วิถีชีวิตของ ปลาแซลมอน


การจินตนาการถึงการที่ปลาแซลมอนกระโจนขึ้นสู่อากาศไปตามขั้นน้ำตก เป็น สัญลักษณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สำคัญของทางตะวันออกเฉียงเหนือ พฤติกรรมของแซลมอนที่ว่ายจากมหาสมุทรไปสู่แหล่งน้ำที่เป็นบ้านเกิดของมันเอง ทำให้กล่าวได้ว่า ปลาแซลมอนเป็นปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ (Anadromous) ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่เฉพาะตัวของแม่น้ำ Skagit ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับปลาแซลมอนแปซิ-ฟิกทั้ง 7 สายพันธุ์ รวมไปถึง ปลาเทราท์ Steelhead และ cutthroat แต่ละชนิดก็มีรูปแบบการวางไข่และการเลี้ยงดูลูกปลาที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ลดการแข่งขันและมีอัตราการรอดชีวิตของลูกปลามากขึ้น ที่ศูนย์ให้บริการอุทยานแห่งชาติ North Cascades มีปลาแซลมอนหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่

การติดตามการเดินทางที่แสนยาวนานของปลาแซลมอนจากมหาสมุทรมายังแม่น้ำเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นก็จะตาย แซลมอนเพศเมียจะขุดรังที่เรียกว่า " a redd" ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยอสุจิมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป ไข่ที่เปราะบางของแซลมอนนั้นต้องการน้ำที่มีออกซิเจนสูง สะอาด และเย็น เพื่อความอยู่รอดของแซลมอนและเริ่มวัฏจักรชีวิตของมัน

ปลาแซลมอนแปซิฟิกมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์

1. Chinook salmon โดยทั่วไปจะเรียกว่า "kings" เนื่องจากขนาดตัวของมันซึ่งจะโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4 ปี ซึ่งเคยพบว่ามีน้ำหนักถึง 125 ปอนด์ ในการแข่งขันจับ Chinook ที่ Olympic Peninsula น้ำหนักส่วนใหญ่ที่พบอยู่ที่ 12 - 40 ปอนด์ บางครั้งเราจะเรียก Chinook ที่มีขนาดใหญ่ว่า " Tyee " ซึ่งภาษาอินเดีย แปลว่า หัวหน้า

2. Coho หรือเรียกอีกชื่อว่า "silvers" เนื่องจากผิวของมันมีสีเงิน สีเงินนี้จะดึงดูดให้มันเป็นเหยื่ออันโอชะของปลา anglers สายพันธุ์ Coho มีจำนวนน้อยกว่าสายพันธุ์ sockeye, pink และ chum Coho ใช้เวลา 1 ปีแรกของมันอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มันเกิดและอีก 18 เดือนต่อมาในมหาสมุทรก่อนที่มันจะกลับมาวางไข่

3. Chum salmon มีลักษณะเหมือนกับสุนัข เนื่องจากฟันขนาดใหญ่ของมันซึ่งในตัวผู้จะใช้ขับไล่ตัวผู้ตัวอื่นในการหาคู่ของมัน Chum salmon ในแม่น้ำ Skagit เป็นอาหารหลักสำหรับเหยี่ยวหัวล้านในฤดูหนาว

4. Pink salmon หรือเรียกอีกอย่างว่า humpies เป็นชื่อเรียกเล่นๆ เนื่องจากลักษณะหลังค่อมของมัน เป็นสายพันธ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาปลาแซลมอนแปซิฟิกด้วยกัน และมีอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น ในวอชิงตันมันจะมีอายุยืนกว่าในแม่น้ำ Skagit และอายุมากกว่าหลายปีใน Alaska

5. Steelhead (sea - run) หรือ ปลาเทราท์ทิ่อาศัยอยู่แถว rainbow , ปลาเทราท์ sea - run หรือ resident cutthroat trout ปัจจุบันจัดอยู่ใน genus Oncorhynchus ใน family เดียวกับ salmon มันเกิดในน้ำจืดและมีพฤติกรรมวางไข่ในแม่น้ำ มันใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตในมหาสมุทร ปลาเทราท์สามารถวางไข่ได้ถึง 4 ครั้งก่อนที่มันจะตาย ซึ่งไม่เหมือนกับปลาแซลมอนอีก 4 สายพันธุ์ข้างต้น

แซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ใน ทะเลสาบซึ่งมีแผ่นดินล้อมรอบ เช่น ทะเลสาบ Canadian

