที่เป็นกวีที่แท้จริงจึงจำต้องหลบไปเสีย และออกบทกวีใน นิกรวันอาทิจ มุ่งวิพากษ์วิจารณ์นโยบายสร้างชาติของท่านผู้นำในน้ำเสียงหยามหยัน จึงเป็นที่เพ่งเล็งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ และโดนคำสั่งห้ามตีพิมพ์อีกในเดือนสิงหาคมของปีนั้นเอง
อีกหนึ่งเดือนต่อมา อัศนีถูกคำสั่งย้ายมาเป็นอัยการผู้ช่วยที่สระบุรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2487 ใช้ชีวิตร่วมกับ วิมล พลจันทร ในบ้านพักหลังเก่าซึ่งไม่มีใครกล้ามาอยู่ ด้วยต้นมะขามใหญ่หลังบ้านเคยมีคนผูกคอตาย
ปี พ.ศ.2488 ครอบครัวพลจันทรก็มีลูกสาวเพิ่มเป็นสมาชิกในครอบครัว ทำให้ปกติที่เงินเดือนชักหน้า ไม่ถึงหลัง อยู่แล้วกลับยิ่งอัตคัด ทั้งงานเขียนก็ยากที่จะลงพิมพ์เพื่อหวังเป็นรายได้มาจุนเจือได้อีก ภรรยาของเขาต้องออกตระเวน ซื้อกล้วย ถั่วหรือข้าวโพดจากไร่มาขาย บางครั้งต้องไปไกลถึงพระพุทธบาทซึ่งห่างจากสระบุรี 20 กิโลเมตร
ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ กำลังประสบภาวะวิกฤต ทางการเมืองเนื่องจากกรณ๊สวรรคต คอลัมน์ " วรรณมาลา " ต้องประสบปัญหาอย่างหนัก จากเจ้าพนักงานตรวจข่าว มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งพลเรือตรีถวัลย์ ธรรมรงค์ จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภาวะดังกล่าวเริ่มผ่อนคลายลง นายผีกลับ มาเขียน บทกวีวิพากษ์วิจารณ์สังคมและนโยบายของรัฐด้วยท่วงทำนองที่ค่อนข้างรุนแรงและก้าวร้าว แสดงให้เห็นถึง ความเป็นนักอนาธิปไตยที่ไม่พอใจสังคมเก่า แต่ยังขาดเป้าหมายทางการเมืองที่แจ่มชัด
ในช่วงปี พ.ศ.2490-2491 นายผีย้ายมาเขียนประจำในคอลัมน์ " อักษราวลี " ของหนังสือรายสัปดาห์ สยามสมัย บทกวียิ่งเพิ่มความแข็งกร้าว โจมตีบุคคลทางการเมืองเป็นรายตัว ไม่ว่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม , พลโทผิน ชุณหวัณ , พลโทกาจ เก่งสงคราม , มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำให้ยิ่งถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายบ้านเมือง ถึงขนาดมีคำสั่งให้กำราบกวีปากกล้าคนนี้เสีย แต่นายผีกลับไม่หวั่นเกรง เขียนกวีท้าทายไปบทหนึ่งว่า
ในทางราชการ อัศนีเองเริ่มมีความคิดโต้แย้งมากขึ้น กระทั่งในปี พ.ศ.2491 ซึ่งร้อยเอกประเสริฐ สุดบรรทัดอันคบหากันกับนายผีฉันมิตร ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี แต่ถูกข้าหลวงตัดสิทธิ์ อัศนีได้ร้องเรียนไปถึงกรมอัยการ แต่แล้วในวันที่ 10 พฤษภาคม 2491 เขาก็กลับถูกย้ายไปประจำที่อยุธยา ด้วยเห็นว่า อาของเขาเป็นหัวหน้าอัยการอยู่ที่นั่น จะได้ช่วยควบคุมดูแลไม่ให้ก่อเรื่องได้ และในปีถัดมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2492 อัศนีได้เลื่อนขึ้นเป็นข้าราชการชั้นโท ขณะเดียวกันบทบาทด้านการเมืองของเขายิ่งก้าวไปไกลยิ่งกว่า ทั้งโดยเปิดเผยและปิดลับ เมื่อ เปลื้อง วรรณศรี จะมาปราศรัยหาเสียงที่อยุธยา นายผีได้เป็นธุระไปขออนุญาต จากข้าหลวงให้เอง แต่ครึ้งถึงวันปราศรัย นายอำเภอกลับไม่ยอม โดยอ้างว่าข้าหลวงไม่อนุญาตแล้ว จึงเกิดโต้เถียง กันขึ้น จังหวะหนึ่งนายผีเอื้อมมือจะเกาหลัง นายอำเภอตกใจคิดว่าจะชักปืนออกมายิง รีบปั่นจักรยานออกไป การปราศรัยจึงมีขึ้นได้
