กบลูกดอก

กบลูกดอกพิษ (Poison Dart Frog)หรือกบลูกศรพิษ (Poison Arrow Frog) มีถิ่นที่อยู่แถบป่าฝนของทวีปอเมริกากลางรวมไปถึงส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้ พวกมันชอบอาศัยอยู่ตามชายคลอง หรือตามแหล่งแม่นำลำธาร กบลูกดอกพิษมีขนาดเล็กเท่ากับเล็บของคน และสีสันสดใสของพวกมันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น สีสันสดใสฉูดฉาดเหล่านั้นสามารถบอกเราได้ถึงสปีชีส์ที่แตกต่างกันของพวกมันด้วยครับ

                                           ถิ่นที่อยู่ของกบลูกดอกพิษครับ โลกของเรามีกบพิษ อยู่หลายชนิดทีเดียวพวกมันมีจำนวนมากถึง 220 สปีชีส์ ในจำนวนนั้น 100 กว่าสปีชีส์คือกบลูกดอกพิษ  จริงๆแล้วพอเข้าไปดูรายละเอียดใกล้ๆผมเพิ่งจะพบว่าโลกของกบเป็นโลกที่น่าสนใจ น่าศึกษาครับ เพราะนอกเหนือจากกบลูกดอกพิษแล้ว บนโลกเรายังมีกบชนิดต่างๆหลายร้อยชนิดทีเดียว ที่รอให้เข้าไปทำความรู้จัก จริงๆผมเตรียมรูปกบชนิดอื่นๆไว้ด้วยเยอะแยะ แต่ขออนุญาตหั่นทิ้งไปก่อนละกัน เดี๋ยวจะเยิ่นเย้อยุ่งยากวุ่นวายกันไปเปล่า เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสผมอาจจะดูเรื่องกบ ชนิดอื่นๆมาลงสวนสัตว์OkZoo ของเราอีกซักเรื่องสองเรื่องวันหลังนะครับ กลับมาดูกบลูกดอกพิษกันต่อ กบลูกดอกพิษจัดอยู่ใน Order : Anura ก็คือสัตว์จำพวกกบ คางคกทั้งหมด Family : 1 Dendrobatidae 2 Epipedobates 3 Minyobates 4 Phillobates พวกนี้คือชื่อแฟมิลี่ของกบตระกูลลูกดอกพิษโดยเฉพาะครับ ที่พวกมันได้ชื่อว่า กบลูกดอกพิษนั้นก็เพราะว่าชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น มีวิธีการใช้พิษจากผิวหนังของพวกมันมาชุบปลายลูกดอกหรือธนูเพื่อที่อาวุธเหล่านั้นจะได้มีประสิทธิภาพยามที่พวกเขาออกล่าสัตว์ พิษจากลูกดอกเพียงดอกเดียวก็สามารถสังหารสัตว์ที่แข็งแรง เช่นหมูป่าให้ล้มลงเสียชีวิตภายในเวลาแค่ชั่วอึดใจ แต่ว่าในบรรดากบตระกูลลูกดอกพิษกว่า 175 สปีชีส์นั้น มีเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่มีพิษร้ายกาจพอที่จะนำมาชุบลูกดอกเป็นอาวุธได้ จุดที่รวมพิษของกบลูกดอกพิษก็คือผิวหนังส่วนหลังของมันรวมถึงส่วนที่เป็นตุ่มที่รูปร่างคล้ายหูหลังดวงตานั่นเอง สัตว์ตัวอื่นๆที่ไม่รู้แค่ใช้ปลายลิ้นเลียพวกมันเข้าพิษกบก็สามารถทำอันตรายสัตว์เหล่านั้นถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย กล้องโคลสอั๊พอีกนี๊ด สีสันของพวกเฮา ฉูดฉาดบาดตายิ่งนัก กบลูกดอกพิษมีวีธีการสร้างพิษที่ประหลาด โดยที่แต่เดิมแล้วร่างกายของพวกมันปราศจากพิษภัย แต่พิษของพวกมันเกิดขึ้นจากการที่ระบบย่อยอาหารได้สกัดเอาโปรตีนที่เป็นพิษจากอาหารที่มันกินเช่นมด แมลง ปลวก หรือแม้กระทั่งพืชบางอย่างเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารและแปรสภาพเป็นพิษตามตุ่มผิวหนังในที่สุด พบว่ากบลูกดอกพิษสีทอง (Golden Poison Dart Frog) จัดเป็นชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด พิษทั้งหมดจากตัวของมันเพียงพอที่จะคร่าชีวิตมนุษย์ 8 ถึง 20 คนทีเดียว อุ๊แม่จ้าว ในระบบวงจรห่วงโซ่อาหารปรากฏว่ากบลูกดอกพิษเป็นสัตว์ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ และไม่มีผู้ล่า(Predator) เนื่องจากพิษที่ร้ายกาจของพวกมันนั่นเอง มันจึงมีลักษณะนิสัยตามธรรมชาติที่ไม่กลัวที่จะเคลื่อนไหวไปทุกที่และแม้กระทั่งการเข้าใกล้มนุษย์ แต่ถึงแม้ว่ามันจะไม่มีศัตรูโดยตรงในธรรมชาติก็ตามนักวิทยาศาสตร์กลับพบว่าจำนวนของกบลูกดอกพิษทุกชนิดในป่าฝนแถบอเมริกากลางและใต้กลับลดลงอย่างน่าใจหาย อันเนื่องมาจากการที่มนุษย์บุกรุกทำลายพื้นที่ป่าฝนอย่างหนักในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั่นเอง                            กบลูกดอกพิษจะจับคู่ผสมพันธุ์กันโดยตัวผู้และตัวเมียจะมีพฤติกรรมประหลาดที่น่ารัก พวกมันจะใช้เวลาเกี้ยวพาราสีกันโดยการกระโดดหยองๆไปมาแล้วก็กอดรัดปลุกปลำกันจนหนำใจก่อนที่ตัวเมียจะออกวางไข่ไว้ตามใบไม้ที่ปลอดภัยส่วนตัวผู้ก็จะตามไปปล่อยนำเชื้อยังไข่เหล่านั้น เสร็จแล้วทั้งคู่ก็จะอยู่ช่วยกันดูแลไข่อย่างใกล้ชิด พอไข่ออกมาเป็นตัวอ๊อด แม่กบจะพาพวกมันไปออกหาอาหารตามริมฝั่งนำโดยที่พวกลูกอ๊อดตัวกระจิ๊ดริดจะต้องเกาะไปบนหลังแม่ของมันตลอดเวลา บางครั้งมันก็จะพาลูกๆอ๊อดของมันย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย เช่นบนต้น Bromeliad ที่มีแอ่งนำเล็กๆขังอยู่และมีลูกนำตัวเล็กๆให้ลูกมันกิน ส่วนกบตัวผู้จะคอยหากินอยู่ไม่ไกลจากพวกมันและจะคอยแวะเวียนมาดูลูกๆของมันอยู่เสมอ  