เนื่องจากปลาแซลมอนแปซิฟิกเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีการศึกษาชีวิตของมันอย่างจริงจังมาเป็นเวลานานกว่าปลาแซลมอนยุโรป (Salmo spec.) ซึ่งเป็นญาติของมัน แซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง การเจริญเติบโตของลูกปลาที่ฟักออกจากไข่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

fry ลูกอ่อนที่มีขนาดเล็ก parr ลูกปลาแซลมอนที่มีแถบสีดำอยู่ข้างลำตัว smolts ลูกปลาแซลมอนในวัยที่จะออกจากแหล่งน้ำจืดและมุ่งสู่น้ำทะเล

จากนั้นลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ลูกปลาแซลมอนแปซิฟิกจะว่ายจากแม่น้ำชายฝั่งอเมริกัน - แปซิฟิก โผล่ออกสู่มหาสมุทรและมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือหรือทิศตะวันตก (ทั้งหมดมาจากชายฝั่งตะวันตกของ Alaska มุ่งหน้าสู่ทางใต้) นำไปสู่การดำรงชีวิตในมหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหารและเจริญเติบโต

แหล่งที่แซลมอน Atlantic ใช้เวลาของมันในทะเลเป็นสิ่งที่รู้กันน้อยมาก ปลาแซลมอนบางตัวจากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะแลบอลติกในด้านทิศใต้ของทะเลบอลติก แซลมอนจากพื้นที่อื่น ๆ ในยุโรปพบในด้านทิศเหนือของทะเลเหนือ ยกเว้น บางส่วนจะมาจากท้องทะเลที่วางไข่บริเวณ Scottish ซึ่งอยู่ระหว่าง Greenland กับ Spitzbergen

หลังจากนั้น 2 ปี หรือมากกว่านั้น หรือบางครั้งก็แค่ปีเดียว ปลาแซลมอนแปซิฟิกที่เจริญเติบโตเต็มที่จะว่ายกลับมายังน้ำจืดเพื่อผสมพันธุ์และตายลงในที่สุด หรืออาจมีชีวิตอยู่อีก 2 หรือ หลายช่วงฤดูวางไข่ในปีต่อมา (Aiantic salmon) ช่วงที่อยู่มหาสมุทรของวัฏจักรการอพยพของแซลมอนแปซิฟิกอาจค้นพบเส้นทางการเดินทางของมันซึ่งมีระยะทาง 2000 - 3000 กิโลเมตร (ส่วนที่อาศัยในน้ำจืดอาจค้นพบมากกว่า 2000 กิโลเมตร )

มีหลักฐานอ้างอิงได้อย่างดีว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการค้นพบการกลับมาของแซลมอนและขึ้นสู่แม่น้ำซึ่งเป็นที่ที่มันฟักออกจากไข่เมื่อหลายปีก่อนและมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยของเหตุการณ์ที่แซลมอนหลงทางไปยังแม่น้ำใกล้เคียง นี่คือเหตุผลว่าทำไมการอพยพจากแหล่งอาหารไปยังแหล่งวางไข่ ความน่าตื่นตาตื่นใจนี้นำไปสู่การศึกษาการสิ่งที่นำปลาสู่แหล่งวางไข่ หลักฐานสำหรับการกลับมายังต้นกำเนิดของแม่น้ำที่มันเกิด จากการทำเครื่องหมายในลูกปลาแซลมอนที่อพยพไปตามกระแสน้ำและดูการกลับมายังแม่น้ำเดิมของมันหรืออ่าวที่แม่น้ำนั้นไหลลงในเวลาหลายปีต่อมา การทดลองหลายการทดลองถูกทดลองกับปลาแซลมอนแปซิฟิกจาก California ไป Alaska นอกจากนี้ไข่ยังถูกปล่อยออกมายังแหล่งน้ำด้วยความพยายามที่จะสะสมบริเวณอาณาเขตที่มันอยู่ การทดลองการอพยพของแซลมอนประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนประชากรของแซลมอน และคาดว่าจะสร้างรูปแบบใหม่ของการอพยพ

แซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียง 10% ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล การค้นพบครั้งนี้แน่นอนว่าทำให้เกิดคำถามว่า 90% ของแซลมอนที่ไม่กลับมายังแม่น้ำที่มันเกิด มีจำนวนเท่าไรที่ตกเป็นเหยื่อของความผิดพลาด หลงทาง ขณะที่คำถามนี้ยังไม่ได้รับคำตอบ จำนวนตัวเลขบางอย่างอาจจะทำให้ปัญหานี้กระจ่างได้ง่ายขึ้น การติดตามปลาแซลมอนที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก ปรากฎอัตราส่วนของปลาที่กลับมาทั้งหมดมีเพียง 10% ที่เป็นปลาที่ทดลองติดตาม จากผลการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการของ Biological Station, Nanaimo Canade อัตราการค้นพบแซลมอนที่ติดตามบริเวณใกล้กับชายฝั่งสูงขึ้น ดังนั้นตัวที่รอดชีวิตมาถึงแหล่งน้ำที่มันเกิดจะสามารถบรรยายไดัอย่างแน่นอนถึงระยะทางที่แซลมอนเดินทาง