จากกรณีนั้น มีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เดินทางมาสอบสวน นายอำเภอถูกย้าย เช่นเดียวกับอัศนีซึ่งถูกคำสั่ง ย้ายตามหลังไปเมื่อเดือนกรกฎาคม กลับมาประจำที่กองคดี กรมอัยการ
ระหว่างปี พ.ศ.2492-2495 ถือเป็นช่วงรุ่งโรจน์ของนายผี เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งเข้าไปช่วยทำนิตยสาร อักษรสาส์นรายเดือน ที่สุภา ศิริมานนท์ อดีต บก.นิกรวันอาทิจ เปิดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแสดงทัศนะในด้านศิลปวรรณคดีและการเมือง ทั้งนี้ นายผีก็ยังคงเขียนให้กับสยามนิกรและสยามสมัย ควบคู่กันไปด้วย บทกวีและเรื่องสั้นของนายผี ช่วงนี้ได้ขยายขอบเขตเนื้อหาจากการวิพากษ์วิจารณ์ การเมืองและรัฐบาลในแนวคิดเกี่ยวกับ ความแตกต่างระหว่างชนชั้น การกดขี่ขูดรีด และความอยุติธรรมในสังคม อับอีกส่วนหนึ่งคือการวิพากษ์วิจารณ์สตรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดตระหนักถึงบทบาทและคุณค่าที่แท้จริงของตัวเอง เสนอแนวความคิด เกี่ยวแก่ความรักในรูปแบบใหม่ คือความรักระหว่างชนชั้น และความรัก ในมวลชน นอกจากนี้ ยังมีบทกวีแสดงแนวคิด ปลุกเร้าประชาชนผู้ยากไร้ และชนชั้นกรรมชีพ ให้ตระหนักถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของตน มีหลายบทที่โดดเด่น อาทิ " สันติภาพก่อนเพื่อ " " ความร้อน " " กำลังอยู่ที่ไหน " " ทารุณกรรมกลางที่ราบสูง " โดยเฉพาะบทกวีที่ชื่อ " อีศาน " ซึ่งลงพิมพ์ในสยามสมัย เดือนเมษายน พ.ศ.2495 นับเป็นบทที่สือเลื่อง ในหมู่คนรุ่นหลัง กระทั่งกลายเป็นตัวแทนของนายผีไปแล้ว ยิ่งเฉพาะท่อนท้ายสุด ...
ลุถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 รัฐบาลจอมพล ป. ได้จับกุมนักเขียน,นักหนังสือพิมพ์และนักการเมือง จำนวนมากในเหตุการณ์ที่เรียกว่า "กบฎสันติภาพ" นายผีเองได้ถูกตำรวจไปคอยดักจับที่บ้าน จึงต้องร่อนเร่หลบซ่อน อยู่นอกบ้าน กระทั่งเย็นวันหนึ่งเขาแอบเข้าไปเก็บเสื้อผ้าเอาลูกเล็กสองคนมากอด สั่งภรรยา ให้ซื้อผ้าห่มกันหนาว ให้ลูก แล้วก็หายตัวไปนับแต่บัดนั้น ทั้งยังยื่นหนังสือลาป่วยติดต่อกันสามเดือนไปยังหน่วยงานสังกัด แต่ไม่ทันครบระยะก็ยื่นหนังสือลาออกในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2495
ในห้วงเวลาที่นายผีหลบซ่อนนี้ นายผีก็ยังวนเวียนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทั้งยังสร้างผลงานวรรณกรรม ขึ้นมาสองเรื่อง คือ บทกวียาว " ความเปลี่ยนแปลง " และเรื่องยาวคำฉันท์ " เราชนะแล้วแม่จ๋า " และขณะเดียวกัน นายผีก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอันเพิ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 จึงนับเป็น สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยุคแรกๆ
ผลงานของนายผีปรากฎอีกครั้งระหว่างเดือนมีนาคม 2496 - พฤษภาคม 2497 เป็นเรื่องสั้นจำนวนสี่เรื่อง ลงพิมพ์ในสยามสมัย ต่อมาปี พ.ศ.2501 ได้มีบทความ ปรากฏในนิตยสารสายธาร และบทกวีในปิยมิตรวันจันทร์ กระทั่งถึงเดือนมีนาคม 2502 ก็หยุดไป และมีเรื่องสั้นส่งมาตีพิมพ์อีกในปี พ.ศ.2503 ก่อนจะหายตัวไปจากพระนคร