ต้น Bromliad Pool เซฟเฮ้าส์ของแม่กบกะลูกน้อย

 สถานะ : กบลูกดอกพิษทุกชนิดได้รับการประกาศเป็นสัตว์คุ้มครองตามสนธิสัญญา CITES II พิเศษ ABT- 594  ขณะนี้ Abbott Labs เมืองชิคาโกได้มีผลการค้นคว้า ทดลองตัวยาระงับความเจ็บปวดชนิดใหม่ซึ่งสกัดมาจากผิวหนังของกบลูกดอกพิษ สายพันธุ์ Epipedrobates Tricolor ที่พบในประเทศ เอกวาดอร์ เรียกชื่อมันว่า ABT- 594โดยที่  มร.John Daly แห่ง the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases ออกมายืนยันแล้วว่าตัวยาชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า epibatidine ซึ่งเป็นชื่อที่ให้เกีรยติแก่สายพันธุ์ของกบพิษ ตัวยาชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งความเจ็บปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีนถึง 200 เท่าและสามารถใช้งานร่วมกับมอร์ฟีนได้โดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงใดๆแก่คนไข้ ไม่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและที่สำคัญคือไม่ปรากฏอาการของการเสพติดแต่อย่างใด
#สาระน่ารู้
OneManShow007
ตัวประกอบ
สมาชิก VIP
8 ก.ย. 52 เวลา 03:18 5,857 4 48
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...