นอกจากนั้นตารางข้อมูลของ NEAVE (1964) แสดงว่า ใน Gult of Alaska ปลาที่โตเต็มที่แล้วจะแยกออกจากปลาที่ยังไม่โตเต็มที่ โอกาสของปลาที่โตแล้วไปยังชายฝั่ง Canada ของมหาสมุทรแปซิฟิกถูกบันทึกไว้ แม้ว่าการค้นพบเพียงเล็กน้อยนี้จะยังคงไกลจากความเป็นไปได้อื่น มันบอกได้ว่า ทิศทางการอพยพค่อนข้างจะสุ่มหรือล่องลอยนำปลาแซลมอนที่โตแล้วจากทะเลลึก สู่แหล่งน้ำที่มันเกิดไหลซึ่งเข้าสู่มหาสมุทร กลิ่นที่เป็นแนวทางที่นำไปสู่แหล่งน้ำที่มันเกิด แซลมอนอาจสัมผัสได้และว่ายทวนน้ำไปยังแหล่งน้ำที่ใช้วางไข่

ข้อมูลสำหรับแซลมอน European ไม่ค่อยพบ ขณะที่วิธีการกำหนดทิศทางระหว่างระยะทางหลายกิโลเมตรในการเดินทางในมหาสมุทรยังคงไม่มีใครรู้ มีหลักฐานสำคัญว่า สิ่งที่นำทางคือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่

การทดลองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกลับบ้านของปลาแซลมอน

ได้มีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ในชายฝั่ง Sanriku ประเทศญี่ปุ่น จากคำบอกเล่าของชาวประมงชายฝั่ง Sanriku กล่าวว่า จะจับปลาแซลมอนขนาดใหญ่ได้หลังจากที่อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง มันอาจเป็นความจริงเพราะแซลมอนจะว่ายกลับมายังทะเลทางทิศเหนือซึ่งมีอุณหภูมิน้ำต่ำกว่าที่ชายฝั่ง Sanriku พวกเขายังกล่าวอีกว่า จะจับปลาแซลมอนตัวใหญ่ ๆ ได้หลังจากที่ฝนตกหรือการพัดมาของลมตะวันตก ฝนตกช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำ ลมตะวันตกคือลมมรสุมในฤดูจับปลาแซลมอน ลมนี้จะพัดมาเอาน้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวของชายฝั่ง Sanriku อย่างรวดเร็ว เนื่องจากปากอ่าวเปิดในทิศตะวันออก การเพิ่มขึ้นของน้ำในแม่น้ำและการไหลอย่างกว้างของน้ำในแม่น้ำลงสู่ทะเล ซึ่งนี้อาจช่วยให้แซลมอนแยกแม่น้ำที่มันเกิดออกโดยใช้กลิ่นที่แตกต่างกันของแม่น้ำแต่ละสาย

อย่างไรก็ตาม มีรายงานไม่มากนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการจับแซลมอนกับสภาพทะเลและอากาศ ปริมาณแซลมอนที่จับได้ในแต่ละพื้นที่มีปริมาณมากสุดในช่วงหน้าฝนเมื่อน้ำทะเลมีอุณหภูมิ 130C level 80% ของปลาแซลมอนที่จับได้หลังจากฝนตก (> 5 mm) หรือมีลมมรสุมตะวันตก ( > 10 m/s)เป็น 1.5 เท่าของช่วงก่อนที่ฝนตก ปริมาณของแซลมอนที่จับได้มากที่สุดในแต่ละปีจะเป็นช่วงหลังจากวันที่มีฝนตกหนักที่สุด หรือช่วงที่ลมตะวันตก(> 10 m/s)พัดมานานที่สุด ข้อมูลเหล่านี้อาจบอกได้ว่า พฤติกรรมการกลับบ้านของ Chum salmon มีปัจจัยที่สำคัญ คือ อุณหภูมิของน้ำทะเล , ปริมาณฝนที่ตกและลมตะวันตกในชายฝั่ง Sanriku