ในปี พ.ศ.2504 ชื่ออัศนี พลจันทรปรากฏอีกครั้งในฐานะ " สหายไฟ " โดยได้รับเลือกเป็น หนึ่งในยี่สิบคน ของ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2505 ผู้บริหารพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ระดับสูงในนาม รวมวงศ์ พันธุ์ถูกจับกุมตัวและถูกคำสั่งประหารชีวิต โดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้ศูนย์การนำต้องโยกย้ายออกจากกรุงเทพมหานคร สหายไฟและสหายลม(ภรรยา) ถูกส่งไปกรุงฮานอย ก่อนเดินทางเข้าสู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนานของ ประเทศจีนในเวลาต่อมา
ชื่อเสียงของนายผีหอมกรุ่นขึ้นมาอีกครั้ง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อนักศึกษาหัวก้าวหน้ากลุ่มต่างๆนำผลงาน ทั้งบทกวี เรื่องสั้น เรื่องแปลและ บทวิจารณ์วรรณกรรม มารวมเล่ม ออกจำหน่าย ทำให้ผลงานของนายผีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และขยายขอบเขตรับรู้ออกไปกว้างขวาง
ในเขตป่าเขา นายผียังคงเขียนบทกวีและศึกษาศิลปวรรณคดีอย่างแพร่หลายคือ " เพลงคิดถึงบ้าน " หรือ " เดือนเพ็ญ " นามปากกาซึ่งเคยปรากฏใช้ : นายผี , อินทรายุทธ , กุลิศ อินทุศักดิ์ , ประไฟ วิเศษธานี , กินนร เพลินไพร , หง เกลียวกาม , จิล พาใจ , อำแดงกล่อม , นางสาวอัศนี
ปี พ.ศ.2518 ประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยขบวนการคอมมิวนิสต์สายโซเวียต อันใช้กำลังหลัก จากพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยต้องตัดสินใจ ว่าจะใช้ทฤษฏี " โดมิโน " สายโซเวียต ที่ยึดแนวคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย การใช้กองกำลังต่างชาติเข้าสนับสนุน หรือจะยึดตามอย่าง สายจีน ที่เน้นใช้วิธีเปลี่ยนแปลงความคิดประชาชาติ ปลุกเร้าอุดมการณ์รอจนกว่า จะเกิดความสุขงอมทางความคิด ในประชาชาตินั้นๆเอง
ส่วนหนึ่งรับข้อเสนอของคอมมิวนิสต์สายโซเวียต เตรียมการปฏิวัติโดยกองกำลังตลอดแนวลำน้ำโขง อันเชื่อมต่อประเทศไทย ในฐานะระดับนำคนหนึ่ง นายผีได้คัดค้านการใช้กองกำลัง ยืนยันการเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติประเทศต้องเกิดจากเงื่อนไขของสังคมไทย และโดยคนไทยด้วยกันเอง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สหายไฟ ต้องถูกจำกัดการเคลื่อนไหวตลอดเวลาของการอยู่ในลาว กระทั่งสถานการณ์ขัดแย้ง ระหว่างจีนและเวียดนาม ถึงจุดแตกหัก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งถูกระบุว่าเป็น คอมมิวนิสต์สายจีน จึงต้องเคลื่อนย้ายผู้คน ออกจากลาว และนายผีได้กลับเข้ามาที่ฝั่งไทย ในปี พ.ศ.2522
ปี พ.ศ.2526 หลังวันครบรอบวันเกิดนายผีไม่นาน ได้เกิดศึกภูเมี่ยงขึ้นในเขตน่านเหนือ ด้วยความเสียหายอย่างหนัก ทำให้นายผีต้องเดินทาง ข้ามลำน้ำโขงไปเจรจาขอซื้อข้าวกับกรรมการกลางเขตหงสาของลาว ขณะนั้นเกิดการแตกพ่ายของฐานที่มั่นเขต 4 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน ในยุทธการล้อมปราบ ของรัฐบาล นับตั้งแต่การแตกหนี เข้าสู่ฝั่งลาวในครั้งนั้น นายผีและพลพรรคสหา