น่าแปลกใจที่มากกว่า 10 ปีที่แล้ว ก่อนที่ Hasler และ Wisby (1950) Kubo (1938) ได้รายงานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของแซลมอนที่จับได้กับสภาพภูมิอากาศในแม่น้ำ Miomete ทางเหนือของญี่ปุ่นและอ่าว Otsuchi ซึ่งจะไหลสู่มหาสมุทรแปซิฟิก Kubo(1938) สรุปได้ว่า ปริมาณการจับปลาแซลมอนนั้นได้รับอิทธิพลจากปริมาณของหิมะและลม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแง่บวกที่สำคัญระหว่างปริมาณการจับปลาแซลมอนและจำนวนหิมะกับลมตะวันออก

Chum salmon Oncorhynchus keta คือ หนึ่งในเจ็ดสายพันธ์ของปลาแซลมอนแปซิฟิก มันก็เหมือนกับปลา แซลมอนทั่วไป chum salmon แสดงการอพยพสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ที่เป็นแบบฉบับของปลาที่ว่ายจากมหาสมุทรมาวางไข่ในแม่น้ำ แซลมอนเกิดในแม่น้ำ จากนั้นก็อพยพไปยัง แหล่งอาหารในทะเล Bering และทางตอนเหนือของ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และกลับมายังแม่น้ำที่มันเกิดเพื่อวางไข่ใน 4 -6 ปีต่อมา มันเป็นปลาที่อยู่ในน้ำเย็น อุณหภูมิของมันถ้าเกิน 24 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะทำให้อันตรายอาจถึงตายได้ และอุณหภูมิวิกฤตที่เป็นตัวกำหนดเขตแดนทางใต้ของแหล่งอาหารของมัน คือ 10.2 องศาเซลเซียส ดังนั้น การที่โลกร้อนขึ้นจากปรากฎการณ์ green house ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศชั้น Asmosphere เป็นการคุกคามอย่างยิ่งต่อชีวิตของแซลมอน มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาความสะอาดและบริสุทธิ์ของระบบนิเวศวิทยาและสรีรวิทยาซึ่งมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิน้ำที่สูงของแซลมอน ที่ชายฝั่ง Sanriku ฤดูที่แซลมอนกลับมายังบริเวณนี้โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อุณหภูมิผิวน้ำอยู่ที่ > 18 องศาเซลเซียส ในช่วงต้นฤดูและลดลงถึง 12 องศาเซลเซียสในช่วงปลายฤดู ซึ่งปรากฎว่าสูงเกินไปสำหรับ chum salmon นอกจากนั้นยังมีมวลน้ำเย็นจากกระแสน้ำเย็น Oyashio และมวลน้ำอุ่นจากกระแสน้ำอุ่น Tsugaru และ Kuroshio กระจายตัวอย่างซับซ้อนบริเวณชายฝั่ง Sanriku

เราพบว่าพฤติกรรมของแซลมอนมีการเปลี่ยนอย่างมากเพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลในเดือนตุลาคม อุณหภูมิผิวน้ำ > 18 องศาเซลเซียสและน้ำทะเลมีการแบ่งชั้น แซลมอนชอบที่จะอยู่ในน้ำลึก ปลาแซลมอนจะดำลงสู่ก้นทะเลแต่ก็ยังคงว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำบ้าง ในเดือนธันวาคมเมื่อผิวน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า 14 องศาเซลเซียส และน้ำทะเลไม่มีการแบ่งชั้น มันจะอยู่ที่ความลึกน้อยกว่า 50 เมตร และว่ายขึ้น ๆ ลง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่า การที่อุณหภูมิของผิวน้ำสูงขึ้น chum salmon จะค้นหาแหล่งที่เย็นที่สุดเพื่อความปลอดภัยของมันในการว่ายขึ้นลง เนื่องจากแซลมอนเป็นสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง อุณหภูมิที่เย็นที่สุดจะทำให้มันมีการเผาผลาญน้อย ดังนั้น แซลมอนจึงปรับอุณหภูมิร่างกาย และลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน ทำให้มันพยายามค้นหาแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำสุด มันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแซลมอนให้เบาะแสเกี่ยวกับกลิ่นเพื่อค้นหาแม่น้ำที่มันเกิด เพราะน้ำในแม่น้ำเบากว่าน้ำทะเล น้ำจากแม่น้ำจะกระจายอยู่บริเวณผิวหน้าของน้ำทะเล บางทีแซลมอนอาจจะค้นหากลิ่นของแม่น้ำที่มันเกิดในบริเวณน้ำตื้นแม้ว่ามันจะร้อนก็ตาม

#สาระน่ารู้
OneManShow007
ตัวประกอบ
สมาชิก VIP
8 ก.ย. 52 เวลา 01:41 8,243 5 38
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...